ระบบอวัยวะสืบพันธุ์ของสตรีตั้งอยู่ในอุ้งเชิงกรานซึ่งสามารถขยายขนาดเพื่อรองรับการเติบโตของทารกในครรภ์
เมื่อแรกเกิดรังไข่มีไข่อ่อนจำนวน 6 แสนฟอง ซึ่งจะไม่เพิ่มขึ้นมากขึ้นกว่านี้ตลอดช่วงชีวิต ไข่เหล่านี้จะฝ่อไปเป็นจำนวนมากก่อนถึงวัยสาว ก่อนวัยหมดประจำเดือนไข่ประมาณ 400 ฟองจะเจริญขึ้นเป็นไข่แก่ โดยปกติประมาณ 1-2 ใบต่อรอบเดือน
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
ส่วนระบบอวัยวะสืบพันธ์ของเพศชาย เป็นทั้งที่ผลิต ที่เก็บ และที่ปลดปล่อยน้ำเชื้อ เริ่มตั้งแต่วัยหนุ่มไปตลอดชีวิต ตัวอสุจิแต่ละตัวใช้เวลาเจริญเติบโตเต็มที่ 72 ตัว แต่จะมีการสร้างเชื้ออสุจิจำนวนมากมายพร้อม ๆ กันอย่างต่อเนื่อง ประมาณว่าผู้ชายคนหนึ่งผลิตตัวอสุจิจำนวน 12 ล้านล้านตัว
ฮอร์โมนเพศ เป็นตัวควบคุมการสืบพันธุ์โดยตรง และมีปัจจัยอื่นที่มีผลต่อระบบสืบพันธุ์ของเพศชายและหญิง ได้แก่ สุขภาพทั่วไป โภชนาการ และความเครียด รวมทั้งพันธุกรรม ยีนเป็นตัวกำหนดลักษณะของลูก เช่น สีของดวงตาและผม ความสูง รูปร่าง ชนิดของเลือด เป็นต้น
การกำหนดเพศ เกิดขึ้นเมื่อมีการปฏิสนธิ โดยขึ้นอยู่กับตัวอสุจิของพ่อว่าเป็นเซลล์เพศใด เพราะเซลล์ของเพศหญิงประกอบด้วยโครโมโซมเอกซ์ 2 ตัว เมื่อไข่แบ่งตัวจะให้โครโมโซมเอกซ์ 1 ตัว ในขณะที่เซลล์ของเพศชายมีโครโมโซมเอกซ์และวาย ซึ่งตัวเชื้ออสุจิอาจมีตัวหนึ่งตัวใดก็ได้ ดังนั้นเมื่อไข่ผสมกับเชื้ออสุจิเอกซ์ (X sperm) ทารกจะเป็นเพศหญิง โดยมีโครโมโซมเอกซ์ 2 ตัว แต่ถ้าพ่อให้เชื้ออสุจิวาย (Y sperm) ทารกจะเป็นเพศชาย โดยมีโครโมโซมเอกซ์และวาย
อาการ โรคของอวัยวะสืบพันธุ์ส่วนใหญ่เป็นที่ภายนอก เช่น มีหนองไหลจากปลายองคชาต อาจเกิดจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (หนองใน หนองในเทียม ซิฟิลิส เริมของอวัยวะเพศ เอดส์) มีเลือดปนในอสุจิ มักเกิดจากการร่วมเพศที่รุนแรง แต่ก็อาจเกิดจากโรคติดเชื้อบางอย่าง เช่น วัณโรค เป็นต้น อาการปอดบวม การเปลี่ยนแปลงของอัณฑะหรือองคชาต เป็นอาการที่แสดงถึงความผิดปกติบางอย่าง