โรคหลอดอาหารอักเสบ
ความหมาย เป็นภาวะที่หลอดอาหารอักเสบ ทำให้หลอดอาหารบวม แดงเป็นแผล ทะลุ หรือตีบในภายหลัง
สาเหตุ เกิดจากมีการสำลัก (Regurgitation) ของกรดในกระเพาะอาหารขึ้นมาทำลายเยื่อบุภายในหลอดอาหาร ทำให้หลอดอาหารบวมแดง เป็นแผลทะลุหรือตีบ ซึ่งทำให้ส่งผ่านอาหารไปไม่ได้
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
พยาธิสรีรภาพ เมื่อหลอดอาหารอักเสบในระยะแรก ๆ จะทำให้หลอดอาหารแคบลง โดยไม่พบแผลหรือการอักเสบ หากตัดชิ้นเนื้อบริเวณหลอดอาหารไปตรวจจะพบว่าเยื่อบุหลอดอาหารบางและหลอดเลือดขยายตัว ในระยะต่อมาจะพบมีรอยแดงเป็นแผลเปื่อยตื้น ๆ มีลักษณะเป็นแผลเรื้อรัง ในระยะต่อมาจะพบการอักเสบที่ชัดเจนขึ้น พบพังผืดและการหดรั้งและเกิดการตีบของหลอดอาหาร ต่อมาเกิดแผลทะลุ มีเลือดออกบริเวณเยื่อบุหลอดอาหาร
อาการ มีอาการแสบยอดอกหรือหลัง Sternum มักจะมีอาการขณะผู้ป่วยนอนราบหรือเบ่งอุจจาระ เป็นท่าที่มักทำให้กรดในกระเพาะอาหารสำลักขึ้นไปกัดเยื่อบุภายในหลอดอาหาร อาจมีเลือดออกจากการอักเสบ อ่อนเพลีย และอาจมีอาเจียนเป็นเลือด กลืนอาหารลำบาก ร่างกายจึงได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ ขาดอาหาร และอาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้
การวินิจฉัยโรค มีประวัติกินอาหารลำบาก มีอาการขย้อน ดื่มสารพิษ การดื่มหรือรับประทานของร้อนหรือดื่มสุราเป็นประจำ ลักษณะการปวด และอาการอื่น ๆ เช่น น้ำหนักลด เป็นต้น ตรวจร่างกายพบมีอาการซีด ซูบผอม ขาดอาหาร ตรวจเลือด CBC ตรวจหลอดอาหารด้วยการส่องกล้อง (Esophagoscopy) จะเห็นผนังหลอดอาหารมีรอยอักเสบเป็นแผลเปื่อย หรือมีพังผืดหรือหลอดอาหารหดรั้ง
การรักษา รักษาโดยให้งดน้ำและอาหาร ใส่ท่อจากจมูกลงสู่กระเพาะอาหาร และใช้เครื่องถ่างหลอดอาหาร แนะนำให้นอนศีรษะสูง ให้ยาลดกรดในกระเพาะอาหาร อาจต้องทำผ่าตัด ในกรณีมีไส้เลื่อน (Hiatus hernia)
การพยาบาล ดูแลผู้ป่วยให้ได้รับอาหารเพียงพอโดยงดอาหารและน้ำทางปากจนกว่าการอักเสบจะทุเลาลง เมื่อแพทย์อนุญาตให้รับประทานอาหารทางปากได้แล้ว จัดอาหารอ่อนหรือเหลวที่มีรสไม่จัด และมีคุณค่าทางโภชนาการสูง เช่น โจ๊ก ซุป ข้าวต้ม เป็นต้น ให้ทีละน้อยบ่อยครั้ง จัดท่าให้ผู้ป่วยนั่งศีรษะสูง ขณะรับประทานอาหารและนั่งพักสัก ครึ่งถึง 1 ชั่วโมง หลังรับประทานอาหารทุกมื้อ จัดอาหารเสริมให้ผู้ป่วยระหว่างมื้อ ชั่งน้ำหนักตัว ติดตามค่า albumin ในเลือด ให้ยาแก้ปวดหรือแก้อักเสบตามแผนการรักษา สังเกตลักษณะการรับประทานอาหารทางปากว่ามีการสำลักหรือไม่ หากมีต้องรีบรายงานให้แพทย์ทราบ เพราะอาจมีภาวะแทรกซ้อนจากการรั่ว ทะลุ ระหว่างหลอดอาหารกับหลอดลม
กดไหลย้อนเกิดจากสาเหตุอะไร