หัวใจ (Heart) เป็นอวัยวะที่สำคัญมาก เพราะหัวใจเป็นอวัยวะที่สูบฉีดเลือดที่อุดมไปด้วยออกซิเจนและสารอาหารไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย ดังนั้นหากไม่มีหัวใจ มนุษย์ก็จะไม่สามารถมีชีวิตอยู่ได้
ทางการแพทย์จึงวินิจฉัยการเสียชีวิตโดยใช้การเต้นหัวใจเป็นตัวชี้วัดว่า "ผู้ป่วยยังมีชีวิตอยู่หรือไม่" ถึงแม้อวัยวะอื่นๆ จะยังทำงานอยู่ก็ตาม
ตรวจหัวใจและหลอดเลือดวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 294 บาท ลดสูงสุด80%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
ดังนั้นเมื่อผู้ป่วยมีความผิดปกติของหัวใจ เช่น หัวใจวาย หัวใจล้มเหลวระยะสุดท้าย (หัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงร่างกายได้) โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ กล้ามเนื้อหัวใจตาย แม้แต่ผู้ป่วยที่มีหัวใจพิการตั้งแต่กำเนิด
วิธี “ผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจ” จะสามารถช่วยยืดอายุและช่วยชีวิตของผู้ป่วยเหล่านี้ได้
ความรู้ทั่วไปในการเข้ารับการผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจ
การผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจมักทำร่วมกับปอด เนื่องจากอวัยวะทั้งสองต้องทำงานร่วมกันเสมอ เมื่อเกิดความผิดปกติที่อวัยวะใดอวัยวะหนึ่งก็จะส่งผลกระทบไปยังอวัยวะหนึ่งด้วยเสมอ
ทางการแพทย์จึงมักเรียกการผ่าตัดนี้ว่า “การปลูกถ่ายหัวใจและปอด”
ปัจจุบันการผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจมีอัตราความสำเร็จมากขึ้น เนื่องจากวิทยาการทางการแพทย์ก้าวหน้า โดยเฉพาะการพัฒนาประสิทธิภาพของยากดภูมิคุ้ม
อย่างไรก็ตาม การบริจาคหัวใจยังคงมีปัญหาเรื่องการขาดแคลนผู้บริจาคที่มีน้อยกว่าผู้รับบริจาค ทำให้การผ่าตัดนี้ยังมีข้อจำกัดอยู่มาก
ตรวจหัวใจและหลอดเลือดวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 294 บาท ลดสูงสุด80%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
สำหรับผู้ป่วยที่ทำการผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจแล้วจะต้องปฏิบัติตัวหลังการผ่าตัดอย่างเคร่งครัด เพื่อถนอมสุขภาพและหัวใจให้อยู่กับเราไปนานๆ ดังนี้
- ไปพบแพทย์ตามนัดทุกครั้ง
- ดูแลสุขภาพร่างกายและจิตใจให้แข็งแรงอยู่เสมอ
- ระมัดระวังความเสี่ยงในการติดเชื้อ
- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
- ออกกำลังกายตามที่แพทย์แนะนำ
- พักผ่อนให้เพียงพอ
สถิติการผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจ
จากสถิติของสมาคมผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจนานาชาติ พบว่า ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจมากกว่า 70% จะมีชีวิตอยู่ได้ถึง 10 ปี และส่วนใหญ่ผู้ป่วยจะสามารถดำรงชีวิตเหมือน หรือใกล้เคียงคนปกติได้
เมื่อไรที่ต้องเปลี่ยนหัวใจ?
ผู้ป่วยโรคหัวใจตีบ โรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย หรือโรคหัวใจล้มเหลวระยะสุดท้าย ที่มีค่าความสามารถในการทำงานของหัวใจเหลือน้อยกว่า 25% แพทย์จะพิจารณาเปลี่ยนหัวใจใหม่ในกรณีที่มีผู้บริจาคให้
การบริจาคหัวใจมีระยะเวลาจำกัดคือ หัวใจที่บริจาคนั้นจะต้องได้รับการปลูกถ่ายให้ผู้รับบริจาคภายใน 4-6 ชั่วโมงเท่านั้น ทำให้การผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจจำเป็นต้องมีการวางแผนและเตรียมการล่วงหน้าอย่างดี
ทั้งนี้การผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจนั้นจะเป็นวิธีสุดท้ายที่แพทย์จะเลือกใช้ในการรักษา
ข้อควรรู้เกี่ยวกับผู้บริจาคหัวใจ
ผู้ที่จะบริจาคหัวใจได้นั้นจะต้องเป็นผู้ที่สมองตาย ส่วนมากจะมาจากผู้ป่วยที่ประสบอุบัติเหตุ ญาติจะเป็นผู้แจ้งความประสงค์ขอบริจาค
ตรวจหัวใจและหลอดเลือดวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 294 บาท ลดสูงสุด80%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
สำหรับหัวใจที่บริจาคนั้นจะทำการผ่าตัดออกมาเก็บรักษาไว้ได้ไม่เกิน 4 ชั่วโมง ก่อนจะถูกเปลี่ยนผ่านไปยังชุดผ่าตัดหัวใจอีกชุดหนึ่ง
ค่าใช้จ่ายในการผ่าตัดและการดูแลหลังผ่าตัดครั้งแรก ราคาประมาณ 1 แสนบาท และการทำการผ่าตัดตั้งแต่การบริจาคจนถึงการรับบริจาคจะต้องผ่านการรับรองและวินิจฉัยจริยธรรมจากคณะกรรมการ
คณะกรรมการนี้จะเป็นคณะกรรมการกลางที่ไม่เกี่ยวข้องกับทีมที่ทำการผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจ และมีการลงชื่อรับรองโดยแพทย์ผู้ตรวจอย่างน้อย 2 คน
จากนั้นก็จะนำหัวใจที่บริจาคส่งมอบให้กับทีมแพทย์ผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจต่อไป
ข้อกำหนดเบื้องต้นของผู้รับบริจาค
- เป็นโรคหัวใจที่จำเป็นต้องรักษาด้วยการผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจเท่านั้น เช่น โรคกล้ามเนื้อหัวใจโป่งพองโดยไม่ทราบสาเหตุ โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โรคลิ้นหัวใจพิการระยะสุดท้าย โรคหัวใจพิการแต่กำเนิดบางชนิด
- ส่วนมากผู้ป่วยจะมีชีวิตอยู่ได้ไม่เกิน 1 ปี หากไม่ได้รับการรักษา
- อายุไม่ควรเกิน 60 ปี
- ไม่มีโรคประจำตัวร้ายแรง เช่น โรคมะเร็ง
- ไม่มีโรคติดเชื้อรุนแรง
- ผู้ป่วยจะต้องให้ความร่วมมือในการปฏิบัติตามคำสั่งแพทย์อย่างเคร่งครัด
- ไม่เป็นผู้ป่วยโรคจิต หรือไม่สามารถทำตามคำแนะนำของบุคลากรทางการแพทย์ได้
การผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจเป็นการผ่าตัดที่มีความสำคัญช่วยต่อชีวิตเพื่อนมนุษย์ได้ หากอยากช่วยต่อลมหายใจให้เพื่อนมนุษย์ คุณสามารถขอข้อมูล หรือติดต่อขอบริจาคหัวใจรวมทั้งอวัยวะอื่นๆ ได้ที่ศูนย์รับบริจาคอวัยวะ สภากาชาดแห่งประเทศไทย
ดูแพ็กเกจตรวจหัวใจ ตรวจสุขภาพ เปรียบเทียบราคา โปรโมชั่นล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจต่างๆ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android