สมุนไพรที่คุณควรรู้

เผยแพร่ครั้งแรก 11 ก.พ. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
สมุนไพรที่คุณควรรู้

สมุนไพรที่คุณควรรู้

อ่านข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรตำรับพื้นบ้านอันได้แก่ สติงกิงเน็ตเทิล น้ำมันทีทรี ไธม์ วาเลเรียน เปลือกไม้ไวท์วิลโลว์และเปลือกไม้โยฮิมเบ สมุนไพรเหล่านี้มีคุณค่าอย่างไรต่อร่างกายคนเราและตลอดการรับประทานอย่างไรจึงจะเหมาะสม สามารถอ่านต่อได้ที่นี่

สติงกิงเน็ตเทิล (Stinging nettle)

  • รากของพืชมีหนามชนิดนี้มีคุณสมบัติช่วยขับปัสสาวะ ส่งผลให้ร่างกายกำจัดสารพิษได้ดีขึ้นค่อนข้างมีประโยชน์ในการรักษาอาการต่อมลูกหมากโต อีกทั้งยังมีข้อบ่งชี้ว่าช่วยในการรักษาโรคข้ออักเสบ เก๊าท์และผื่นผิวหนังอักเสบชนิดเอ็กซีมา ยิ่งไปกว่านั้นใบของมันที่นำไปแช่แข็งจนแห้งยังช่วยบรรเทาอาการภูมิแพ้ของระบบทางเดินหายใจได้ด้วย
  • ในการรับประทานเสริมอาหารแนะนำแบบสกัด 30-60 หยดผสมในน้ำดื่มรับประทานวันละ 1 ถึง 3 เวลาถ้าเป็นในรูปของแคปซูลสกัดจากรากขนาดมาตรฐานคือ 250 mg วันละ 2 เวลาและสำหรับแบบสกัดจากใบแห้ง 600 mg วันละ 2 เวลา

น้ำมันทีทรี (Tea tree oil)

  • น้ำมันของต้นไม้จากออสเตรเลียนี้ถูกนำมาใช้นานนับปีเพื่อเป็นยาฆ่าเชื้อสำหรับแผลฉีกขาดและแผลไหม้ ทั้งยังมีคุณสมบัติในการฆ่าเชื้อราและอาจช่วยในการป้องกันและรักษาเชื้อแคนดิดา โรคติดเชื้อราที่ฝ่าเท้าและที่เล็บ ยังพบด้วยว่ามีส่วนช่วยในการรักษาการติดเชื้อแบคทีเรียบางชนิดในช่องคลอดและใช้เป็นน้ำยาบ้วนปาก อาจช่วยในการรักษาข้ออักเสบติดเชื้อสเตรปได้
  • สำหรับใช้ภายในเติม 5-10 อยู่ในน้ำ 1 ถ้วยกลั้วคอและบ้วนทิ้งส่วนขี้ผึ้งหรือยาพอกทาภายนอกสามารถนำมาทาบริเวณที่เป็นได้ตามต้องการ

ไธม์ (Thyme)

เป็นสารดับกลิ่นตัวและฆ่าเชื้อโรคจากธรรมชาติหากใช้ทาภายนอกจะช่วยบรรเทาอาการปวดแผลอย่างมีประสิทธิภาพหากใช้รับประทานจะช่วยบรรเทาอาการท้องเสียปวดท้องจากกระเพาะอาหารอักเสบและบรรเทาอาการหลอดลมและกล่องเสียงอักเสบได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

วาเลเรียน (Valerian)

