กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
ทีมแพทย์ HD
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
ทีมแพทย์ HD

ติดเชื้อ HIV จากการรับเลือดได้จริงหรือ? มีโอกาสรับได้รับเชื้ออื่นๆ อีกหรือไม่?

เรามีโอกาสติดเชื้อ HIV จากการรับบริจาคเลือดได้หรือไม่ นอกจากเชื้อเอชไอวี ยังสามารถติดเชื้ออื่นๆ ได้อีกหรือเปล่า
เผยแพร่ครั้งแรก 12 พ.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 13 ส.ค. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 20 ส.ค. 2019 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
ติดเชื้อ HIV จากการรับเลือดได้จริงหรือ? มีโอกาสรับได้รับเชื้ออื่นๆ อีกหรือไม่?

จากกรณีที่มีผู้ป่วยชายรายหนึ่งออกมาเปิดเผยว่า ป่วยเป็นโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว จึงเข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่งตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 หรือราว 15 ปีก่อน แต่ภายหลังกลับตรวจพบว่าติดเชื้อ HIV จากการรับเลือดจากโรงพยาบาลดังกล่าว จึงเกิดข้อสงสัยว่า การรับเลือดจากโรงพยาบาลนั้นมีความปลอดภัยมากน้อยแค่ไหน เพราะอะไรจึงมีเชื้อหลุดรอดมาได้ และนอกจากเชื้อ HIV แล้ว ยังมีความเสี่ยงในการได้รับเชื้ออื่นๆ ได้อีกหรือไม่ เราจะไขข้อข้องใจให้ทราบกัน

ทั้งนี้หลังจากที่มีการนำเสนอข่าวดังกล่าว ในรายการไทยรัฐนิวส์โชว์ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ได้ออกแถลงการณ์เพื่อชี้แจงรายละเอียดว่า บุคคลในภาพข่าวนั้นเป็นผู้ป่วยของโรงพยาบาล และโรงพยาบาลได้รับผู้ป่วยดังกล่าวเข้ารับการรักษาอาการโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวจริง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

แต่อย่างไรก็ตามโรงพยาบาลก็ได้มีการชี้แจ้งเพิ่มเติมว่า โรงพยาบาลก็มีข้อปฏิบัติในการให้เลือด โดยรับเลือดจากศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย ซึ่งเป็นสถาบันที่มีมาตรฐานในการคัดเลือกและตรวจสอบเลือดผู้บริจาคตามมาตรฐานระดับประเทศและระดับสากล

ทั้งนี้วิธีการตรวจเลือดผู้บริจาคทางห้องปฏิบัติการนั้นมี 2 รูปแบบ

  1. การตรวจทางห้องปฏิบัติการด้วยวิธีโซโรโลยี (Serology) หมายถึงการตรวจหาแอนติบอดี (ภูมิคุ้มกันที่ร่างกายคนสร้างขึ้น เพื่อต่อต้านเชื้อโรค) และแอนติเจน (โปรตีนจำเพาะของเชื้อ)
  2. ตรวจด้วยวิธี Nucleic acid amplification test (NAT) คือการตรวจหา DNA ของเชื้อไวรัสโดยตรง นับว่าเป็นวิธีที่ดีที่สุดและแม่นยำที่สุดในปัจจุบัน

แม้ว่ากระบวนการตรวจจะแม่นยำเพียงใด ก็ยังไม่สามารถยืนยันได้ว่า จะคัดกรองเชื้อต่างๆ ได้ 100% เพราะเมื่อผู้ป่วยได้รับเชื้อแล้วจะมีระยะที่ไม่สามารถตรวจพบโรคได้ เรียกว่า ระยะวินโดว์ หรือ Window Period

ทั้งนี้เชื้อ HIV มีข้อจำกัดคือจะตรวจเจอเชื้อได้เร็วที่สุดโดยเฉลี่ยประมาณ 11 วัน สำหรับวิธี NAT และ 22 วัน สำหรับวิธี serology เพราะต้องรอให้เชื้อแบ่งตัวหรือเพิ่มปริมาณในร่างกายก่อน ดังนั้นหากผู้บริจาคเลือดได้รับเชื้อและมาบริจาคเลือดก่อนครบ 11 วัน จะไม่สามารถตรวจพบเชื้อได้ จึงทำให้มีโอกาสที่ผู้ป่วยที่ได้รับเลือด ติดเชื้อ HIV ได้

ตรวจเลือดหลังช่วง Window Period ได้หรือไม่?

