นพ. ชาคริต หริมพานิช แพทย์เฉพาะทางด้านอายุรศาสตร์
เขียนโดย
นพ. ชาคริต หริมพานิช แพทย์เฉพาะทางด้านอายุรศาสตร์
พญ.วรรณวนัช เสถียรธรรมมณี
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
พญ.วรรณวนัช เสถียรธรรมมณี

Herd Immunity (ภูมิคุ้มกันกลุ่ม) คืออะไร จะช่วยให้สถานการณ์ COVID-19 ดีขึ้นได้จริงหรือ?

รู้จักแนวคิด Herd Immunity (ภูมิคุ้มกันกลุ่ม) ที่บางประเทศเลือกใช้ต่อสู้กับ COVID-19 ว่าจะได้ผลหรือไม่ และเคยมีการทำแบบนี้มาก่อนไหม?
เผยแพร่ครั้งแรก 27 มี.ค. 2020 อัปเดตล่าสุด 7 ม.ค. 2021 ตรวจสอบความถูกต้อง 22 เม.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
Herd Immunity (ภูมิคุ้มกันกลุ่ม) คืออะไร จะช่วยให้สถานการณ์ COVID-19 ดีขึ้นได้จริงหรือ?

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • ในสถานการณ์ COVID-19 ระบาด บางประเทศเลือกแนวทางการต่อสู้กับโรคที่แปลกจากที่อื่น เรียกว่า "Herd Immunity หรือ ภูมิคุ้มกันกลุ่ม"
  • Herd Immunity เป็นการทำให้คนส่วนใหญ่มีภูมิคุ้มกันต่อสู้กับโรค จนมีการระบาดน้อยลงไปเอง
  • ตามปกติ Herd Immunity จะมาจากการให้วัคซีนคนส่วนมากจนบางโรคลดน้อยลงมากกระทั่งหายไป เช่น โปลิโอ
  • COVID-19 ซึ่งยังไม่มีวัคซีนป้องกัน การจะเกิด Herd Immunity ได้ จะต้องให้คนที่แข็งแรงส่วนมากรับเชื้อแล้วร่างกายสร้างภูมิต้านทานขึ้นตามธรรมชาติ จัดว่ามีความเสี่ยง เพราะคนที่สร้างกายสู้ไม่ไหวอาจได้รับผลกระทบรุนแรง
  • วิธีป้องกัน COVID-19 ที่ควรปฏิบัติตอนนี้คือ การรักษาสุขอนามัยของตนเอง ล้างมือบ่อยๆ สวมหน้ากากผ้าเมื่ออกนอกที่พักอาศัย และรักษาระยะห่างทางสังคม
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจคัดกรองโรคโควิด-19 (COVID-19)

การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2019 หรือ COVID-19 ทำให้เกิดความเสียหายต่อชีวิตและเศรษฐกิจไปทั่วโลก หลายประเทศมีการรับมือที่แตกต่างกัน หลายประเทศในยุโรปเลือกใช้วิธีให้เกิดภูมิคุ้มกันในชุมชนเพื่อป้องกันคนที่ยังไม่ป่วยด้วยวิธีที่เรียกว่า "Herd Immunity"

เข้าใจเรื่องภูมิคุ้มกันกันก่อน

ภูมิคุ้มกัน (Immunity) คือระบบการป้องกันตัวของร่างกายต่อสิ่งแปลกปลอมต่างๆ ประกอบด้วยเซลล์เม็ดเลือด สารเคมีจากเม็ดเลือด โปรตีนและเอนไซม์หลายชนิด

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจโควิด-19 (COVID-19) วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 450 บาท ลดสูงสุด 65%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ร่างกายใช้ระบบการป้องกันนี้ต่อสู้กับเชื้อโรค โดยระบบภูมิคุ้มกันนี้แบ่งได้ออกเป็นสองกลุ่ม คือ

1.ภูมิคุ้มกันตั้งแต่เกิด (Innate immunity)

