การบาดเจ็บของแผ่นการเจริญเติบโตของกระดูก (growth plate) ในเด็กที่เล่นกีฬา

เผยแพร่ครั้งแรก 29 ก.ย. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
การบาดเจ็บของแผ่นการเจริญเติบโตของกระดูก (growth plate) ในเด็กที่เล่นกีฬา

แผ่นการเจริญเติบโตของกระดูก (growth plate หรือ physis) เป็นบริเวณที่เกิดการพัฒนาเนื้อเยื่อขึ้นใกล้ปลายกระดูกยาว (long bones) ในเด็ก โดยในกระดูกยาวแต่ละชิ้นจะมีแผ่นการเจริญเติบโตของกระดูกอย่างน้อยหนึ่งแห่งที่ปลายแต่ละข้าง เมื่อการเจริญเติบโตสิ้นสุดลงในช่วงวัยรุ่น แผ่นการเจริญเติบโตของกระดูกจะถูกแทนที่ด้วยกระดูก

การบาดเจ็บของแผ่นการเจริญเติบโตของกระดูกเกิดขึ้นในเด็กและวัยรุ่น แผ่นการเจริญเติบโตของกระดูกเป็นบริเวณที่อ่อนแอที่สุดของกระดูกที่กำลังเจริญ ดังนั้นการบาดเจ็บของข้อที่รุนแรงจึงมีแนวโน้มจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่แผ่นการเจริญเติบโตของกระดูกมากกว่าเส้นเอ็นรอบ ๆ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

การบาดเจ็บที่อาจก่อให้เกิดอาการเคล็ด (sprain) ในผู้ใหญ่อาจเป็นการบาดเจ็บต่อแผ่นการเจริญเติบโตของกระดูกที่ร้ายแรงในเด็กได้

ส่วนใหญ่แล้ว การบาดเจ็บของแผ่นการเจริญเติบโตของกระดูกจะเป็นการหัก ซึ่งพบได้มากเป็นสองเท่าในเด็กผู้ชาย

การหักของแผ่นการเจริญเติบโตของกระดูกเกิดขึ้นได้บ่อยที่สุดในกระดูกยาวของนิ้ว (phalanges) รองลงมาคือกระดูกชิ้นนอกของท่อนแขนส่วนล่าง (radius) ที่บริเวณข้อมือ การบาดเจ็บเหล่านี้ยังเกิดได้บ่อยในกระดูกท่อนล่างของขาคือ tibia และ fibula และยังสามารถเกิดได้ในกระดูกท่อนขาส่วนบน (femur) หรือที่ข้อเท้า เท้า หรือกระดูกสะโพกก็ได้

สาเหตุการบาดเจ็บของแผ่นการเจริญเติบโตของกระดูกในเด็ก

แม้ว่าการบาดเจ็บของแผ่นการเจริญเติบโตของกระดูกอาจเกิดจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกะทันหัน เช่น พลัดตก หกล้ม หรือมีแรงกระแทก แต่ก็อาจเกิดจากการใช้งานมากเกินไปได้เช่นกัน เด็กที่เล่นกีฬามักมีอาการเจ็บที่กระดูกและกล้ามเนื้อ เมื่อกระดูกและกล้ามเนื้อของพวกเขามีการเจริญเติบโตและพวกเขาฝึกการเคลื่อนไหวใหม่ ๆ อาการปวดและเจ็บอาจเกิดขึ้นได้ แต่ควรให้ความสนใจกับคำบอกเล่าของเด็กให้มาก

การบาดเจ็บที่ไม่ได้รักษาอาจก่อให้เกิดความเสียหายถาวร และเป็นอุปสรรคต่อการเจริญเติบโตทางร่างกายได้

ถึงแม้ว่าการบาดเจ็บของแผ่นการเจริญเติบโตของกระดูกจะเกิดจากอุบัติเหตุระหว่างการเล่นกีฬาหรือการเล่นของเด็ก แต่แผ่นการเจริญเติบโตของกระดูกก็มีแนวโน้มที่จะได้รับบาดเจ็บจากสาเหตุอื่น ๆ การติดเชื้อ และโรคที่ส่งผลต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการตามปกติได้ 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

จะวินิจฉัยการหักของแผ่นการเจริญเติบโตของกระดูกได้อย่างไร ?

หลังจากรู้ว่าการบาดเจ็บเกิดขึ้นได้อย่างไรและได้ตรวจร่างกายเด็กแล้ว แพทย์อาจใช้การตรวจ x ray เพื่อดูชนิดของการหักและตัดสินใจเรื่องแผนการรักษา เนื่องจากแผ่นการเจริญเติบโตของกระดูกยังไม่ได้กลายเป็นกระดูกแข็ง จึงยังไม่เห็นในภาพ x ray แต่จะปรากฏเป็นช่องว่างระหว่างท่อนกระดูกยาวซึ่งเรียกว่า metaphysic และส่วนปลายของกระดูกซึ่งเรียกว่า epiphysis แทน

เนื่องจากการบาดเจ็บต่อแผ่นการเจริญเติบโตของกระดูกอาจเห็นได้ยากใน x ray จึงอาจต้องถ่ายภาพของร่างกายข้างที่ไม่ได้รับบาดเจ็บด้วยเพื่อที่จะเปรียบเทียบความแตกต่างได้ ในบางกรณี อาจต้องใช้การตรวจประเภทอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น การตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) การตรวจเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์  (CT) หรือการตรวจอัลตราซาวน์

แพทย์ทางด้านใดที่รักษาเรื่องการบาดเจ็บของแผ่นการเจริญเติบโตของกระดูก ?

