กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

คำแนะนำเกี่ยวกับระยะเวลาที่ควรรอก่อนทดสอบการตั้งครรภ์อีกครั้ง

เผยแพร่ครั้งแรก 21 ม.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
คำแนะนำเกี่ยวกับระยะเวลาที่ควรรอก่อนทดสอบการตั้งครรภ์อีกครั้ง

ถึงแม้ว่าการทดสอบการตั้งครรภ์จะมีความแม่นยำสูง แต่ก็มีเหตุผลบางอย่างที่ทำให้คุณอยากทดสอบซ้ำอีกครั้ง เช่น

  • คุณทำการทดสอบก่อนที่จะมีประจำเดือนและไม่แน่ใจเกี่ยวกับผลที่ได้
  • คุณได้ผลที่ไม่สอดคล้องกับอาการทางกาย
  • คุณกำลังรับประทานยาที่ส่งผลต่อการทดสอบ
  • คุณไม่ได้ทำการขั้นตอนการทดสอบอย่างถูกต้อง
  • คุณต้องการจะทดสอบอีกครั้ง

เหตุผลเหล่านี้เป็นเหตุผลที่เหมาะสมกับการทดสอบอีกครั้ง แต่คุณควรจะรอนานเท่าไหร่จึงจะทำการทดสอบอีกครั้ง?

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ฝากครรภ์ คลอดบุตรวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 79 บาท ลดสูงสุด 65%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

การทดสอบการตั้งครรภ์ส่วนใหญ่มักจะมีคำแนะนำให้คนรออย่างน้อย 1 สัปดาห์หลังจากตรวจได้ผลลบก่อนการทดสอบครั้งถัดไป ช่วงเวลานี้จะทำให้ร่างกายสามารถสร้างฮอร์โมน hCG ในปริมาณที่สูงพอจะตรวจพบได้ปัสสาวะ และในปัจจุบันเนื่องจากชุดทดสอบมีราคาถูกลง ทำให้สามารถตรวจได้บ่อยขึ้น จึงมีคำแนะนำให้ตรวจเร็วขึ้นกว่าเดิมเพื่อให้ทราบผลได้เร็วขึ้น

Sharon ได้เล่าถึงประสบการณ์ของเธอว่า "ในเมื่อชุดทดสอบมีราคาแค่ไม่กี่ดอลล่าร์และฉันมีชุดทดสอบอยู่เต็มตู้ ทำไมฉันถึงจะทดสอบทุกเช้าไม่ได้ล่ะ? บางครั้งฉันก็ทดสอบทั้งตอนเช้าและก็ตอนเย็น ฉันว่าฉันค่อนข้างหมกมุ่นกับมันนะ มันไม่ใช่ช่วงเวลาที่สวยงามแต่ฉันตั้งใจมาก ครั้งแรกที่ฉันทำ ฉันเริ่มมีประจำเดือนหลังจากผลการทดสอบเป็นลบ 12 ครั้งใน 1 สัปดาห์ ช่วงก่อนที่ฉันจะมีลูกคนแรก ชุดทดสอบการตั้งครรภ์ที่ฉันซื้อมีราคา 20 ดอลล่าร์ และสำหรับครั้งนี้ราคาลดเหลือ 12 ดอลล่าร์ ดังนั้น ค่าใช้จ่ายจึงไม่ใช่เหตุผลที่เป็นปัจจัยหลักอีกต่อไป ฉันทดสอบการตั้งครรภ์วันละครั้งประมาณ 1 สัปดาห์ โดยเริ่มทดสอบตั้งแต่ก่อนที่จะมีประจำเดือน เพราะฉันอยากรู้ช่วงเวลาที่ผลมันเป็นลบมันไม่ค่อยคุ้มกับอารมณ์ที่เกิดขึ้น"

คุณอาจเลือกที่จะทำการทดสอบเร็วขึ้นได้ เนื่องจากระดับ hCG สามารถเพิ่มขึ้นได้เกือบ 2 เท่าทุก 48 ชั่วโมง และการทดสอบนี้ไม่ทำให้เกิดผลเสียอะไรนอกจากค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น แต่คุณอาจจะทดสอบได้ผลลบจนกว่าร่างกายจะสามารถสร้างฮอร์โมน hCG ได้เพียยงพอที่จะเปลี่ยนการทดสอบให้เป็นบวก นี่อาจทำให้คุณเป็นบ้าได้และอาจจะทำให้คุณสามารถควบคุมอารมณ์ได้ยากและอาจทำให้คุณทำกิจกรรมที่ส่งผลต่อการตั้งครรภ์ เช่น ดื่มแอลกอฮอล์เรื่องจากผลการทดสอบเป็นลบแม้ว่าคุณอาจจะตั้งครรภ์ ดังนั้น ควรทำตัวเสมือนว่าคุณตั้งครรภ์จนกว่าคุณจะพบว่าตัวเองไม่ได้ตั้งครรภ์จริงๆ

ขอความช่วยเหลือจากแพทย์หรือผดุงครรภ์

คุณอาจต้องการขอคำแนะนำจากผดุงครรภ์หรือแพทย์เกี่ยวกับการตรวจการตั้งครรภ์จากเลือด บางครั้งมันก็มีบางอย่างที่การตรวจเลือดเท่านั้นจะบอกได้ ทีมแพทย์ที่ดูแลคุณสามารถช่วยคุณกำหนดระยะเวลาที่คุฯควรรอก่อนจะทดสอบการตั้งครรภ์อีกรอบหรือการตรวจการตั้งครรภ์ด้วยเลือดจะให้ประโยชน์มากกว่า การตรวจตามปกติไม่ใช่ทุกคนที่จำเป็นจะต้องตรวจการตั้งครรภ์จากเลือดซึ่งก็เป็นการตรวจหาฮอร์โมน hCG เช่นกัน

Jana ได้กล่าวว่า "ผดุงครรภ์ของฉันเก่งมากเรื่องการช่วยปลอบให้ฉันสงบลงในช่วงที่ฉันสติแตกเกี่ยวกับการตรวจได้ผลลบต่อเนื่อง ฉันรู้สึกว่าฉันตั้งครภ์และเธอก็ให้ความมั่นใจว่าฉันควรทำเหมือนว่าฉันตั้งครรภ์จนกว่าฉันจะรู้ว่าตัวเองไม่ได้ตั้งครรภ์จริงๆ มันฟังดูประหลาดแต่มันช่วยฉันได้มาก และผลสุดท้ายปรากฏว่าฉันตั้งครรภ์จริงๆ ฉันแค่ตกไข่ช้ากว่าที่ฉันคิด"

หากคุณยังคงตรวจได้ผลลบตลอด 1 สัปดาห์และยังไม่มีประจำเดือน คุณอาจจะต้องการการตรวจร่างกาย โดยแพทย์หรือผดุงครรภ์เพื่อให้แน่ใจว่าคุณมีสุขภาพแข็งแรงดี เพราะมีอย่างอื่นที่สามารถทำให้ประจำเดือนมาช้ากว่าปกติได้ที่ไม่ใช่การตั้งครรภ์ ซึ่งอาจตรวจพบได้จากการตรวจร่างกาย


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
healthline.com, How long should wait before the pregnancy test again (https://www.healthline.com/health/pregnancy/five-signs-to-take-pregnancy-test), March 7, 2017
americanpregnancy.org, How long should wait before the pregnancy test again (https://americanpregnancy.org/getting-pregnant/taking-a-pregnancy-test/)
nhs.uk, How long should wait before the pregnancy test again (https://www.nhs.uk/common-health-questions/pregnancy/how-soon-can-i-do-a-pregnancy-test/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ทารกมีอัตราการเต้นของหัวใจช้า อันตรายหรือไม่
ทารกมีอัตราการเต้นของหัวใจช้า อันตรายหรือไม่

เรื่องง่ายๆ ที่คุณแม่ทุกคนต้องใส่ใจเพราะอัตราการเต้นของหัวใจสัมพันธ์กับความปลอดภัยของลูกน้อย

อ่านเพิ่ม
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?

เรียนรู้สัญญาณการตั้งครรภ์นอกมดลูกก่อนที่มันจะฉีกขาด

อ่านเพิ่ม
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?

การตั้งครรภ์ที่เร็วเกินไปที่จะยืนยันด้วยวิธีการทางชีวเคมี

อ่านเพิ่ม