ปริมาณการใช้ยาทา “หนึ่งหน่วยปลายนิ้วมือ”

เผยแพร่ครั้งแรก 21 ธ.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 ม.ค. 2023 เวลาอ่านประมาณ 1 นาที
ปริมาณการใช้ยาทา “หนึ่งหน่วยปลายนิ้วมือ”

ไม่เฉพาะ “ยาใช้ภายใน” เท่านั้นนะคะ ที่ควรจะต้องใช้ในขนาดที่เหมาะสม เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการรักษา และลดอันตรายที่อาจเกิดจากการใช้ยา แต่ “ยาใช้ภายนอก” ก็เช่นกันค่ะ โดยเฉพาะยาทาในกลุ่มสเตียรอยด์ ที่หากใช้ในปริมาณที่มากเกินไป นอกจากจะเกิดอาการไม่พึงประสงค์เฉพาะที่ เช่น ผิวบาง ฝ่อ หรือแตกลายแล้ว ยังอาจดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดและเกิดอาการไม่พึงประสงค์ทางระบบร่างกายได้อีกด้วยค่ะ


แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

แล้วต้องใช้ในปริมาณเท่าไหร่ล่ะ ถึงจะเรียกว่าเหมาะสม เพราะในฉลากก็มักจะระบุเพียงแต่ว่า “ทาบาง ๆ บริเวณที่มีอาการ” เท่านั้นนี่?!?

 มีการกำหนดปริมาณการใช้ครีมสเตียรอยด์ ไม่ให้มากจนเกินไป หรือน้อยจนเกินไป เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ในขณะเดียวกันก็เกิดผลข้างเคียงน้อยที่สุด เป็นหน่วยที่เรียกว่า Fingertips Unit (FTU) หรือ หน่วยปลายนิ้วมือ นั่นเองค่ะ

โดย 1 FTU จะมีปริมาณเท่ากับ 1 ข้อนิ้วชี้ของผู้ที่ใช้ยา วัดจากข้อแรกไปถึงปลายนิ้วนะคะ ซึ่งจะมีปริมาณครีมหรือขี้ผึ้งเท่ากับ 0.5 กรัมถ้าเทียบกับนิ้วมือผู้ใหญ่เพศชาย หรือเท่ากับ 0.4 กรัมถ้าเทียบกับนิ้วมือของผู้ใหญ่เพศหญิง

ซึ่งจะต้องใช้ยาในจำนวนกี่ FTU / วัน ก็ให้พิจารณาจาก อายุของผู้ป่วย ร่วมกับบริเวณที่มีอาการ ดังนี้ค่ะ

อายุ

หน้าและคอ

แขนและมือ

ขาและเท้า

ลำตัวด้านหน้า

แผ่นหลังและก้น

3 – 6 เดือน

1

1

1.5

1

1.5

1 – 2 ปี

1.5

1.5

2

2

3

3 – 5 ปี

1.5

2

3

3

3.5

6 – 10 ปี

2

2.5

4.5

3.5

5

มากกว่า 10 ปี

2.5

แขน (1 ข้าง) : 3

ขา (1 ข้าง) : 6

7

7

ฝ่ามือ (1 ข้าง) : 1

หลังเท้า (1 ข้าง) : 2

 เมื่อได้ขนาดยาที่ต้องใช้แล้ว ก็ให้แบ่งทาวันละ 1 – 2 ครั้ง หรือตามที่มีคำแนะนำเพิ่มเติมนะคะ ไม่จำเป็นจะต้องใช้บ่อยกว่านี้ เนื่องจากไม่ได้เพิ่มประสิทธิภาพในการรักษา แต่อาจเพิ่มผลข้างเคียงจากยาได้ค่ะ

สำหรับโรคชนิดเฉียบพลัน ควรใช้ยาในระยะเวลาที่สั้นที่สุด เช่น ถ้าเป็นยาทากลุ่มที่มีความแรงสูงมาก ไม่ควรใช้ติดต่อกันนานเกิน 2 สัปดาห์ หรือถ้าจำเป็นต้องใช้เป็นเวลานาน ควรหยุดประมาณ 1 สัปดาห์ แล้วจึงเริ่มใช้ใหม่นะคะ เนื่องจากการใช้ยาทาสเตียรอยด์ต่อเนื่องเป็นเวลานาน นอกจากจะเพิ่มผลข้างเคียงจากยาให้มากขึ้นแล้ว ยังอาจทำให้เกิดการชินต่อยาและไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยค่ะ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง


1 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
The finger-tip unit--a new practical measure. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/1806320)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
วิธีหาอุปกรณ์คลุมศีรษะโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายระหว่างการทำเคมีบำบัด
วิธีหาอุปกรณ์คลุมศีรษะโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายระหว่างการทำเคมีบำบัด

วิกผม หมวกมีปีก หมวกไหมพรม และผ้าพันคอที่ไม่เสียค่าใช้จ่ายสำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็ง

อ่านเพิ่ม
ฉันสามารถทำ CPR ได้หรือไม่หากฉันยังไม่ได้รับประกาศนียบัตรผ่านการอบรม
ฉันสามารถทำ CPR ได้หรือไม่หากฉันยังไม่ได้รับประกาศนียบัตรผ่านการอบรม

มันไม่เหมือนการขับรถหรอกนะ : คุณไม่จำเป็นต้องได้รับใบรับรองหรอก

อ่านเพิ่ม