Eucerin
ชื่อผู้สนับสนุน
Eucerin

ฝ้า กระ เกิดจากอะไร มีกี่ประเภท รักษาหรือป้องกันได้อย่างไร?

ฝ้า กระ รอยด่างดำที่สร้างความกังวลใจให้หลายคน จะรักษาอย่างไร ครีมรักษาฝ้าที่มีประสิทธิภาพคืออะไร ป้องกันไม่ให้เกิดซ้ำได้ไหม?
เผยแพร่ครั้งแรก 27 ธ.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 ม.ค. 2023 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
ฝ้า กระ เกิดจากอะไร มีกี่ประเภท รักษาหรือป้องกันได้อย่างไร?

ฝ้า นับเป็นหนึ่งในปัญหาผิวหน้าที่เกิดขึ้นได้กับคนทั่วไป ทำให้ผิวหน้าที่เคยเรียบเนียนสวย เกิดเป็นรอยด่างดำ สีผิวไม่สม่ำเสมอ จนสร้างความกังวลใจให้ใครหลายคน ด้วยเหตุนี้บางคนจึงพยายามหาวิธีป้องกันหรือรักษาฝ้า กระ จุดด่างดำ เพื่อสร้างความมั่นใจให้ตัวเองอีกครั้ง แต่การจะป้องกันและรักษาได้นั้น ควรทำความรู้จักกับสาเหตุของการเกิดฝ้า กระ จุดด่างดำเสียก่อน เพื่อจะได้หาแนวทางในการรักษาที่จะช่วยลดฝ้า กระ และป้องกันได้ถูกจุด

ฝ้า กระ เกิดจากอะไร?

ฝ้า (Melasma) และ กระ (Freckles) เป็นปัญหาผิวหน้าที่เกิดจากสาเหตุเดียวกัน นั่นคือเซลล์เม็ดสีใต้ชั้นผิวหนังหรือเมลานิน (Melanin) ทำงานผิดปกติ ซึ่งมีตัวกระตุ้นที่สำคัญคือรังสีอัลตราไวโอเลตหรือรังสี UVเนื่องจากเมลานินมีหน้าที่กรองรังสี UV เมื่อผิวได้รับรังสี UV มาก เมลานินก็ถูกผลิตออกมามากตามไปด้วย ส่งผลให้ผิวมีสีคล้ำ หรือเกิดเป็นฝ้าหรือกระตามมา

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
จี้ไฝ กระ รักษาแผลเป็นคีลอยด์วันนี้ ที่คลินิกใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 192 บาท ลดสูงสุด 81%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

แต่นอกเหนือจากรังสี UV แล้ว ยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่กระตุ้นให้เกิดฝ้ากระ จุดด่างดำได้ด้วย ไม่ว่าจะเป็นความเครียด ยาบางชนิด หรือการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกาย เช่น วัยหมดประจำเดือน การตั้งครรภ์ ก็มีส่วนทำให้เกิดฝ้าได้เช่นกัน

ฝ้า กระ ต่างกันหรือไม่ อย่างไร?

ตามที่กล่าวไปข้างต้นว่า ฝ้าและกระมีสาเหตุการเกิดคล้ายคลึงกัน แต่สิ่งที่ทำให้ทั้งสองแตกต่างกันคือลักษณะภายนอก ดังนี้

  • ฝ้า มีลักษณะสำคัญคือ เป็นสีดำอมน้ำตาล ขึ้นเป็นแถบหรือเป็นปื้นบริเวณที่สัมผัสกับแสงแดดมาก เช่น หน้าผาก โหนกแก้ม หรือไรหนวด ซึ่งจะพบตั้งแต่ช่วงวัยรุ่นเป็นต้นไป
  • กระ มีลักษณะสำคัญคือ เป็นจุดเล็กๆ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน 3-4 มิลลิเมตร กระจายอยู่ตามผิวหนังบริเวณผิวหน้าและตามลำตัว โดยส่วนใหญ่จะพบมากในชาวยุโรปหรือผู้ที่มีผิวขาว เริ่มพบได้ตั้งแต่วัยเด็กและจะค่อยๆ มีปริมาณเพิ่มขึ้น รวมทั้งมีสีเข้มขึ้น

ฝ้า กระ มีกี่ประเภท?

ฝ้า กระ มีหลายประเภทซึ่งมีลักษณะแตกต่างกันออกไป โดยมีรายละเอียดดังนี้

ประเภทของฝ้า

สามารถแบ่งประเภทของฝ้าได้เป็น 4 ชนิดหลักๆ ได้แก่ ฝ้าตื้น ฝ้าลึก ฝ้าผสม และฝ้าที่ไม่สามารถแยกได้ว่าเป็นฝ้าชนิดใด โดยมีรายละเอียดดังนี้