อย่างไรก็ตาม อาจมีข้อสงสัยว่า เมื่อเรารับเลือดมาแล้ว สามารถทิ้งระยะเวลาการตรวจคัดกรองให้ผ่านช่วง Window Period ไปก่อนได้หรือไม่

คำตอบคือไม่ได้ เนื่องจากเมื่อนำเลือดออกมาจากร่างกายแล้วต้องเก็บที่อุณหภูมิ 4°C ซึ่งไม่เหมาะแก่การแบ่งตัวของเชื้อไวรัส จึงทำให้ตรวจไม่พบ นอกจากนี้ สารพันธุกรรมของไวรัสสามารถอยู่ได้เพียง 168 ชั่วโมง (7 วัน) เมื่อเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 4°C และเพียง 72 ชั่วโมง (3 วัน) เมื่อเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 25°C

รับบริจาคเลือด มีโอกาสติดเชื้ออื่นๆ อีกหรือไม่?

เชื้อที่สามารถติดต่อทางการให้เลือดมีหลายชนิด ดังนี้

  • เชื้อไวรัส HIV
  • เชื้อไวรัสตับอักเสบบีและซี
  • เชื้อไวรัส Cytomegalovirus (CMV)
  • เชื้อไวรัส Epstein-Barr (EBV)
  • เชื้อไวรัส Human herpesvirus 6 (HHV-6)
  • เชื้อมาลาเรีย
  • เชื้อซิฟิลิส
  • เชื้อแบคทีเรียอื่นๆ

ทั้งนี้ระยะเวลา Window Period ของเชื้อแต่ละชนิดก็จะแตกต่างกันไป เช่น ไวรัสตับอักเสบซี มีระยะ 82 วัน ไวรัสตับอักเสบบี มีระยะ 60 วัน เป็นต้น (ใช้วิธีการตรวจแบบ Serology)

จะเห็นได้ว่าแม้จะมีเทคโนโลยีในการตรวจคัดกรองเชื้อที่แม่นยำเพียงใด แต่สิ่งสำคัญที่สุดคือ ความซื่อสัตย์ของผู้บริจาคเลือด ที่จะต้องให้ข้อมูลที่ถูกต้องตั้งแต่การซักประวัติ เพื่อมั่นใจจริงๆ ว่าตนเองไม่ได้มีเชื้อใดๆ ติดตัวมาก่อนเข้ารับการบริจาคเลือด เพราะอาจทำให้ผู้ที่ได้รับเลือดจากคุณ มีโอกาสเสี่ยงที่จะติดโรคไปตลอดชีวิตได้


6 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
ภัทรพร อิศรางกูร ณ อยุธยา, ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล กรุงเทพฯ, ทำอย่างไรผู้รับเลือดจึงจะเสี่ยงต่อการติดเชื้อน้อยที่สุดสำหรับสถานการณ์ปัจจุบัน (http://www.tsh.or.th/file_upload/files/v1%20n1%20007(1).pdf), January 1991
ทวีศักดิ์ ตีระวัฒนพงษ์, ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์, บทความพิเศษ Nucleic Acid Amplification Technology in Blood Donor Screening (http://www.tsh.or.th/file_upload/files/vol15-3%2009%20Nucleic%20acid%20amplification%20technology.pdf), 2 April 2005
ไทยรัฐออนไลน์, รพ.ดัง เสียใจหนุ่มรักษาลูคีเมีย ติดเชื้อเอชไอวี ยันจะดูแลอย่างดีที่สุด (https://www.thairath.co.th/news/local/bangkok/1564460), 9 May 2019

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป