ทุกสิ่งที่คุณควรทราบเกี่ยวกับการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ

เผยแพร่ครั้งแรก 16 ต.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
ทุกสิ่งที่คุณควรทราบเกี่ยวกับการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ

การติดเชื้อในกระเพาะปัสสาวะนั้นเกิดจากการที่มีเชื้อแบคทีเรียนั้นเจริญในกระเพาะปัสสาวะ บางครั้งเชื้อแบคทีเรียเหล่านี้อาจจะสามารถเดินทางขึ้นไปได้ถึงไตหรือท่อไตที่นำปัสสาวะจากไตมายังกระเพาะปัสสาวะ ทำให้เกิดการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะซึ่งเป็นภาวะที่พบได้ในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย

การติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะส่วนใหญ่นั้นสามารถรักษาได้ง่ายๆ ด้วยการใช้ยาปฏิชีวนะ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

อาการที่พบ

อาการของการติดเชื้อที่กระเพาะปัสสาวะนั้นมักจะเกิดขึ้นอย่างฉับพลันและประกอบด้วย

  • ปัสสาวะแสบขัด
  • ปวดปัสสาวะบ่อย
  • อยากปัสสาวะขึ้นมาอย่างทันที
  • ปวดบริเวณท้องน้อยเหนือต่อกระดูกหัวหน่าว
  • มีเลือดออกในปัสสาวะ

อาการของการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะที่รวมถึงไตด้วยนั้นอาจจะมีอาการเพิ่มเติมนอกเหนือจากอาการด้านบนกดังนี้

  • ปวดที่สีข้างหรือด้านหลังตลอดเวลาแม้ว่าจะเปลี่ยนท่าทาง
  • มีไข้หนาวสั่น
  • คลื่นไส้และอาเจียน

อาการนอกเหนือจากนี้ที่จำเพาะต่อการติดเชื้อที่ต่อมลูกหมากนั้นประกอบด้วย

  • มีไข้
  • หนาว
  • อ่อนเพลีย
  • ปัสสาวะลำบาก
  • ปวดในอุ้งเชิงกรานหรือบริเวณเนื้อเยื่อระหว่างถุงอัณฑะและทวารหนัก

สาเหตุที่ทำให้เกิดการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ

การติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะส่วนใหญ่นั้นมาจากเชื้อ Escherichia coli (E. coli) ซึ่งเป็นเชื้อที่พบอยู่ในร่างกายตามธรรมชาติ เชื้อนี้จะเข้าสู่ระบบทางเดินปัสสาวะผ่านทางท่อปัสสาวะซึ่งนำปัสสาวะออกจากกระเพาะปัสสาวะผ่านทางองคชาติ

โรคนี้สามารถพบได้ในผู้หญิงบ่อยกว่าผู้ชายเนื่องจากท่อปัสสาวะของผู้หญิงนั้นสั้นกว่าและแบคทีเรียเดินทางสั้นกว่าเวลาที่เดินทางเข้าสู่กระเพาะปัสสาวะ แต่ผู้ชายนั้นไม่ได้ติดโรคนี้จากการมีเพศสัมพันธ์กับผู้หญิงเนื่องจากการติดเชื้อนั้นมักเกิดจากแบคทีเรียที่มีอยู่ในระบบทางเดินปัสสาวะของผู้ชายอยู่แล้ว

การติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะในผู้ชายนั้นจะพบได้มากขึ้นเมื่อมีอายุมากขึ้น สาเหตุหนึ่งก็คือผู้ชายที่มีอายุมากขึ้นนั้นมักจะมีต่อมลูกหมากโต ตอ่มลูกหมากนั้นโอบล้อมท่อปัสสาวะ ดังนั้นเวลาที่โตจึงทำให้ปัสสาวะไหลได้ยากขึ้น ถ้าหากปัสสาวะไม่หมดกระเพาะอาหารก็จะทำให้แบคทีเรียที่มักจะถูกกำจัดออกไปพร้อมๆ กับปัสสาวะนั้นยังคงอยู่และเริ่มมีจำนวนมากขึ้นได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ปัจจัยอื่นๆ ที่อาจทำให้มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะเพิ่มขึ้นนั้นประกอบไปด้วย

  • อยู่เฉยๆ เป็นเวลานาน
  • ดื่มน้ำไม่พอ
  • เพิ่งผ่าตัดในระบบทางเดินปัสสาวะเร็วๆ
  • เบาหวาน
  • ไม่ได้ขลิบอวัยวะเพศ
  • กลั้นอุจจาระไม่ได้
  • มีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนักซึ่งจะทำให้ท่อปัสสาวะนั้นสัมผัสกับเชื้อแบคทีเรียเพิ่มขึ้น

การวินิจฉัย

ในการวินิจฉัยภาวะนี้ แพทย์จะทำการตรวจร่างกายและสอบถามเกี่ยวกับอาการที่เกิดขึ้น รวมถึงประวัติการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะก่อนหน้านี้ อาจจะต้องมีการเก็บปัสสาวะไปตรวจว่ามีหนองและแบคทีเรียหรือไม่ ซึ่งหากพบหนองจะแสดงว่าน่าจะมีการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ

หากแพทย์สงสัยต่อมลูกหมากโต อาจจะมีการตรวจทางทวารหนักด้วยนิ้วเพื่อไปคลำต่อมลูกหมากที่อยู่ภายใน

การรักษา

หากคุณมีการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ คุณจะต้องรับประทานยาปฏิชีวนะซึ่งอาจจะต้องรับประทานวันละ 1 หรือ 2 ครั้งเป็นเวลา 5-7 วันหรือนานกว่านั้นขึ้นกับยาที่ใช้

นอกจากนั้นควรดื่มน้ำให้เพียงพอ คุณอาจจะอยากดื่มน้ำน้อยลงหากมีอาการปัสสาวะลำบาก แต่การปัสสาวะนั้นจะช่วยขับแบคทีเรียออกจากร่างกายได้ ดังนั้นควรดื่มน้ำให้เพียงพอและปัสสาวะบ่อยๆ ในระหว่างที่รับประทานยาปฏิชีวนะ

มีหลายคนที่เลือกดื่มน้ำแครนเบอร์รี่ในระหว่างที่มีการติดเชื้อเพื่อหวังว่าจะช่วยกำจัดเชื้อ ผลการทดลองในหนูในห้องปฏิบัติการพบว่ามีสารหลายชนิดในน้ำแครนเบอร์รี่ที่สามารถลดจำนวนแบคทีเรียในกระเพาะอาหารได้ แต่ก็ไม่มีหลักฐานที่น่าเชื่อถือที่ระบุว่าการดื่มน้ำแคนเบอร์รี่ในระหว่างที่มีการติดเชื้อที่ระบบทางเดินปัสสาวะนั้นสามารถกำจัดการติดเชื้อหรือทำให้หายได้เร็วขึ้น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

การพักฟื้น

หลังจากที่เริ่มยาปฏิชีวนะ คุณควรจะรู้สึกดีขึ้นอย่างทันทีภายใน 2-3 วัน หากอาการยังคงไม่ดีขึ้นหลังทานยาให้ไปพบแพทย์

คุณจะต้องรับประทานยาปฏิชีวนะให้ครบตามที่แพทย์สั่งแม้ว่าจะรู้สึกดีขึ้นแล้วก็ตาม การหยุดยาก่อนนั้นจะทำให้เชื้อดื้อยานั้นเจริญเติบโตมากขึ้นได้

การป้องกันการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ

สิ่งที่สำคัญที่สุดในการป้องกันก็คือลดโอกาสที่แบคทีเรียนั้นจะเข้าสู่ทางเดินปัสสาวะ เช่น

  • อย่ากลั้นปัสสาวะ
  • ดื่มน้ำให้เพียงพอ ในคนส่วนมากมักจะหมายถึงดื่มเฉพาะเวลาที่หิวน้ำและในระหว่างอาหาร เวลาที่อากาศร้อนหรือต้องทำกิจกรรมในที่ที่มีอุณหภูมิสูงนั้นควรดื่มน้ำเพิ่มขึ้น สารน้ำทั้งหมดนั้นจะช่วยทำให้ร่างกายชุ่มชื้น
  • ในระหว่างที่เข้าห้องน้ำ ให้เช็ดจากหน้าไปหลัง
  • ดูแลให้บริเวณอวัยวะเพศนั้นสะอาดและแห้งอยู่เสมอ

ผลลัพธ์

การติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะในผู้ชายนั้นพบได้น้อยกว่าผู้หญิงแต่มีสาเหตุและการรักษาที่เหมือนกัน การรับประทานยาปฏิชีวนะมักจะสามารถกำจัดการติดเชื้อได้ภายใน 5-7 วัน ผู้ชายที่มีการติดเชื้อเป็นเวลานานหรือเป็นบ่อยๆ ควรได้รับการตรวจโดยแพทย์เพื่อหาสาเหตุเช่นการติดเชื้อที่ต่อมลูกหมากเป็นต้น

คำถาม : สามารถรักษาการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะที่บ้านโดยไม่ใช้ยาปฏิชีวนะได้หรือไม่

คำตอบ : ไม่แนะนำการพยายามรักษาเองที่บ้านโดยไม่ใช้ยาปฏิชีวนะ การติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะส่วนมากนั้นมักจะไม่หายหากไม่ได้มีการใช้ยาปฏิชีวนะ และการรักษาช้านั้นก็สามารถทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนเช่นการติดเชื้อที่ไตและติดเชื้อในกระแสงเลือดได้ หากคุณเชื่อว่าคุณมีการติดเชื้อที่ระบบทางเดินปัสสาวะ ควรไปพบแพทย์และทำการตรวจปัสสาวะทันทีหลังจากที่มีอาการ


22 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Urinary Tract Infections or UTIs: What to Know About Symptoms, Treatment, Prevention. Everyday Health. (https://www.everydayhealth.com/uti/guide/)
Urinary tract infection (UTI) in men: Symptoms, causes, and treatment. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/320872)
How to Prevent UTI: 9 Ways to Avoid a Urinary Tract Infection. Healthline. (https://www.healthline.com/health/how-to-prevent-uti)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)