อันตราย! เบาหวานภัยร้ายที่มาพร้อมพฤติกรรม

เผยแพร่ครั้งแรก 28 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
อันตราย! เบาหวานภัยร้ายที่มาพร้อมพฤติกรรม

ปัจจุบันคนไทยจำนวนมากมีรูปแบบการดำเนินชีวิตเปลี่ยนไปจากเดิม กล่าวคือชอบรับประทานอาหารฟาสต์ฟูดที่มีไขมันสูง ดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของน้ำตาลมาก ทำให้ป่วยเป็นโรคเบาหวาน โรคนี้เกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย และจะก่อให้เกิดโรคอื่นตามมา ส่งผลให้บั่นทอนคุณภาพชีวิตผู้ป่วย

โรคเบาหวานเกิดได้จากหลายสาเหตุ

  1. เรื่องของพันธุกรรม โรคเบาหวานเป็นโรคที่สามารถสืบทอดทางพันธุกรรมได้ กล่าวคือผู้ป่วยส่วนหนึ่งมีบิดา มารดา หรือบรรพบุรุษเป็นโรคเบาหวานมาก่อน
  2. ความผิดปกติของตับอ่อน เป็นสาเหตุที่พบมากของคนไทย ตับอ่อนมีหน้าที่หลักคือผลิตฮอร์โมนชื่อว่าอินซูลิน ซึ่งมีหน้าที่ย่อยน้ำตาล และนำน้ำตาลที่ย่อยได้ไปเป็นพลังงานให้แก่เซล ในอวัยวะ รวมทั้งรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในระดับสมดุล เมื่อร่างกายมีอินซูลินน้อยปริมาณน้ำตาลก็จะมาก จนกระทั่งเกิดโรคเบาหวาน ซึ่งความผิดปกติของตับอ่อนที่ว่านี้ อาจเกิดจากการที่ร่างกาย ได้รับสารบางตัวมากจนไปทำลายเซลของตับอ่อน เช่นแอลกอฮอล์หรือสารบางตัวจากไขมัน นอกจากนี้อาจเกิดจากความผิดปกติของตับมาตั้งแต่กำเนิดของผู้ป่วยก็ได้
  3. โรคอ้วน คนที่น้ำหนักตัวมากจะมีภาวะความสี่ยงที่จะเป็นโรคเบาหวานสูงกว่าคนผอม เพราะไขมันบางตัวจะไปทำลายอินซูลิน
  4. อายุของผู้ป่วย อวัยวะภายในของคนเราก็จะต้องเสื่อมไปตามวัย รวมทั้งตับอ่อนเช่นกัน การผลิตฮอร์โมนอินซูลินก็จะน้อยลง จนกระทั่งเกิดโรคเบาหวานในที่สุด

อาการโรคเบาหวาน

เนื่องจากอินซูลินในร่างกายผู้ป่วยบกพร่อง ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูง ไตจะพยายามปรับตัวโดยการดึงน้ำจากเลือดมาทำให้ระดับน้ำตาลเจือจางลง แล้วขับออกจากร่างกายส่งผลให้เกิดอาการดังนี้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

  1. กระหายน้ำบ่อย ผู้ป่วยจะคอแห้ง ดื่มน้ำบ่อยเพื่อชดเชยน้ำที่สูญเสียไป
  2. เมื่อไตขับน้ำออกจากร่างกายมาก ผู้ป่วยก็จะปัสสาวะบ่อย และสามารถสังเกตว่าน้ำปัสสาวะมีฟองมาก
  3. ผิวหนังแห้ง จนกระทั่งเกิดอาการคันตามร่างกาย บางรายอาจมีมดขึ้นที่ผิวหนัง
  4. หิวบ่อย เหนื่อยง่าย ผู้ป่วยจะกินจุ เนื่องจากอินซูลินน้อย จนย่อยน้ำตาลเป็นกลูโคสไปเลี้ยงเซลของอวัยวะในร่างกายไม่ได้ ทำให้ผู้ป่วยอ่อนเพลีย ร่างกายจะปรับตัวให้เกิดอาการหิว
  5. ชาตามปลายมือ ปลายเท้า อันเนื่องมาจากปลายประสาทโดนทำลาย จากภาวะน้ำตาลในเลือดสูง บางรายอาจหมดความรู้สึก เพราะหลอดเลือดแข็งตัว ไม่มีเลือดไปเลี้ยง
  6. เป็นแผลหายช้า สำหรับคนปกติจะใช้เวลาประมาณสองสัปดาห์แต่ผู้ป่วยจะใช้เวลามากกว่านั้น
บทความ > <a href='https://hd.co.th/diabetes-symptoms-diagnosis-management-treatment' target='_blank'>โรคเบาหวาน</a> [Engine by iGetWeb.com]

การตรวจรักษา

สำหรับการตรวจนั้น แพทย์จะกำหนดให้ผู้ที่สงสัยว่าจะเป็นโรคเบาหวานหรือไม่นั้น งดอาหารเช้าและน้ำดื่ม เพื่อเจาะเลือดหาปริมาณน้ำตาลที่ละลายอยู่ เป็นวิธีการวินิจฉัยว่าเป็นผู้ป่วยโรคบาหวาน โดยที่มีเกณฑ์วัดว่า ปริมาณน้ำตาลในเลือดสูงเกินกว่า 126 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ นั้นเป็นโรคเบาหวาน ส่วนการรักษา ขึ้นอยู่กับระดับของความรุนแรงของผู้ป่วย แพทย์จะใช้วิธีการให้ยา ในผู้ป่วยที่มีอาการเบื้องต้น จนกระทั่งการใช้ยาฉีดอินซูลินเข้ากระแสเลือด สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการขั้นรุนแรงนอกจากนี้ยาสมุนไพรบางตัว เป็นต้นว่า น้ำมะละคั้น หนึ่งแก้วผสมกับน้ำมะขามป้อมหนึ่งช้อนชา ดื่มทุกเช้าจะทำให้ผู้ป่วยเบาหวานมีอาการดีขึ้น

การป้องกันเบาหวาน

ด้านพฤติกรรมการบริโภค เรื่องนี้ขึ้นอยู่กับสภาพร่างกาย และพฤติกรรมการกินของผู้ป่วยเอง กล่าวคือเราหลีกเลี่ยงอาหารหวาน รวมทั้งเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลเป็นส่วนประกอบ ก็จะเป็นวิธีที่สามารถป้องกันโรคเบาหวานได้เป็นอย่างดี แต่ในทางปฏิบัตินั้นเป็นเรื่องยาก เพราะความรู้สึกของแต่ละคนมีการเสพติดความหวานแตกต่างกัน บางคนเกิดความรู้สึกว่าหวานจากการเติมน้ำตาลเพียงเล็กน้อย ในทางตรงกันข้ามอีกคนก็เริ่มเกิดความรู้สึกว่าหวาน เมื่อเติมน้ำตาลเข้าไปในอาหาร เป็นปริมาณที่มากแล้ว เราลองหาวิธีลดพฤติกรรมการกินหวานของเรา โดยวิธีลดการดื่มเครื่องดื่มโปรดที่มีน้ำตาลเป็นส่วนประกอบลงครึ่งหนึ่งจากปริมาณการดื่มปกติโดยดื่มเพียงครึ่งเดียวแล้วทิ้งส่วนที่เหลือไป และค่อย ๆลดปริมาณน้ำตาลในการปรุงอาหารลงทีละน้อย ในแต่ละครั้งที่ปรุงรสอาหาร จนกระทั่งปมประสาทรับรู้รสหวานของเราเกิดความเคยชิน เพื่อลดปริมาณน้ำตาลที่จะเข้าไปในร่างกาย เป็นวิธีป้องกันโรคเบาหวานได้อีกวิธีหนึ่ง

ด้านพฤติกรรมการรักษาสุขภาพ โดยการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมออย่างน้อยสัปดาห์ละสามครั้ง ครั้งละไม่ต่ำกว่าครึ่งชั่วโมง จะทำให้ร่างกายเผาผลาญไขมันบางตัวที่จะไปทำลายอินซูลิน และเป็นการควบคุมน้ำหนักตัวเป็นอย่างดี


10 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
10 Bad Habits That Raise Your Diabetes Risk. Everyday Health. (https://www.everydayhealth.com/type-2-diabetes/bad-habits-that-raise-your-diabetes-risk/)
Domestic Violence and Aggressive Behavior With Diabetes. Verywell Health. (https://www.verywellhealth.com/is-anger-at-a-spouse-normal-with-diabetes-1087327)
Diabetes and mood swings: Effects on relationships and lifestyle tips. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/317458)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)