กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

พัฒนาการของทารกในครรภ์ ช่วงอายุ 1-2 เดือน

ในช่วงอายุครรภ์ 1-2 เดือนแรก ทารกจะมีการเจริญเติบโตอย่างไรบ้างในแต่ละสัปดาห์?
เผยแพร่ครั้งแรก 23 มี.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
พัฒนาการของทารกในครรภ์ ช่วงอายุ 1-2 เดือน

โดยทั่วไปแล้ว การตั้งครรภ์มักเกิดขึ้นประมาณ 2 สัปดาห์หลังจากที่คุณมีประจำเดือนครั้งสุดท้าย หรือประมาณช่วงที่ไข่ตก ในช่วง 4 สัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์ คุณอาจไม่สังเกตเห็นอาการใดๆ ยกเว้นเรื่องประจำเดือนขาด หลายคนจึงอาจไม่รู้ตัวมาก่อนว่าตั้งครรภ์ จนกว่าจะมีอาการแพ้ท้อง หรืออาการผิดปกติเพิ่มเติม

ช่วงสัปดาห์ที่ 3

สัปดาห์ของการตั้งครรภ์จะเริ่มนับตั้งแต่วันที่คุณมีประจำเดือนครั้งสุดท้าย ซึ่งไข่จะถูกปล่อยออกมาประมาณสัปดาห์ที่ 2 หลังจากวันแรกของการมีประจำเดือน (ขึ้นอยู่กับความยาวของรอบเดือน)

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ในระหว่างสัปดาห์ที่ 3 หลังจากวันแรกของการมีประจำเดือนครั้งสุดท้าย ไข่ที่ได้รับการปฏิสนธิแล้ว จะเคลื่อนออกมาจากท่อนำไข่ไปยังมดลูก เริ่มต้นไข่จะมีเพียงเซลล์เดียว แต่จะเกิดการแบ่งตัวจนมีเซลล์มากกว่า 100 เซลล์ ซึ่งจะเรียกว่า เอมบริโอ จากนั้นเอมบริโอจะฝังตัวที่ผนังของมดลูก

สัปดาห์ที่ 4

ในช่วงสัปดาห์ที่ 4 ของการตั้งครรภ์ เอมบริโอจะเติบโตและพัฒนาภายในผนังของมดลูก เซลล์ภายนอกจะเริ่มเชื่อมต่อกับหลอดเลือดของแม่ ส่วนเซลล์ภายในจะรวมตัวเป็น 2 ชั้น และ 3 ชั้นในเวลาต่อมา เซลล์เหล่านี้แต่ละชั้นจะเติบโตเป็นส่วนต่างๆ ของร่างกายของทารก

ชั้นด้านในหรือที่เรียกว่า Endoderm จะกลายเป็นระบบทางเดินหายใจและระบบย่อยอาหาร ซึ่งรวมถึงหัวใจ เส้นเลือด กล้ามเนื้อ และกระดูก ส่วนชั้นด้านนอกจะเรียกว่า Ectoderm ซึ่งสุดท้ายจะพัฒนากลายเป็นสมองและระบบประสาท เลนส์ตา สารเคลือบฟัน ผิวหนัง และเล็บ

ในช่วงสัปดาห์แรกๆ ของการตั้งครรภ์ เอมบริโอจะอยู่ติดกับถุงไข่แดงเล็กๆ ซึ่งเป็นแหล่งอาหารของเอมบริโอ หลังจากนั้นไม่กี่สัปดาห์ รกจะถูกสร้างขึ้นอย่างสมบูรณ์ และจะเป็นส่วนที่ลำเลียงอาหารไปยังเอมบริโอที่ถูกห้อมล้อมไปด้วยของเหลวภายในถุงน้ำคร่ำ เซลล์จากรกจะเติบโตภายในผนังของมดลูก ทำให้มีการลำเลียงเลือด เด็กจะได้รับออกซิเจนและสารอาหารที่จำเป็นจากรก

สัปดาห์ที่่ 5

สัปดาห์ที่ 5 ของการตั้งครรภ์ เป็นเวลาของการขาดประจำเดือนครั้งแรก ผู้หญิงส่วนใหญ่จะคิดว่าตัวเองอาจตั้งครรภ์ในช่วงนี้ ซึ่งระบบประสาทของทารกได้พัฒนาขึ้นแล้ว และอวัยวะสำคัญๆ ที่เป็นอวัยวะพื้นฐานก็เจริญเติบโตแล้วเช่นกัน ระยะนี้เอมบริโอจะมีความยาวประมาณ 2 มิลลิเมตร ในขณะที่ Ectoderm พัฒนาขึ้น จะมีการสร้างหลอดประสาท (Neural Tube) ซึ่งจะกลายเป็นสมองและไขสันหลังของทารก

หากส่วนท้ายสุดของหลอดประสาทผิดปกติ จากการที่ผู้หญิงไม่ได้รับกรดโฟลิกอย่างเพียงพอ ก็สามารถทำให้กระดูกไขสันหลังบกพร่อง ในขณะที่ความผิดปกติที่เกิดขึ้นบริเวณส่วนต้นของหลอดประสาทจะทำให้เกิดโรค Anencephaly

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

หัวใจก็จะถูกสร้างขึ้นมาโดยมีโครงสร้างเหมือนท่อในช่วงนี้ เด็กจะมีเส้นเลือดของตัวเองแล้ว และเลือดจะเริ่มไหลเวียนไปยังส่วนต่างๆ ซึ่งเส้นเลือดเหล่านี้จะเชื่อมต่อทารกและแม่และจะกลายเป็นสายสะดือ

สัปดาห์ที่ 6

เมื่อคุณตั้งครรภ์ได้ 6 สัปดาห์ จะมีก้อนขนาดใหญ่เกิดขึ้นที่บริเวณหัวใจและส่วนต้นของหลอดประสาท ซึ่งจะพัฒนากลายเป็นสมองและศีรษะ เอมบริโอจะมีลักษณะโค้งและมีหางเหมือนลูกอ๊อด บางครั้งอาจเห็นหัวใจของเด็กเต้น หากตรวจอัลตราซาวด์ผ่านทางช่องคลอดในช่วงเวลานี้

แขนและขาที่กำลังเติบโตจะกลายเป็น Limb Buds ในขณะที่รอยบุ๋มเล็กๆ ที่ด้านข้างของศีรษะจะกลายเป็นใบหู และบริเวณที่จะพัฒนาเป็นดวงตาจะหนาขึ้น ซึ่งตอนนี้เอมบริโอจะถูกปกคลุมไปด้วยผิวหนังบางๆ ที่สามารถมองทะลุได้

สัปดาห์ที่ 7

เอมบริโอจะเติบโตจนมีขนาดประมาณ 10 มิลลิเมตร นับตั้งแต่ศีรษะมายังก้น สมองจะเติบโตอย่างรวดเร็ว กว่าส่วนอื่นๆ ของร่างกาย เอมบริโอจะมีหน้าผากขนาดใหญ่ ดวงตาและหูจะพัฒนาต่อไป หูชั้นในจะเริ่มเติบโต แต่หูชั้นนอกที่ด้านข้างของศีรษะจะยังไม่ปรากฏในช่วงเวลานี้

Limb Buds จะเริ่มก่อตัวเป็นกระดูกอ่อน ซึ่งจะพัฒนาในกระดูกขาและแขน Arm Buds จะยาวขึ้น โดยมีส่วนปลายแบนเพื่อพัฒนาไปเป็นมือ นอกจากนี้เซลล์ประสาทจะเริ่มแบ่งตัว และพัฒนาจนกลายเป็นระบบประสาท

สัปดาห์ที่ 8

เมื่อคุณมีอายุครรภ์ 8 สัปดาห์ เอ็มบริโอจะกลายเป็น Foetus ขาของเด็กจะยืดออกและมีกระดูกอ่อนเกิดขึ้น แต่ส่วนต่างๆ ของขายังไม่ได้แตกต่างกันอย่างชัดเจน ทารกในครรภ์จะยังคงอยู่ภายในถุงน้ำคร่ำและรกยังคงพัฒนาต่อไป ทำให้เกิดโครงสร้างที่เรียกว่า Chorionic Villi ซึ่งช่วยให้รกติดกับผนังของมดลูก ในระยะนี้ทารกในครรภ์ยังคงได้รับสารอาหารจากไข่แดงอยู่


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ทารกมีอัตราการเต้นของหัวใจช้า อันตรายหรือไม่
ทารกมีอัตราการเต้นของหัวใจช้า อันตรายหรือไม่

เรื่องง่ายๆ ที่คุณแม่ทุกคนต้องใส่ใจเพราะอัตราการเต้นของหัวใจสัมพันธ์กับความปลอดภัยของลูกน้อย

อ่านเพิ่ม
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?

เรียนรู้สัญญาณการตั้งครรภ์นอกมดลูกก่อนที่มันจะฉีกขาด

อ่านเพิ่ม
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?

การตั้งครรภ์ที่เร็วเกินไปที่จะยืนยันด้วยวิธีการทางชีวเคมี

อ่านเพิ่ม