เป็นระบบที่ตอบสนองต่อสิ่งแปลกปลอมโดยไม่เลือกชนิด ขอเพียงระบบนี้ตรวจจับได้ว่าเป็นสิ่งแปลกปลอม จะเริ่มทำงานทันที ปฏิกิริยาจะรวดเร็วและเป็นด่านหน้าด่านแรกของการป้องกันตัวในร่างกาย

2.ภูมิคุ้มกันที่มีการปรับตัว (Adaptive immunity)

เป็นระบบที่ตอบสนองเฉพาะตัวสิ่งแปลกปลอมแบบหนึ่งต่อหนึ่ง ร่างกายจะเรียนรู้ว่า เป็นสิ่งแปลกปลอมจากระบบการส่งต่อข้อมูลจากระบบภูมิคุ้มกันตั้งแต่เกิด (Innate immunity) จะสร้างแอนติบอดีเพื่อกำจัดสิ่งแปลกปลอมนั้น จึงต้องอาศัยเวลาที่นานกว่าระบบภูมิคุ้มกันแต่เกิด

ในกรณีร่างกายมีการสัมผัสเชื้อโรค หากระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายยังเป็นปกติ ร่างกายจะใช้ระบบภูมิคุ้มกันทั้งสองเพื่อต่อต้านเชื้อโรค และจดจำเอาไว้เพื่อจะได้สร้างภูมิคุ้มกันเร็วขึ้น

แอนติบอดีและเซลล์ที่ทำหน้าที่จดจำจะยังอยู่ในร่างกายในระยะยาว ทำให้สามารถป้องกันการติดเชื้อซ้ำ หรือลดความรุนแรงในการติดเชื้อ และประเด็นสำคัญอันหนึ่งคือ สามารถลดภาวะพาหะและการแพร่กระจายเชื้อได้อีกด้วย

แนวคิด Herd immunity ที่อาจใช้เพื่อแก้ปัญหา COVID-19

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจโควิด-19 (COVID-19) วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 450 บาท ลดสูงสุด 65%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

แนวคิดหลักคือ สร้างภูมิคุ้มกันในคนหมู่มากเพื่อลดการติดเชื้อในคนที่ยังไม่เป็นโรค เพราะหากผู้ที่ติดเชื้อมีภูมิคุ้มกันแล้ว จะลดความสามารถในการแพร่กระจายให้กับคนรอบข้าง 

คนรอบข้างจะติดเชื้อน้อยลง หรือมีความรุนแรงน้อยลงทั้งๆ ที่ยังไม่ต้องมีภูมิคุ้มกัน หรือเคยติดเชื้อเลย

Herd immunity เกิดได้จากวิธีใด?

Herd immunity โดยหลักการและสิ่งที่เกิดขึ้นชัดเจนคือ การสร้างภูมิคุ้มกันโดยการให้วัคซีนให้คนหมู่มาก จนคนหมู่มากมีภูมิคุ้มกันที่มากกว่าระดับความสามารถในการแพร่เชื้อในวงกว้าง

ดังนั้นเมื่อเกิดโรคระบาดหรือมีการติดเชื้อ ร่างกายคนที่มี Herd immunity จะสามารถกำจัดหรือควบคุมเชื้อโรคได้ดีในคนนั้น โอกาสที่เชื้อจะแพร่ออกไปสู่คนอื่นน้อยมาก 

คนรอบตัวของคนที่มี Herd immunity จึงลดโอกาสการติดเชื้อลงมาก เรียกว่า "Cocooning effect"

ข้อพิสูจน์เรื่อง Herd immunity ที่ชัดเจนใน 2 โรค ได้แก่

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจโควิด-19 (COVID-19) วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 450 บาท ลดสูงสุด 65%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

1.โรคโปลิโอ

มีการปูพรมหยอดวัคซีนไปทั่วโลก จนการติดเชื้อใหม่น้อยลง แม้แต่คนที่ยังไม่ได้ฉีดวัคซีนก็ติดเชื้อน้อยลง ตัวเลขการติดเชื้อรายใหม่ลดลงเรื่อยๆ จนโรคลดลงและหายไปในที่สุด