  • “แวเลียมจากธรรมชาติ” ที่ช่วยให้ร่างกายผ่อนคลาย มักนำมาใช้รักษาอาการวิตกกังวล ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อและนอนไม่หลับ สิ่งที่แตกต่างจากยานอนหลับที่แพทย์สั่งคือ วาเลเรียนไม่ทำให้เกิดอาการติดยาและมีผลข้างเคียงไม่มากนัก ทั้งยังช่วยบรรเทาอาการปวดแน่นท้องและปวดประจำเดือนด้วย ในการรับประทานเสริม แนะนำ 200 mg วันละ 1 ถึง 3 เวลา เพื่อบรรเทาอาการ หากคุณชอบแบบน้ำอาจผสม 10 หยดในเครื่องดื่มและดื่มวันละ 1 ถึง 3 เวลา
  • ข้อควรระวัง: การรับประทานในปริมาณที่สูงมาก อาจทำให้หัวใจเต้นอ่อนลงและกล้ามเนื้ออ่อนแรง วาเลเรียนอาจเพิ่มฤทธิ์ของยานอนหลับ ยาต้านซึมเศร้าบาร์บิทูเรตและยาคลายกังวล ทำให้ต้องมีการปรับขนาดยาและไม่ควรรับประทานสมุนไพรนี้โดยไม่ปรึกษาแพทย์หรือบุคลากรทางการแพทย์ก่อน

เปลือกไม้ไวท์วิลโลว์

  • สารสกัดจากเปลือกไม้ไวท์วิลโลว์มีชื่อเรียกว่า ซาลิคัม (salicum)ใช้กันมาเป็นเวลานับศตวรรษเพื่อต้านการอักเสบ ลดการปวดและบวมในข้ออักเสบ จากการศึกษาซาลิคัม นักวิจัยได้พัฒนาจนกลายเป็นยาที่มีชื่อว่า แอซีทิลซาลิไซลิกแอซิด หรือที่รู้จักกันดีในนามแอสไพริน พวกเราทุกคนต่างรู้กันดีว่าแอสไพรินเป็นหนึ่งในยาวิเศษ แต่กระเพาะอาหารของเราหลายคนไม่สามารถรับมือกับผลข้างเคียงจากมันได้ ซึ่งเป็นการเปิดช่องว่างให้สารสกัดจากเปลือกไม้ไวท์วิลโลว์ได้เติมเต็ม มันมีพวกสมบัติคล้ายยาแอสไพริน แต่ไม่ทำให้เกิดการระคายกระเพาะ และไวท์วิลโลว์ยังมีสารแทนนินซึ่งดีกับระบบย่อยอาหารด้วย
  • ในการรับประทานอาหารสามารถรับประทาน 1-2 แคปซูลทุก 2-3 ชั่วโมงตามที่ต้องการ

เปลือกไม้โยฮิมเบ (Yohimbe bark)

  • โยฮิมเบเป็นหนึ่งในสมุนไพรไม่กี่ชนิดที่ถูกเรียกว่าเป็นยาปลุกกำหนัด ซึ่งพบว่ามันช่วยรักษา อาการนกเขาไม่ขันในผู้ชายได้ เเต่โชคร้ายที่มันค่อนข้างอันตราย เพราะมีสารโยฮิมบีน ซึ่งจัดจำหน่ายเฉพาะตามใบสั่งแพทย์และควรใช้ภายใต้การดูแลของแพทย์เท่านั้นเปลือกไม้โยฮิมเบเป็นแบบที่อ่อนกว่าสามารถหาซื้อได้โดยไม่ต้องใช้ใบสั่งแพทย์ แม้ว่าจะไม่มีประสิทธิภาพมากเท่า (ขนาดที่รับประทานโดยทั่วไปคือ 1 ถึง 3 แคปซูลต่อวัน)

ข้อควรระวัง: โยฮิมเบทำให้ความดันโลหิตต่ำได้และผู้ที่มีความดันโลหิตต่ำไม่ควรรับประทานเนื่องจากอาจมีผลข้างเคียงที่ร้ายแรงจึงไม่แนะนำให้ผู้ที่มีโรคประจำตัวรับประทานนอกเสียจากว่าอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์

หากคุณเห็นว่าบทความนี้มีประโยชน์และอยากอ่านเกี่ยวกับหัวข้อนี้เพิ่มเติม สามารถสนับสนุน ดร.เอิร์ล มินเดลล์ (ผู้แต่ง) พญ. ธิดากานต์ รุจิพัฒนกุล (แปล) ได้โดยการซื้อหนังสือวิตามินไบเบิล


1 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป