ภาวะเกลียดเสียง (Misophonia) เมื่อเสียงทำให้คุณรู้สึก “บ้า”

เผยแพร่ครั้งแรก 12 ก.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
ภาวะเกลียดเสียง (Misophonia) เมื่อเสียงทำให้คุณรู้สึก “บ้า”

ผู้ป่วยที่มีภาวะเกลียดเสียง (Misophonia) จะมีปฏิกิริยาที่แย่ และรุนแรง เมื่อต้องได้ยินเสียงหนึ่ง ๆ ซึ่งนั่นอาจสัมพันธ์กับส่วนหนึ่งของสมองได้

คุณได้ยินเสียงหายใจของแฟนของคุณใกล้ ๆ แล้วรู้สึกโกรธขึ้นมาโดยทันที ลูกอายุ 6 ขวบของคุณหาวและนั่นทำให้คุณตื่นตกใจกลัว คุณเลี่ยงการไปร้านอาหารเนื่องจากคุณไม่สามารถทนเสียงคนเคี้ยวอาหารได้ เสียงที่คนหลาย ๆ คนอาจไม่ทันสังเกตได้ยิน drive you up a wall หากคุณเคยรู้สึกคล้ายสถานการณ์ดังกล่าวข้างต้น คุณอาจจะเป็นภาวะเกลียดเสียง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาสุขภาพจิต วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 882 บาท ลดสูงสุด 51%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ภาวะเกลียดเสียง (Misophonia) คืออะไร?

คนที่เป็นภาวะเกลียดเสียงจะมีอารมณ์เปลี่ยนแปลงร่วมไปกับเสียงที่ได้ยินทั่วไป - ส่วนใหญ่เป็นเสียงที่เกิดจากคนอื่น และคนปกติมักไม่ใส่ใจกับเสียงเหล่านั้น ตัวอย่างเช่น เสียงหายใจ เสียงหาว หรือเสียงเคี้ยวอาหาร ที่ทำให้เกิดภาวะตื่นตกใจกลัว กระตุ้นให้เกิดความรู้สึกกลัว และต้องการหลบหนี ภาวะความผิดปกตินี้ยังมีข้อมูลน้อย และเรายังไม่รู้ว่าภาวะนี้พบได้ทั่วไปมากแค่ไหน โดยที่ภาวะนี้อาจส่งผลร้ายแรงถึงกับให้คน ๆ หนึ่งแยกปลีกตัวออกมา เพราะพวกเขาต้องทรมาณกับเสียงเหล่านี้ จึงจำเป็นที่จะต้องหลีกเลี่ยง คนที่มีภาวะเกลียดเสียงมักไม่กล่าวถึงภาวะนี้ของตนให้แก่แพทย์ทราบเนื่องจากรู้สึกอับอาย และนอกจากนี้แพทย์ก็ไม่ค่อยจะรู้จักภาวะนี้ด้วยเช่นกัน อย่างไรก็ตามภาวะนี้เป็นความผิดปกติจริงและส่งผลต่อการทำงาน การเข้าสังคม และสุขภาพจิตได้อย่างร้ายแรง ภาวะนี้มักพบในช่วงอายุ 12 ปี และมีคนที่ประสบกับภาวะนี้มากกว่าที่เราคิดไว้ 

อะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะเกลียดเสียง (Misophonia)

งานวิจัยใหม่ ๆ เริ่มมีการหาสาเหตุของการเกิดภาวะเกลียดเสียง งานวิจัยจากอังกฤษได้ทำการศึกษาในผู้ใหญ่ที่มีภาวะเกลียดเสียงเป็นจำนวน 20 ราย และคนที่ไม่มีภาวะนี้อีก 22 ราย โดยได้มีการให้จัดอันดับเสียงที่น่ารบกวนหลากหลายเสียงแตกต่างกัน โดยครอบคลุมถึงเสียงที่กระตุ้นให้เกิดภาวะเกลียดเสียงนี้ได้บ่อย (เสียงทานอาหาร เสียงหายใจ) เสียงที่ก่อให้เกิดการรบกวน (เสียงทารกร้องไห้ และเสียงผู้คนโหวกเหวกโวยวาย) และเสียงจากธรรมชาติ (เช่น เสียงฝนตก) ซึ่งผลจากงานวิจัยพบว่า ผู้คนที่มีภาวะเกลียดเสียงจะให้คะแนนว่าเสียงทานอาหาร และเสียงหายใจนั้นสร้างความรบกวนให้อย่างมาก ในขณะที่คนที่ไม่มีภาวะนี้จะไม่ให้คะแนนในส่วนนี้ อย่างไรก็ตาม สำหรับเสียงทารกร้องไห้ เสียงผู้คนโหวกเหวกโวยวาย และเสียงจากธรรมชาติ พบว่ามีการให้คะแนนความน่ารบกวนพอ ๆ กัน ผลจากงานวิจัยนี้ได้ยืนยันผลว่าคนที่มีภาวะเกลียดเสียงจะได้รับผลกระทบจากเสียงเฉพาะเจาะจงบางอย่างมากกว่า และจะไม่ค่อยมีความแตกต่างในเสียงทั่ว ๆ ไป

นอกจากนี้ยังมีการแสดงผลว่าคนที่มีภาวะเกลียดเสียงจะมีอาการทางกายที่แสดงถึงความเครียด (เหงื่อออกเพิ่มขึ้น หรืออัตราการเต้นของหัวใจที่เพิ่มขึ้น) ต่อเสียงที่กระตุ้นได้มากกว่า โดยไม่พบว่ามีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญระหว่างเสียงธรรมชาติ หรือเสียงทารกร้องไห้ หรือเสียงผู้คนโหวกเหวกโวยวาย

ประสาทวิทยาของภาวะเกลียดเสียง

ผลการศึกษาที่สำคัญพบว่ามีส่วนหนึ่งของสมองที่มีบทบาทต่ออารมณ์โกรธและการรับสัมผัสต่อสิ่งกระตุ้นภายนอก (เช่น เสียง) และการตอบสนองด้วยอวัยวะภายในเช่น หัวใจ และปอด : ส่วนนั้นคือ Anterior Insular Cortex (AIC) เมื่อใช้เครื่องสแกนสมอง fMRI เพื่อตรวจวัดการทำงานของสมอง นักวิจัยพบว่าส่วนของ AIC ของกลุ่มคนที่มีภาวะเกลียดเสียงนั้นมีการทำงานเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับสมองส่วนอื่น ๆ ในช่วงที่ต้องเจอกับเสียงกระตุ้น นอกจากนี้ยังพบว่าสมองส่วนที่ทำหน้าเฉพาะเจาะจงเกี่ยวกับความจำระยะยาว ความกลัว และอารมณ์อื่น ๆ ยังถูกกระตุ้นให้ทำงานเพิ่มขึ้น ซึ่งนั่นเป็นเหตุผลที่สอดคล้องไปกับการที่พบว่าคนที่มีภาวะเกลียดเสียงนั้นจะมีการตอบสนองทางอารมณ์ที่รุนแรงต่อเสียงทั่วไปได้ นอกจากนั้นแล้ว ที่สำคัญยังพบว่าสมองส่วนนี้ต่างมีส่วนเกี่ยวข้องกับการเผชิญหน้าของภาวะเกลียดเสียง 

นักวิจัยยังได้ใช้เครื่องสแกนสมอง whole-brain MRI เพื่อลงตำแหน่งในสมองของผู้เข้าร่วมวิจัย และพบว่าคนที่มีภาวะเกลียดเสียงนั้นจะมี myelination สูงมาก โดย Myelin นั้นเป็นสารประเภทไขมัน เป็นเปลือกหุ้มรอบเซลล์ประสาทในสมองทำหน้าที่เป็นฉนวนป้องกันกระแสไฟฟ้า โดยยังไม่มีการสืบค้นแน่ชัดว่า Myelin เป็นสาเหตุ หรือเป็นผลกระทบจากภาวะเกลียดเสียงหรือไม่

แต่ว่ายังมีข่าวดี

คลินิกภาวะเกลียดเสียงนั้นสามารถเข้าถึงได้ทั่วไปในประเทศสหรัฐอเมริกา และการรักษาเช่น การกลบเกลื่อนทางเสียง (ด้วย white noise หรือหูฟัง) รวมถึงการบำบัดความคิดและพฤติกรรม นั้นได้ผลและช่วยให้ผู้ที่มีภาวะนี้สามารถทำงานได้ดีขึ้น สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อ Misophonia Association


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Misophonia: What it is, symptoms, and triggers. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/320682)
Misophonia: When sounds really do make you “crazy”. Harvard Health. (https://www.health.harvard.edu/blog/misophonia-sounds-really-make-crazy-2017042111534)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)