2.โรคปอดอักเสบ

การเพิ่มการฉีดวัคซีนปอดอักเสบ Conjugated pneumococcal vaccine ในประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อฉีดถึงปริมาณมากพอ ประมาณ 60% ของผู้ที่เสี่ยงจะแพร่กระจายเชื้อ 

พบว่า ผู้สูงวัยที่ไม่ได้ฉีดวัคซีนมีตัวเลขการติดเชื้อรายใหม่และอัตราการเสียชีวิตจากโรคปอดอักเสบลดลงไปด้วย ไม่เพียงแค่ผู้ที่ฉีดวัคซีนเท่านั้น

Herd immunity จากภูมิคุ้มกันที่เกิดตามธรรมชาติจากการติดเชื้อ

การติดเชื้อตามธรรมชาติ ร่างกายจะสร้างภูมิคุ้มกันและแอนติบอดีเช่นกัน ลักษณะการสร้างภูมิคุ้มกันไม่ได้ต่างจากการรับวัคซีน แต่ผลลัพธ์ที่ออกมาจะแตกต่างกัน 

เนื่องจากชนิด หรือสายพันธุ์ของเชื้อโรคที่ติดเข้ามาในแต่ละคนไม่เหมือนกันเสียทีเดียว และปฏิกิริยารวมถึงสารเคมีที่สร้างก็ต่างกันตามปัจเจกบุคคล

ส่วนการรับวัคซีนจะได้เชื้อกระตุ้นแบบเดียวกันทั้งหมด ความแปรปรวนของการสร้างภูมิคุ้มกันจึงไม่มากนัก พอคาดเดาการตอบสนองได้

ดังนั้นการเกิด Herd immunity จากการติดเชื้อตามธรรมชาติ จะต้องใช้ระยะเวลาการเกิดภูมิคุ้มกันที่นานกว่า คนทั่วไปจึงจะมีภูมิคุ้มกันมากพอ และเกินระดับที่อัตราการติดเชื้อจะรุนแรงได้

นอกจากนี้ยังมีความปรวนแปรที่คาดเดาได้ยากว่าภูมิคุ้มกันที่เกิดขึ้นจะเป็น Protective antibody ที่ช่วยกำจัดเชื้อได้หรือไม่ เพราะมีภูมิคุ้มกันบางอย่างที่ร่างกายสร้างขึ้นตอบสนองต่อการติดเชื้อ 

แต่ตัวมันเองกลับขาดสมบัติในการทำลายและป้องกัน เช่น ภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสเอชไอวี

ส่วนการเกิด Herd immunity จากการรับวัคซีนนั้นผ่านการทดสอบว่าแล้วว่า ภูมิคุ้มกันที่สร้างได้จะเป็นภูมิคุ้มกันที่เป็น Protective antibody

กรณีของ Herd immunity จากภูมิคุ้มกันตามธรรมชาติ ที่เคยมีในอดีต

กรณีการระบาดของโรคในอดีตจนเกิด Herd immunity คือ โรคไข้หวัดใหญ่สเปน (Spanish flu) ที่ตอนแรกยังไม่ทราบสาเหตุว่า เกิดจากไวรัสและสุขอนามัยที่ไม่ดี

เมื่อการระบาดถึงระดับมากพอสมควร ผู้ที่ป่วยรุนแรง ภูมิคุ้มกันไม่สามารถสู้ได้จะเสียชีวิต ส่วนคนที่แข็งแรงและภูมิคุ้มกันดีจะอยู่รอดได้

เมื่อมีการติดเชื้อต่อไป คนที่แข็งแรงจะไม่เป็นโรคและไม่แพร่กระจายโรค ผู้ที่ยังไม่ติดเชื้อจึงอยู่รอดและไม่ติดเชื้อ โรคจึงลดลง

แต่กว่าจะเกิด Herd immunity จะต้องใช้เวลานานพอสมควร และอาจต้องคัดเลือกคนที่อ่อนแอให้หมดไปประมาณหนึ่งทีเดียว โดยทั่วไปจึงใช้ Herd immunity ในความหมายของการรับวัคซีนเป็นหลัก

การติดเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ หรือ COVID-19 นี้ มีการแพร่กระจายรวดเร็ว แต่ความรุนแรงของโรคไม่มาก ซึ่งประมาณ 80% ของผู้ป่วยมีอาการไม่รุนแรง แสดงว่าโอกาสเกิดภูมิคุ้มกันสูงมาก และคนที่เกิดภูมิจะอยู่รอดต่อไป

การเกิด Herd immunity ในโรคที่มีความรุนแรงน้อยจึงเกิดได้เร็วกว่าโรคที่รุนแรงและมีอัตราการตายสูง คงต้องติดตามเรื่องราวของ Herd immunity ต่อโรคนี้ต่อไปว่าจะได้ผลหรือไม่ หรือจะมีผลกระทบใดบ้าง

อย่างไรก็ตาม วิธีป้องกัน COVID-19 ที่ควรปฏิบัติตอนนี้คือ การรักษาสุขอนามัยของตนเอง ล้างมือให้ถูกวิธีบ่อยๆ ไม่ใช้สิ่งของร่วมกับผู้อื่น สวมหน้ากากผ้าเมื่อออกนอกที่พักอาศัย และรักษาระยะห่างทางสังคม

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจคัดกรองโรคโควิด 19 (COVID-19) จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกการอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


6 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Shyam A. Krishna, Senior Associate Editor, COVID-19: Will herd immunity save us from coronavirus? (https://gulfnews.com/world/covid-19-will-herd-immunity-save-us-from-coronavirus-1.1585744873872), April 2020.
Dr. Eduardo Sanchez, American Heart Association Chief Medical Officer for Prevention, COVID-19 science: Understanding the basics of 'herd immunity' (https://www.heart.org/en/news/2020/03/25/covid-19-science-understanding-the-basics-of-herd-immunity), 4 April 2020.
Stacy Sampson, What Is Herd Immunity and Could It Help Prevent COVID-19? (https://www.healthline.com/health/herd-immunity), 4 April 2020.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
รู้จัก COVID-19 หรือโคโรน่าไวรัสสายพันธุ์ใหม่ ต้นเหตุผู้ป่วยปอดบวมในเมืองอู่ฮั่น
รู้จัก COVID-19 หรือโคโรน่าไวรัสสายพันธุ์ใหม่ ต้นเหตุผู้ป่วยปอดบวมในเมืองอู่ฮั่น

มารู้จักเชื้อโคโรน่าไวรัสสายพันธุ์ใหม่ ข้อมูลที่มี ณ ต้นปี 2020 พร้อมวิธีป้องกันและลดความเสี่ยงติดเชื้อ ไขคำตอบ มีวัคซีนป้องกันหรือไม่?

อ่านเพิ่ม
แพทย์ไทยอาจพบสูตรยาต้านเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
แพทย์ไทยอาจพบสูตรยาต้านเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

แพทย์ไทยจากโรงพยาบาลราชวิถี อาจพบวิธีรักษาโคโรนาแล้ว! อ่านข้อมูลอัพเดทจากแพทย์และการแถลงข่าวของกระทรวงสาธารณะสุขได้ที่นี่

อ่านเพิ่ม
โรค Covid-19 ต่างจากไข้หวัดใหญ่อย่างไร?
โรค Covid-19 ต่างจากไข้หวัดใหญ่อย่างไร?

โรค Covid-19 กับโรคไข้หวัดใหญ่ อาการคล้ายกัน ติดจากเชื้อไวรัสเหมือนกัน แล้วทั้ง 2 โรคต่างกันอย่างไร หาคำตอบได้ที่นี่

อ่านเพิ่ม