  1. ฝ้าตื้น เกิดจากความผิดปกติบริเวณชั้นหนังกำพร้า มีลักษณะเป็นปื้นสีน้ำตาลเข้ม ขอบชัด เกิดขึ้นได้ง่าย แต่ก็รักษาได้ง่ายเช่นกัน โดยใช้เวลารักษาไม่นานนัก
  2. ฝ้าลึก เกิดบริเวณชั้นหนังแท้ ปื้นสีน้ำตาผสมสีเทาเข้ม ขอบไม่ชัดเจน เนื่องจากอยู่ในระดับที่ลึกมาก การรักษาจึงค่อนข้างยาก
  3. ฝ้าผสม มีทั้งฝ้าตื้นและฝ้าลึกเกิดขึ้นที่ผิวหน้า เป็นชนิดที่พบมากที่สุดในผู้ที่ประสบปัญหาฝ้า
  4. ฝ้าที่ไม่สามารถแยกได้ชัดเจนว่าเป็นฝ้าชนิดใด มักพบในผู้ที่สีผิวเข้มมาก เช่น ชาวแอฟริกัน เป็นต้น

ประเภทของกระ

สามารถแบ่งประเภทของกระ ได้เป็น 4 ชนิด คือ กระตื้น กระลึก กระแดด และกระเนื้อ

  1. กระตื้น มีลักษณะเป็นจุดสีน้ำตาลเล็กๆ มักพบบริเวณที่สัมผัสแดดมาก พบมากในชาวยุโรป
  2. กระลึก มีลักษณะเป็นจุดเล็กๆ หรือเป็นแผ่นสีน้ำตาล เทา ดำ ขอบไม่ชัด ลักษณะคล้ายฝ้า บ่อยในชาวเอเชีย โดยเฉพาะในคนญี่ปุ่น จีน และไทย
  3. กระแดด มีลักษณะเป็นจุดหรือปื้นเรียบๆ สีน้ำตาลหรือสีดำขนาดเล็ก ขอบชัด
  4. กระเนื้อ มีลักษณะเป็นตุ่มเล็กๆ สีน้ำตาลอ่อน หรือน้ำตาลเข้ม พบบริเวณใบหน้า ลำคอ หน้าอก หลัง กระชนิดนี้มีสาเหตุการเกิดที่ต่างจากกระประเภทอื่นๆ โดยเกิดจากผิวหนังชั้นหนังกำพร้าเจริญเติบโตมากผิดปกติ ซึ่งมีตัวกระตุ้นคือ แสงแดดและอายุที่มากขึ้น ทั้งนี้ยิ่งมีอายุมากขึ้น กระเนื้อก็จะมีขนาดใหญ่ขึ้นและจำนวนก็มากขึ้นด้วย

วิธีการรักษาฝ้า กระ อย่างตรงจุด

ทุกวันนี้มีนวัตกรรมความงามมากมายที่ช่วยรักษาหรือลดฝ้า กระได้อย่างมีประสิทธิภาพ วิธีการรักษาที่เป็นที่นิยมมี 2 วิธีหลักๆ คือ การเลเซอร์และการใช้ครีมรักษาฝ้า มีรายละเอียดดังนี้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
จี้ไฝ กระ รักษาแผลเป็นคีลอยด์วันนี้ ที่คลินิกใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 192 บาท ลดสูงสุด 81%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

  1. การเลเซอร์ฝ้า กระ เป็นการฉายเลเซอร์ไปยังบริเวณผิวหนังที่มีปัญหาฝ้าและกระ ซึ่งความร้อนจากเลเซอร์จะไปทำลายโปรตีนของเมลานิน ทำให้ฝ้า กระและรอยด่างดำต่างๆ จางลง ข้อดีของการเลเซอร์คือ สะดวก ทำต่อเนื่องประมาณ 4-6 ครั้งก็เห็นผล แต่ข้อเสียคือ ระหว่างการทำเลเซอร์อาจรู้สึกเจ็บเล็กน้อยและหลังจากเลเซอร์ผิวอาจมีรอยแดง มีการตกสะเก็ด แต่จะหลุดลอกภายใน 1 สัปดาห์
  2. การใช้ครีมรักษาฝ้า กระ นับเป็นอีกหนึ่งวิธีที่เป็นที่นิยม โดยครีมส่วนใหญ่จะมีคุณสมบัติช่วยผลัดเซลล์ผิวเก่า กระตุ้นให้เกิดการสร้างเซลล์ผิวใหม่ ทำให้ฝ้า กระ และจุดด่างดำ แลดูจางลงได้ แต่ข้อควรระวังคือ ควรเลือกซื้อครีมรักษาฝ้าที่ได้รับการรับรองมาตรฐานที่ชัดเจน น่าเชื่อถือเท่านั้น เพราะครีมรักษาฝ้าบางยี่ห้ออาจมีส่วนผสมของปรอท ซึ่งเป็นอันตรายต่อผิวหน้าและร่างกายอย่างรุนแรง ทำให้เกิดการแพ้ ผื่นแดง ผิวหน้าดำ เกิดฝ้าถาวร ผิวบางลง และหากใช้ติดต่อกันสารปรอทจะดูดซึมเข้าสู่กระแส โลหิต ทำให้ตับและไตอักเสบ เกิดโรคโลหิตจาง ทางเดินปัสสาวะอักเสบได้

