กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ระหว่างตั้งครรภ์ (DRINKING ALCOHOL WHILE PREGNANT)

เผยแพร่ครั้งแรก 26 ก.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ระหว่างตั้งครรภ์ (DRINKING ALCOHOL WHILE PREGNANT)

ผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์หรือนักวิจัยยังไม่สามารถหาคำตอบได้อย่างชัดเจนว่า เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ปริมาณเท่าใดจึงถือว่าปลอดภัยสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ ดังนั้นเพื่อความปลอดภัยต่อสุขภาพของคุณแม่เองและทารกในครรภ์ แพทย์แนะนำให้หยุดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ระหว่างตั้งครรภ์

การดื่มกับการตั้งครรภ์

กระทรวงสาธารณสุขแนะนำว่า คุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์หรือวางแผนที่จะตั้งครรภ์จำเป็นต้องหยุดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพื่อลดความเสี่ยงที่อาจส่งผลต่อทั้งตัวคุณแม่เองและทารกในครรภ์ เนื่องจากการดื่มระหว่างตั้งครรภ์อาจนำไปสู่ผลกระทบในระยะยาวต่อลูกน้อย นอกจากนี้ การยังคงดื่มสุราอยู่ระหว่างตั้งครรภ์จะส่งผลทำให้คุณแม่ติดสุราและอาจดื่มสุรามากขึ้นและถี่ขึ้นได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ฝากครรภ์ คลอดบุตรวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 79 บาท ลดสูงสุด 65%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

แอลกอฮอล์ส่งผลเสียต่อทารกในครรภ์อย่างไร?

เมื่อคุณแม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ มันจะถูกส่งจากเลือดสู่ลูกน้อยผ่านทางสายสะดือ กระบวนการดูดซึมแอลกอฮอล์ของลูกน้อยจะค่อยๆ เกิดขึ้น และการดูดซึมแอลกอฮอล์ของลูกน้อยจะส่งผลกระทบต่อพัฒนาการของระบบประสาทและอวัยวะต่างๆ ของเขา นอกจากนี้ ยังอาจส่งผลทำให้เกิดภาวะแท้งบุตรด้วย และการดื่มโดยเฉพาะในช่วง 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ เป็นการเพิ่มความเสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนดและทารกมีน้ำหนักต่ำน้อยกว่าเกณฑ์เมื่อคลอด การดื่มอย่างหนักระหว่างตั้งครรภ์อาจทำให้ลูกน้อยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะทางสุขภาพที่ร้ายแรงและส่งผลกระทบต่อพัฒนาการของลูกน้อย เรียกว่า กลุ่มอาการทารกในครรภ์ได้รับแอลกอฮอล์ (Fetal Alcohol Syndrome หรือ FAS) โดยมีกลุ่มอาการดังต่อไปนี้

  • เจริญเติบโตช้าผิดปกติ
  • มีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นโรคร้ายแรงที่เป็นมาแต่กำเนิด
  • มีใบหน้าผิดรูป
  • มีปัญหาเกี่ยวกับพัฒนาการการเรียนรู้และพฤติกรรม

ดังนั้นการดื่มในปริมาณที่น้อยกว่าก็จะลดโอกาสเสี่ยงต่อกลุ่มอาการทารกในครรภ์ได้รับแอลกอฮอล์ลงด้วย เรียกภาวะเช่นนี้ว่า ความผิดปกติของทารกที่เกิดจากการที่คุณแม่ดื่มแอลกอฮอล์ขณะตั้งครรภ์ ซึ่งอัตราความเสี่ยงต่อภาวะดังกล่าวจะขึ้นอยู่กับปริมาณแอลกอฮอล์ที่ดื่มเข้าไป

แล้วคุณแม่จะหลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ได้อย่างไร? 

อาจไม่ได้เป็นเรื่องยากอย่างที่คิดที่คุณต้องหยุดดื่มไปกว่า 9 เดือน นั่นเพราะกลไกธรรมชาติของร่างกายจะส่งผลทำให้คุณไม่อยากดื่มแอลกอฮอล์ไปได้เองตั้งแต่ช่วงแรกของการตั้งครรภ์ และคุณแม่หลายคนหยุดดื่มได้ทันทีที่ทราบวันตนตั้งครรภ์หรือกำลังวางแผนที่จะตั้งครรภ์ นั่นอาจเป็นเพราะสันชาติญานความเป็นแม่ที่ต้องการปกป้องลูกน้อย!

แต่หากคุณแม่เผลอดื่มไปโดยที่ไม่ทราบว่าตนกำลังเริ่มตั้งครรภ์ เมื่อทราบแล้วต้องหยุดดื่มทันที และหากคุณแม่ยังวิตกกังวล แนะนำให้ปรึกษาแพทย์หรือสูตินรีแพทย์

ดื่มมาตรฐานคืออะไร?

หากคุณแม่ยังยืนกรานที่จะดื่มต่อไปในระหว่างที่กำลังตั้งครรภ์ คุณแม่จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องรู้ว่าปริมาณดื่มมาตรฐานเท่าใดเป็นระดับที่ปลอดภัย โดย 1 ดื่มมาตรฐานจะเทียบเท่ากับปริมาณแอลกอฮอล์บริสุทธิ์ 10 มล. หรือ 8 กรัม ซึ่งเทียเท่ากับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ต่อไปนี้

  • เบียร์สดหรือเหล้าผลไม้ครึ่งไพนต์ที่มีความเข้มข้นของแอลกอฮอล์อยู่ที่ 3.5%
  • ไวน์ครึ่งแก้วมาตรฐานปริมาณ 175 มล. ที่มีความเข้มข้นของแอลกอฮอล์อยู่ที่ 11.5%
  • สุรากลั่นปริมาณ 25 มล. อย่างวิสกี้ เหล้ายิน รัม หรือวอดก้า ที่มีความเข้มข้นของแอลกอฮอล์อยู่ที่ 40%

หน่วยงานที่ให้การช่วยเหลือผู้ติดสุรา 

หากคุณแม่กำลังเจอปัญหาเรื่องการเลิกดื่มสุรา แนะนำให้ปรึกษาแพทย์ สูตินรีแพทย์ หรือเภสัชกร เพื่อขอคำแนะนำเกี่ยวกับการขอความช่วยเหลือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง แน่นอนที่หลายหน่วยงานสามารถให้คำปรึกษาโดยเก็บข้อมูลของคุณไว้เป็นความลับซึ่งสามารถขอรับการช่วยเหลือได้จากหน่วยงานในท้องถิ่น ดังนี้

  • สำนักงานคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข โทร. 0-2590-3342, 0-2590-3035 หรือ http://www.thaiantialcohol.com...
  • สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) โทร. 0-2343-1500 หรือ http://www.thaihealth.or.th/
  • ศูนย์ปรึกษาปัญหาสุรา สายด่วน 1413 หรือ http://www.1413.in.th/
  • มูลนิธิรณรงค์ช่วยให้เลิกบุหรี่และสารเสพติด โทร. 0-2807-6477 และสายด่วน 08-1921-1479 หรือ http://www.saf.or.th/
  • สถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี หรือ สถาบันธัญญารักษ์
  • สายด่วน 1165 หรือ http://www.pmnidat.go.th
  • โรงพยาบาลและสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศ

5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Alcohol and pregnancy. MedlinePlus. (https://medlineplus.gov/ency/article/007454.htm)
Drinking alcohol while pregnant. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/conditions/pregnancy-and-baby/alcohol-medicines-drugs-pregnant/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป