กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
นพ.ธนู โกมลไสย
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
นพ.ธนู โกมลไสย

ควรรู้อะไรก่อนการตัดสินใจเสพยา!

ยาเสพติดเป็นสิ่งผิดกฎหมาย ที่มีฤทธิ์ทำลายระบบต่างๆ ในร่างกายและสมองที่อาจทำให้เกิดอันตรายถึงขั้นเสียชีวิต ควรคิดให้ดีก่อนตัดสินใจเสพยา
เผยแพร่ครั้งแรก 20 ก.พ. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 22 ก.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
ควรรู้อะไรก่อนการตัดสินใจเสพยา!

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • ยาเสพติดเป็นสิ่งที่ผิดกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นในด้านของผู้เสพ มีไว้ในครอบครอง หรือเป็นผู้จัดจำหน่าย นอกจากจะทำให้เสียอนาคตแล้ว สารในยาเสพติดยังส่งผลกระทบต่อร่างกาย และเป็นอันตรายมากกว่าที่คิด
  • สารเคมีของยาเสพติดที่เข้าสู่สมอง ส่งผลต่อการทำงานสมองส่วนความคิด (Cerebral Cortex) และสมองส่วนอยาก (Limbic System) กระตุ้นให้หลั่งโดปามีน (Dopamine) หรือสารที่ทำให้เกิดความสุขมากขึ้นกว่าปกติ
  • เมื่อยาหมดฤทธิ์จะทำให้รู้สึกหงุดหงิด ซึมเศร้า ทำให้ต้องการเสพยาซ้ำไปเรื่อยๆ เพื่อตอบสนองต่อความต้องการ จนเกิดเป็นภาวะสมองติดยาได้
  • ผู้ที่เสพยาควรเข้ารับการบำบัดรักษาแบ่งเป็น 2 วิธีหลักๆ คือ พฤติกรรมบำบัด และเภสัชบำบัด
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสารเสพติด

การหาซื้อยาเสพติดไม่ใช่เรื่องที่ยากเกินไป ในบางครั้งคุณอาจพบว่า แม้แต่คนใกล้ตัวก็เสพยาเสพติด และชักชวนให้ลองเสพยาด้วยเหมือนกัน

อย่างไรก็ตาม ยาเสพติดเป็นสิ่งที่ผิดกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นในด้านของผู้เสพ มีไว้ในครอบครอง หรือเป็นผู้จัดจำหน่าย นอกจากจะทำให้เสียอนาคตแล้ว สารในยาเสพติดยังส่งผลกระทบต่อร่างกาย และเป็นอันตรายมากกว่าที่คิด

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ยาเสพติดออกฤทธิ์อย่างไร?

ยาเสพติดบางชนิดเป็นสารเคมี หรือมีสารประกอบของสารเคมีที่ส่งผลให้การทำงานของสมองและร่างกายทำงานผิดเพี้ยนไป

ถึงแม้ว่า ยาเสพติดบางชนิดจะเป็นยารักษาโรค แต่ก็ต้องได้รับการควบคุมการใช้อย่างใกล้ชิดโดยแพทย์ และส่วนใหญ่ไม่มีประโยชน์ใดๆ เลย

เมื่อเสพยาเสพติดเข้าร่างกายด้วยวิธีการรับประทาน สูดดม หรือการฉีดสารเข้าทางเส้นเลือด สารเคมีของยาเสพติดจะถูกส่งไปตามกระแสเลือดขึ้นสู่สมอง และอวัยวะส่วนต่างๆ ของร่างกาย

สารเคมีที่เข้าสู่สมองนั้นจะส่งผลต่อการทำงานสมองส่วนความคิด (Cerebral Cortex) และสมองส่วนอยาก (Limbic System) กระตุ้นให้หลั่งโดปามีน (Dopamine) หรือสารที่ทำให้เกิดความสุขมากขึ้นกว่าปกติ

อย่างไรก็ตาม เมื่อยาหมดฤทธิ์จะทำให้รู้สึกหงุดหงิด ซึมเศร้า ทำให้ต้องการเสพยาซ้ำไปเรื่อยๆ เพื่อตอบสนองต่อความต้องการ จนเกิดเป็นภาวะสมองติดยาได้

