โบกมือลาการอดอาหารก่อนเจาะเลือดดูค่า

เผยแพร่ครั้งแรก 13 ก.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
โบกมือลาการอดอาหารก่อนเจาะเลือดดูค่า

โดยปกติแล้วแพทย์มักจะสั่งให้เราทำการอดอาหารหลังเที่ยงคืนก่อนที่จะมาทำการเจาะเลือดตรวจค่า cholesterol ในตอนเช้าซึ่งแน่นอนว่านั่นไม่ใช่เรื่องที่สนุกเลยแม้แต่น้อย สำหรับบางคนแล้วการอดอาหารนั้นเป็นเรื่องที่ทำได้ยากโดยเฉพาะในกลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวานและเด็ก และถ้าหากคุณไม่ได้อดอาหารมาเจาะเลือด คุณก็อาจจะต้องมาตรวจใหม่วันหลังและทำให้เสียเวลายิ่งขึ้นไปอีก

แนวทางการปฏิบัติที่เพิ่งออกมาล่าสุดและตีพิมพ์ในวารสาร European Heart Journal ได้ออกมาบอกว่าไม่จำเป็นต้องอดอาหารก่อนการตรวจ cholesterol อีกต่อไป ความเชื่อที่สนับสนุนการอดอาหารก่อนเจาะเลือดตรวจระดับ cholesterol 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

เวลาที่แพทย์สั่งตรวจ cholesterol นั้น แพทย์มักจะสั่งตรวจพร้อมๆ กับการตรวจไขมันตัวอื่นๆ ซึ่งประกอบไปด้วย

  • ค่าความเข้มข้นรวมของ cholesterol
  • Low-density lipoprotein (LDL) หรือที่มักเรียกกันว่า cholesterol ชนิดไม่ดี ค่า LDL ในกระแสเลือดที่สูงมักจะบอกว่าคุณมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคทางระบบหัวใจและหลอดเลือดเนื่องจากไขมันตัวนี้จะไปทำให้เกิดการสะสมตามผนังหลอดเลือดแดง
  • High-density lipoprotein (HDL) หรือ cholesterol ชนิดดี เนื่องจากการมีระดับ cholesterol ตัวนี้ในเลือดสูงนั้นจะเป็นปัจจัยป้องกันการเกิดโรคหัวใจ
  • Triglycerides เป็นไขมันอีกชนิดหนึ่งซึ่งถ้าหากมีไขมันตัวนี้ในเลือดสูงก็จะมีความเสี่ยงในการเกิดโรคเกี่ยวกับหลอดเลือดสูงขึ้นเช่นกัน

แพทย์มักจะสั่งให้เจาะเลือดตรวจดูค่าไขมันหลังอดอาหารเพื่อลดค่าความแปรปรวนที่อาจเกิดขึ้นได้จากการกินอาหารเช่นการกินอาหารที่มีไขมัน และการอดอาหารจะทำให้การคำนวนค่า LDL cholesterol นั้นทำได้แม่นยำขึ้น อย่างไรก็ตามการศึกษาที่เพิ่งออกมาหลายชิ้นไม่ได้กังวลกับปัจจัยทั้ง 2 ข้อนี้อีกต่อไป

ปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์เห็นว่าการรับประทานอาหารนั้นส่งผลเพียงเล็กน้อยต่อการไขมันทั้ง 3 ตัวคือ total cholesterol, HDL และ LDL การรับประทานอาหารนั้นทำให้ค่า triglyceride สูงขึ้นได้หลายชั่วโมงโดยเฉพาะหลังการรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง ดังนั้นหากแพทย์ต้องการตรวจดูระดับ triglyceride ก็ยังอาจจะสั่งให้ทำการอดอาหารก่อนเจาะเลือดเช่นเดิม

แต่สิ่งที่สำคัญมากกว่านั้นก็คือมีงานวิจัยที่ได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูลและพบว่าค่าไขมันที่ได้จากการเจาะเลือดโดยไม่อดอาหารนั้นก็ไม่ได้ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างระดับ cholesterol กับความเสี่ยงของโรคที่อาจเกิดขึ้นเช่นโรคหัวใจ, โรคเส้นเลือดอุดตันในสมองเปลี่ยนไปแต่อย่างใด ในความเป็นจริงแล้วการตรวจเลือดหลังการรับประทานอาหารนั้นจะยิ่งช่วยให้เห็นระดับไขมันที่จะช่วยให้คาดการณ์เกี่ยวกับความเสี่ยงในการเกิดโรคที่หัวใจและหลอดเลือดได้มากขึ้น เนื่องจากคนเรามักกินข้าวและขนมหลายมื้อตลอดทั้งวันดังนั้นร่างกายของเราในภาวะปกติจึงเป็นภาวะที่ไม่มีการอดอาหาร ดังนั้นการตรวจเลือดโดยไม่ต้องอดอาหารนั้นจึงจะทำให้เห็นค่าไขมันในร่างกายที่แท้จริง

เราสามารถโบกมือลาการอดอาหารก่อนเจาะเลือดได้จริงหรือ?

แนวทางการปฏิบัติเกี่ยวกับการตรวจค่าไขมันในเลือดที่เพิ่งออกมานั้นมีหลักฐานมาจากการศึกษาหลายชิ้น และแนวทางในการปฏิบัติในปัจจุบันก็สนับสนุนให้ไม่จำเป็นต้องอดอาหารก่อนเจาะ cholesterol อีกต่อไป

อย่างไรก็ตามการอดอาหารก่อนมาตรวจไขมันก็ยังเป็นเรื่องที่จำเป็นในบางกรณีเช่นในผู้ป่วยที่มีไขมัน triglyceride ในเลือดสูงมากๆ และผู้ที่ต้องทำการตรวจเลือดดูระดับน้ำตาลในเลือด แม้ว่าในปัจจุบันจะมีการตรวจติดตามโรคเบาหวานตัวใหม่มาแทนแล้วก็ตาม (hemoglobin A1c) แต่สำหรับคนส่วนใหญ่ที่แค่ต้องการตรวจติดตามระดับไขมันในเลือดเพื่อประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดนั้น นี่น่าจะเป็นข่าวดีสำหรับคุณ

ดังนั้น ก่อนที่จะทำการเจาะเลือด คุณควรถามแพทย์ก่อนว่าจำเป็นต้องงดอาหารเช้าก่อนเจาะเลือดหรือไม่ 


19 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Farewell to fasting before a cholesterol test?. Harvard Health. (https://www.health.harvard.edu/heart-health/farewell-to-fasting-before-a-cholesterol-test)
Fasting before a blood test: Examples, reasons, and tips. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/319080)
Fasting Before a Blood Test: How Long to Fast and More. Healthline. (https://www.healthline.com/health/fasting-before-blood-test)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)