สำหรับการบาดเจ็บทั้งหมดที่ไม่ซับซ้อน แพทย์อาจแนะนำให้รักษาอาการบาดเจ็บกับศัลยแพทย์ออร์โธพิดิกส์ (orthopaedic surgeon) ซึ่งเป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านปัญหากระดูกและข้อในเด็กและผู้ใหญ่ แต่บางปัญหาอาจต้องให้ศัลยแพทย์ออร์โธพิดิกส์เด็ก (pediatric orthopedic surgeon) ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านการบาดเจ็บและโรคทางกระดูกและกล้ามเนื้อในเด็กเป็นผู้ดูแล 

จะรักษาการบาดเจ็บของแผ่นการเจริญเติบโตของกระดูกได้อย่างไร?

ตามที่ได้กล่าวไปแล้วก่อนหน้านี้ คือการรักษาจะขึ้นอยู่กับชนิดของการหัก การรักษาควรเริ่มให้เร็วที่สุดเท่าที่เป็นไปได้หลังการบาดเจ็บโดยมีแนวทางต่าง ๆ ร่วมกัน ดังนี้

การเข้าเฝือก

แขนหรือขาข้างที่ได้รับบาดเจ็บจะได้รับการเข้าเฝือกหรือการดาม และเด็กจะได้รับคำสั่งให้จำกัดการเคลื่อนไหวใด ๆ ที่ทำให้เกิดแรงกระทำต่อบริเวณที่บาดเจ็บ แพทย์อาจแนะนำให้ประคบน้ำแข็งในบริเวณที่บาดเจ็บด้วย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

การจัดกระดูกให้เข้าที่หรือการผ่าตัด

แพทย์อาจต้องจัดให้กระดูกหรือข้อกลับเข้าที่ ซึ่งพบประมาณ 1 ใน 10 ของผู้ป่วย โดยอาจใช้การจัดด้วยมือ (manipulation) หรือการผ่าตัด

หลังขั้นตอนดังกล่าว กระดูกจะถูกจัดกลับเข้าที่ เพื่อจะได้ฟื้นตัวโดยไม่เคลื่อนไหว ซึ่งมักใช้การเข้าเฝือกในรอบบริเวณที่มีการบาดเจ็บต่อแผ่นการเจริญเติบโตของกระดูกและข้อหรือทั้งสองข้าง โดยจะต้องใส่เฝือกไว้จนกว่าการบาดเจ็บจะหายดี ซึ่งอาจใช้เวลาตั้งแต่ไม่กี่สัปดาห์จนถึงหลายเดือนสำหรับการบาดเจ็บที่รุนแรง ความจำเป็นสำหรับการจัดกระดูกหรือการผ่าตัดขึ้นอยู่กับตำแหน่งและความรุนแรงของการบาดเจ็บ ผลกระทบต่อเส้นเลือดและเส้นประสาทข้างเคียง และอายุของเด็ก 

การออกกำลังเพื่อสร้างความแข็งแรงและเพิ่มพิสัยการเคลื่อนไหว (range of motion)

การรักษาเหล่านี้อาจแนะนำให้ทำหลังจากที่กระดูกหักหายดีแล้ว 

การติดตามระยะยาว

การติดตามระยะยาวมักมีความจำเป็นเพื่อติดตามการฟื้นตัวและการเจริญเติบโต การประเมินอาจรวมถึงการถ่ายภาพ x ray ของแขนหรือขาทั้งสองข้างทุก 3-6 เดือน เป็นเวลาอย่างน้อย 2 ปี การหักของกระดูกบางชนิดต้องการการประเมินเป็นระยะจนกว่ากระดูกจะหยุดการเจริญเติบโต บางครั้งอาจเกิดเส้นที่แสดงให้เห็นถึงการหยุดการเจริญเติบโตของกระดูก (growth arrest line) ซึ่งบ่งชี้ถึงการบาดเจ็บ การที่ยังมีการเจริญเติบโตของกระดูกต่อออกไปจากเส้นดังกล่าวอาจหมายถึงว่าจะไม่มีปัญหาในระยะยาว และแพทย์อาจตัดสินใจหยุดการนัดติดตามผู้ป่วย


1 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
The National Arthritis and Musculoskeletal and Skin Diseases Information Clearinghouse (NAMSIC) ได้ที่ http://www.nih.gov/niams/

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)