ภาวะบวมน้ำเหลือง คือ ภาวะที่มีการคั่งสะสมของน้ำเหลืองในชั้นใต้ผิวหนัง ทำให้มีอาการบวมของเนื้อเยื่อเรื้อรัง เคลื่อนไหวลำบาก ผิวหนังหนา แข็ง ตะปุ่มตะป่ำ และมีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อที่ผิวหนังมากกว่าปกติ ภาวะนี้จำเป็นต้องได้รับการดูแลรักษา เนื่องจากหากไม่รักษาอาการจะแย่ลงได้
บทนำ
ภาวะบวมน้ำเหลือง (Lymphoedema) เป็นภาวะที่มีการบวมของเนื้อเยื่อร่างกายเรื้อรัง (มีการคั่งสะสมของน้ำเหลืองในขั้นใต้ผิวหนัง) โดยสามารถมีอาการได้ทุกบริเวณของร่างกาย แต่มักมีอาการที่แขนและขา
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
อาการอื่นๆ ของภาวะบวมน้ำเหลือง ได้แก่ อาการปวด ความรู้สึกหนักตรงบริเวณที่เป็น และเคลื่อนไหวลำบาก
ภาวะบวมน้ำเหลืองสามารถมีอาการแย่ลงได้หากไม่ได้รับการรักษา ดังนั้นหากคุณคิดว่าคุณมีอาการบวมน้ำเหลือง คุณควรขอรับคำปรึกษาจากแพทย์
อะไรคือสาเหตุของภาวะบวมน้ำเหลือง
ภาวะบวมน้ำเหลืองเกิดขึ้นจากปัญหาที่เกิดขึ้นในระบบน้ำเหลือง (lymphatic system) ซึ่งเป็นเครือข่ายของท่อและต่อมน้ำเหลืองที่อยู่ภายในร่างกาย ระบบน้ำเหลืองมีหน้าที่หลักเพื่อช่วยในการต่อสู้กับการติดเชื้อ และช่วยระบายของเหลวส่วนเกินจากเนื้อเยื่อของร่างกาย
ความผิดปกติในการพัฒนาของระบบน้ำเหลือง, ระบบน้ำเหลืองได้รับความเสียหาย และ/หรือ มีการเพิ่มขึ้นของของเหลวภายในเนื้อเยื่อร่างกาย จะทำให้เกิดภาวะบวมน้ำเหลืองขึ้น
ภาวะบวมน้ำเหลืองแบ่งเป็น 2 ชนิดหลัก:
- ภาวะบวมน้ำเหลืองปฐมภูมิ (primary lymphoedema): เกิดขึ้นจากความผิดปกติของยีน ซึ่งส่งผลต่อการพัฒนาระบบน้ำเหลือง สามารถมีอาการได้ทุกช่วงอายุ แต่มักพบในช่วงต้นๆ ของวัยผู้ใหญ่
- ภาวะบวมน้ำเหลืองทุติยภูมิ (secondary lymphoedema): เกิดขึ้นเนื่องจากมีความเสียหายเกิดขึ้นที่ระบบน้ำเหลือง หรือเกิดปัญหาในการเคลื่อนที่และการระบายของเหลวภายในระบบน้ำเหลือง มักเกิดขึ้นจากการติดเชื้อ, การบาดเจ็บ, การรักษามะเร็ง, การอักเสบของแขนขา หรือการที่แขนขาขาดการเคลื่อนไหว
ใครบ้างที่จะได้รับผลกระทบ
ข้อมูลจากการศึกษาล่าสุดพบว่ามีคนมากกว่า 200,000 คนในสหราชอาณาจักร อาจป่วยเป็นภาวะบวมน้ำเหลืองนี้
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
- ภาวะบวมน้ำเหลืองทุติยภูมิพบได้ประมาณ 1 ใน 5 ของผู้หญิงที่ผ่านการรักษามะเร็งเต้านมมาแล้ว
- ภาวะบวมน้ำเหลืองปฐมภูมิจะพบได้น้อยกว่าภาวะบวมน้ำเหลืองทุติยภูมิ โดยคาดว่าพบประมาณ 1 คนใน 6,000 คน
จะรักษาภาวะบวมน้ำเหลืองได้อย่างไร
ไม่มีการรักษาภาวะบวมน้ำเหลืองให้หายขาด แต่ก็มีวิธีที่สามารถควบคุมอาการหลักๆ โดยการใช้เทคนิคเพื่อลดการสะสมของน้ำเหลืองและกระตุ้นการไหลเวียนของน้ำเหลืองภายในระบบน้ำเหลือง
เทคนิคก็คือ การสวมใส่ผ้ายืดที่มีแรงหดรัดที่บริเวณที่เป็น, การดูแลผิวหนังเป็นอย่างดี, เคลื่อนไหวร่างกายและออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ, รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และประพฤติตนตามหลักของการมีสุขภาพดี และใช้เทคนิคการนวดพิเศษเพื่อช่วยบรรเทาอาการ
ภาวะแทรกซ้อนที่จะเกิดขึ้น
การสะสมของน้ำเหลืองภายในเนื้อเยื่อของร่างกายในผู้ป่วยบวมน้ำเหลือง จะทำให้คนเหล่านั้นมีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อได้ง่ายกว่าคนทั่วไป
โดยการติดเชื้อแบคทีเรียที่ผิวหนัง (cellulitis) เป็นการติดเชื้อที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยบวมน้ำเหลือง
อาการของภาวะบวมน้ำเหลือง
อาการหลักของภาวะบวมน้ำเหลืองคือ มีการบวมทั้งหมด หรือบางส่วนของแขนขา หรือที่บริเวณอื่นๆ ของร่างกาย ทำให้มีปัญหาในการสวมใส่เสื้อผ้า เครื่องประดับ นาฬิกา เพราะจะรู้สึกคับกว่าปกติ
ตอนเริ่มแรก อาการบวมจะเป็นและหายได้เอง แต่อาการอาจแย่ลงระหว่างวันได้และอาการจะดีขึ้นในช่วงกลางคืน หากไม่ได้รับการรักษามักจะเป็นนานขึ้น และรุนแรงขึ้น
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
อาการอื่นๆ ที่เกิดขึ้นที่บริเวณที่มีอาการ ได้แก่:
- มีอาการปวด, รู้สึกหนักๆ หน่วงๆ
- เคลื่อนไหวลำบาก
- มีการติดเชื้อซ้ำๆ ที่ผิวหนัง
- ผิวหนังหนา และแข็ง
- มีพังผืดเกิดขึ้นในผิวหนัง
- ผิวหนังแข็งเป็นตะปุ่มตะป่ำ
- มีน้ำเหลืองซึมออกจากผิวหนัง
อาการจะเริ่มเกิดขึ้นเมื่อใดนั้น ขึ้นกับว่าอะไรคือสาเหตุของภาวะบวมน้ำเหลือง
หากภาวะบวมน้ำเหลืองเกิดขึ้นจากความผิดปกติในการพัฒนาระบบน้ำเหลือง (เครือข่ายภายในร่างกายที่ประกอบด้วยท่อและต่อมกระจายอยู่ทั่วร่างกาย ซึ่งทำหน้าที่กำจัดเชื้อแบคทีเรียและสิ่งแปลกปลอมออกจากร่างกาย) อาการจะเกิดขึ้นได้ทุกช่วงอายุ แต่มักพบบ่อยในช่วงวัยเด็ก วัยรุ่น และวัยผู้ใหญ่ตอนต้น
กรณีข้างต้น ผู้ป่วยอาจเริ่มมีอาการบวมที่ด้านใดด้านหนึ่งของร่างกายก่อน หลังจากนั้นอีกข้างจะบวมตามมาเมื่อเวลาผ่านไป โดยเฉพาะที่ขาส่วนล่าง
หากภาวะบวมน้ำเหลืองเกิดขึ้นจากความเสียหายที่ระบบน้ำเหลือง อาการสามารถเกิดขึ้นเวลาใดก็ได้ ตัวอย่างเช่น ระบบน้ำเหลืองได้รับความเสียหายจากการรักษามะเร็งเต้านม ภาวะบวมน้ำเหลืองอาจยังไม่เกิดขึ้นในช่วงหลายเดือนหรืออาจเป็นปีก็ได้
เมื่อไรควรไปพบแพทย์
หากคุณมีความเสี่ยงที่จะเป็นภาวะบวมน้ำเหลืองอันเนื่องมาจากการรักษาโรคมะเร็ง คุณอาจได้รับคำแนะนำให้ตรวจประเมินภาวะบวมน้ำเหลืองภายหลังการรักษามะเร็งแล้ว เพื่อดูว่าคุณมีภาวะบวมน้ำเหลืองเกิดขึ้นหรือไม่ หากคุณมีความกังวลใดๆ เกี่ยวกับภาวะนี้ ให้ปรึกษาแพทย์
หากคุณคิดว่าคุณเป็นภาวะบวมน้ำเหลืองโดยที่ไมได้เกิดขึ้นจากการรักษาโรคมะเร็ง ให้ไปพบแพทย์เพื่อขอคำปรึกษา
https://www.nhsinform.scot/illnesses-and-conditions/blood-and-lymph/lymphoedema#symptoms
https://www.nhsinform.scot/illnesses-and-conditions/blood-and-lymph/lymphoedema#symptoms