ด้วยเหตุผลต่างๆ เหล่านี้ สารเคมีจากยาเสพติดจึงส่งผลกระทบต่อสมรรถนะทางร่างกาย ระบบความคิด และการตัดสินใจ แม้แต่การดื่มแอลกอฮอล์ก็สามารถทำให้ผู้ดื่มตกอยู่ในสถานการณ์เสี่ยงได้ โดยเฉพาะการเกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ผลกระทบจากการเสพยาต่อสมอง

สารในยาเสพติดจะออกฤทธิ์ต่อสมองและระบบประสาทโดยตรง ซึ่งส่งผลให้เกิดการทำลายเซลล์สมองส่วนความคิดได้ ทำให้การใช้ความคิดที่เป็นเหตุเป็นผลเสียไปจนทำให้สมองส่วนอยากมีอิทธิพลเหนือสมองส่วนคิด โดยเฉพาะช่วงอาการอยากสารเสพติด

ผลกระทบจากการที่เซลล์สมองส่วนความคิดถูกทำลายคือ ผู้เสพยาจะทำอะไรตามใจมากกว่าเหตุผล เช่น ฉุนเฉียวง่าย มีพฤติกรรมก้าวร้าว ไม่สามารถควบคุมตัวเอง หรือขาดความยับยั้งชั่งใจ จนนำไปสู่ความรุนแรงในสังคมที่พบได้บ่อยๆ 

เช่น การปล้นจี้ ลักขโมย หรือทำร้ายร่างกายได้

ไม่เพียงเท่านั้น ผลกระทบจากยาเสพติดยังอาจทำให้เกิดอาการทางจิต มีหูแว่ว เห็นภาพหลอน จนกลายเป็นผู้ป่วยจิตเวช

สิ่งที่ผู้กำลังคิดจะลองเสพยาควรชั่งใจให้ดีก็คือ การเสพยาเพียงหนึ่งครั้งก็สามารถทำลายเซลล์สมองได้ และเป็นเรื่องยากที่จะสามารถบำบัดรักษาให้สมองฟื้นฟูกลับมาเป็นปกติเหมือนเดิม แม้ว่าจะเข้ารับการบำบัดอย่างรวดเร็วก็ตาม

หลายคนใช้ยาเสพติดเพราะเหตุใด?

เนื่องจากยาเสพติดนั้นมีหลายชนิดมาก จึงมีหลากหลายเหตุผลที่คนอยากทดลองเสพ เช่น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

  • เชื่อว่า การเสพยาจะทำให้พวกเขารู้สึกเคลิบเคลิ้ม มีความสุข
  • ใช้ยาเพราะอย่างน้อยช่วงเวลาที่เสพยาทำให้พวกเขารู้สึกดี คลายเครียด
  • มีอีกหลายคนที่ชักชวนเพื่อนให้เข้าสู่วงจรนี้ด้วย เนื่องจากพวกเขาไม่อยากเสพยาตามลำพัง
  • เสพยาเพื่อให้พวกเขาคิดงานออก มีไอเดียใหม่ๆ 
  • เสพยาเพื่อให้เป็นที่ยอมรับในกลุ่มเพื่อน หรืออาจได้รับความกดดันจากกลุมเพื่อน
  • อยากรู้ อยากลอง และคิดว่า เสพยาไม่กี่ครั้ง ไม่ทำให้ติดยา
  • เสพยาเพราะมีอาการซึมเศร้า และเชื่อว่า การเสพยาจะช่วยบรรเทาอาการดังกล่าวได้
  • เสพยาเพราะเครียด มีปัญหา 

ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดก็ตาม ยาจะช่วยบรรเทาอาการได้เพียงชั่วคราว และไม่ได้แก้ปัญหาได้จริง และเมื่อไม่ได้เสพยาพวกเขาจะกลับมามีอาการแย่ลง ทำให้ต้องใช้ยามากขึ้นเรื่อยๆ อีก 

ในส่วนของความเครียด มีวิธีแก้ปัญหามากมาย แตกต่างไปตามแต่ระดับความเครียดของแต่ละบุคคล การตรวจวิเคราะห์ความเครียด หรือปรึกษาจิตแพทย์ น่าจะเป็นหนึ่งในตัวเลือกที่ดีสำหรับผู้ตกอยูในสถานการณ์นี้ 

ตัวอย่างยาเสพติดให้โทษ

  • ยาคานิโทน หรือ Bath Salts
  • โคเคน
  • ยาแก้ไอและยาแก้หวัด
  • Crack หรือโคเคนสำหรับสูบ
  • ยากดประสาท
  • จีเอชบี (GHB)
  • เฮโรอีน
  • สารระเหย
  • ยาเค
  • แอลเอสดี (LSD)
  • ยาอี
  • กัญชา
  • เมทแอมเฟตามีน (Meth)
  • เห็ดเมา
  • พีซีพี (PCP)
  • ยาแก้ปวดกลุ่มโอปิออยด์
  • โรฮิปนอล
  • แซลเวีย

การเลิกยา และการรักษา

หากคิดว่า เพื่อนของคุณ หรือแม้แต่ตัวคุณเองกำลังติดยา แนะนำให้รีบปรึกษาผู้ปกครอง แพทย์ ครูที่ปรึกษา หรือพยาบาลเพราะ บุคคลเหล่านี้สามารถช่วยคุณได้

เนื่องจากมีการรักษาต่างๆ มากมายที่ถูกกำหนดมาเพื่อการรักษาอาการติดยา โดยการรักษามี 2 ลักษณะใหญ่ๆ คือ

  • พฤติกรรมบำบัด เป็นการบำบัดโดยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้ป่วย
  • เภสัชบำบัด เป็นการรักษาด้วยยา

ผู้เชี่ยวชาญ หรือนักบำบัดจะมีวิธีการรักษาให้ผู้ป่วยสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วยการไม่ต้องเสพยา เช่น การจัดการกับอาการลงแดง หรือการเลี่ยงสถานการณ์เสี่ยงต่อการกลับไปเสพยา 

การรักษาโดยการใช้ยาเพียงอย่างเดียวมักไม่ได้ผล นอกจากนี้การรักษาเพื่อเลิกยาเสพติดยังต้องใช้ระยะเวลานานในการรักษา

อาจไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะเลิกเสพยาได้โดยไม่ต้องพึ่งพาการบำบัดรักษา เนื่องจากต้องให้เวลากับตัวเอง และจำเป็นต้องได้รับการช่วยเหลือสนับสนุน หรือได้รับกำลังใจจากคนรอบข้าง

ดังนั้นเมื่อคุณ หรือเพื่อนติดยา ควรเข้ารับการรักษากับศูนย์บำบัดในพื้นที่ใกล้เคียง หรืออาจขอคำแนะนำเกี่ยวกับการรักษาจากแพทย์ หรือคนใกล้ชิด

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสารเสพติด จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกการอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


7 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
William Cloud; Robert Granfield (2001). Recovery from Addiction: A Practical Guide to Treatment, Self-Help, and Quitting on Your Own. NYU Press. p. 67. ISBN 978-0-8147-7276-8.
WebMD, 12 Illegal Street Drugs: Krokodil, Molly, Flakka, and More (https://www.webmd.com/mental-health/addiction/street-drugs-risks#1)
NHS (National Health Service), The effects of drugs (https://www.nhs.uk/live-well/healthy-body/the-effects-of-drugs/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
โคเคน (Cocaine)
โคเคน (Cocaine)

โคเคนคืออะไร อันตรายอย่างไรต่อร่างกาย แล้วควรหลีกเลี่ยงอย่างไร

อ่านเพิ่ม
วิธีเลิกยาเสพติดให้สำเร็จ
วิธีเลิกยาเสพติดให้สำเร็จ

เคล็ดลับการเลิกยาเสพติดให้สำเร็จ ทำอย่างไรให้ลาขาดจากยานรก

อ่านเพิ่ม