ทั้งนี้ หนึ่งในผลิตภัณฑ์เวชสำอางที่มีการทดสอบแล้วว่ามีส่วนช่วยรักษาฝ้า กระ จุดด่างดำได้อย่างปลอดภัย คือ EUCERIN UltraWhite+ Spotless Double Booster Serum (30 ml. ราคา 2,100 บาท)

ผลิตภัณฑ์นี้มีส่วนผสมหลักคือ

  • สาร Thiamidol™ เอกสิทธิ์เฉพาะแบรนด์ ที่มีส่วนช่วยลดฝ้าแดดและลดเลือนจุดด่างดำลึกถึงต้นตอและป้องกันไม่ให้ฝ้ากลับมาขึ้นซ้ำ เป็นสารไวท์เทนนิ่งที่วารสารแพทย์ผิวหนังทั่วโลกให้การยอมรับ และพิสูจน์แล้วว่าสามารถลงลึกไปในชั้นผิว สามารถยับยั้งเอ็นไซม์ไทโรซิเนส (Tyrosinase) ซึ่งจะช่วยลดการผลิตเม็ดสีเมลานินได้ เข้าจัดการสาเหตุหลักได้ถึงต้นตอสำหรับการรักษาฝ้า กระ จุดด่างดำ อย่างมีประสิทธิภาพ
  • Hyaluron โมเลกุลเล็ก 40 เท่า จึงลงลึกสู่ผิวได้ดี มีส่วนช่วยบำรุงผิวให้ชุ่มชื้น เติมเต็มให้ผิวเด้ง อิ่มฟู จากภายใน
effective-melasma-and-freckles-treatment

ทั้งนี้ แพทย์ผิวหนังจากโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ได้นำผลิตภัณฑ์ยูเซอริน Ultrawhite+ Spotless Double Booster Serum ไปทดสอบในกลุ่มตัวอย่าง 23 คน ที่มีการใช้ผลิตภัณฑ์นี้อย่างต่อเนื่อง 12 สัปดาห์ พบว่าฝ้า กระและรอยด่างดำต่างๆ แลดูจางลงอย่างเห็นได้ชัด

วิธีการป้องกันฝ้า กระ ที่มีประสิทธิภาพ

ฝ้า กระ แม้ไม่ใช่ปัญหาร้ายแรง และสามารถรักษาให้หายได้ แต่หนทางที่ดีที่สุดคือการป้องกันฝ้า กระ ไม่ให้เกิดขึ้น โดยควรหลีกเลี่ยงปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดฝ้า กระ ดังนี้

  1. หลีกเลี่ยงการสัมผัสแสงแดดโดยตรงหรืออยู่กลางแจ้งเป็นเวลานาน แต่หากจำเป็นจริงๆ ควรสวมเสื้อผ้าปกคลุมผิวหนังทั้งบริเวณหน้าและร่างกายด้วย
  2. ทาครีมกันแดด SPF 40-50 PA +++ ขึ้นไปอย่างสม่ำเสมอ แม้ไม่ได้เผชิญแสงแดดก็ตาม เพราะแสงจากหลอดไฟ คอมพิวเตอร์และหน้าจอสมาร์ทโฟน ก็มีส่วนกระตุ้นให้เกิด ฝ้า กระ ได้เช่นกัน
  3. หลีกเลี่ยงการใช้ยาหรือฮอร์โมนเพศโดยไม่จำเป็น เพราะอาจมีผลข้างเคียงทำให้เป็นฝ้าหรือกระได้ หากจำเป็นควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชการถึงผลข้างเคียงของยาทุกครั้ง
  4. หลีกเลี่ยงการใช้เครื่องสำอางที่มีส่วนผสมของฮอร์โมนเพศ และหากใช้เครื่องสำอางแล้วพบว่ารู้สึกแสบหรือมีรอยดำขึ้นบริเวณใบหน้า ควรหยุดใช้เครื่องสำอางนั้นทันที เพราะอาจเกิดอาการแพ้ได้

การปรับพฤติกรรม หลีกเลี่ยงปัจจัยที่ทำให้เกิดฝ้า กระ นับเป็นหนึ่งในหนทางที่ช่วยลดฝ้า กระ ลงไปได้ แต่ขณะเดียวกัน หากผิวหน้ามีปัญหา ฝ้า กระขึ้นมาแล้ว ก็ควรรักษาอย่างเหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นการเลเซอร์ หรือการใช้ครีมรักษาฝ้า ซึ่งควรเลือกผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน มีผลการทดสอบที่ชัดเจน เพื่อประสิทธิภาพและความปลอดภัยสูงสุด


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
ไฝ กระ แผลเป็นคีลอยด์ รักษาอย่างไรดี? | HDmall (https://hdmall.co.th/c/how-to-treatment-mole-freckle-and-keloid-scar).
จี้ไฝ ขี้แมลงวัน เจ็บไหม แบบไหนควรเอาออก? | HDmall (https://hdmall.co.th/c/laser-mole-removal).
คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ฝ่ายเภสัชกรรม, อันตรายจากสารต้องห้ามในเครื่องสำอาง, (https://med.mahidol.ac.th/ramapharmacy/th/knowledge/general/04072016-2055-th).

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)