กระดูก (Bone) เป็นอวัยวะที่สำคัญของร่างกาย หลักๆ คือเป็นโครงร่างของร่างกายและเป็นที่ยึดเกาะของกล้ามเนื้อเพื่อให้เกิดการเคลื่อนไหว รวมถึงยังมีหน้าที่สำคัญอื่นๆ อีกหลายอย่าง
นอกจากนี้กระดูกหลายชิ้นยังมีรูปร่างและหน้าที่เฉพาะ
ตรวจกระดูกวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 534 บาท ลดสูงสุด 61%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
ธาตุที่เป็นองค์ประกอบสำคัญของกระดูก
กระดูกนับว่าเป็นอวัยวะพิเศษ เพราะสามารถสะสมแร่ธาตุไว้ได้ โดยเกิดจากการรวมตัวกันของสาร 2 ชนิดคือ
1. สารอินทรีย์ (Organic elements)
มีประมาณ 35% ของน้ำหนักกระดูกทั้งร่างกาย ได้แก่ เซลล์กระดูกชนิดต่างๆ และโปรตีนชิดต่างๆ (Matrix)
2. สารอนินทรีย์ (Inorganic elements)
มีประมาณ 65% ของน้ำหนักกระดูกทั้งร่างกาย ได้แก่ แร่ธาตุชนิดต่างๆ ซึ่งเป็นส่วนที่ทำให้กระดูกแข็งและคงรูปอยู่ได้
แร่ธาตุที่มีมาที่สุดคือ แคลเซียม ซึ่งถูกสะสมไว้ในรูปของสารประกอบของแคลเซียม เช่น แคลเซียมฟอตเฟต แคลเซียมคาร์บอเนต และแคลเซียมฟลูออไรด์
มีรายงานหลายฉบับเชื่อว่า 99% ของแคลเซียมในร่างกายถูกสะสมไว้ที่กระดูก
กระดูกกับกระดูกอ่อนต่างกันอย่างไร?
กระดูก (Bone ) กับกระดูกอ่อน (Cartilage) เป็นสิ่งที่แตกต่างกันทั้งในแง่ของโครงสร้างและหน้าที่
ตรวจกระดูกวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 534 บาท ลดสูงสุด 61%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
โดยกระดูกจะมีหน้าที่หลักคือเป็นโครงร่างของร่างกาย เป็นแหล่งสะสมแคลเซียม และผลิตเซลล์เม็ดเลือด พบได้ทั่วไปตามร่างกาย
ในขณะที่กระดูกอ่อนมีหน้าที่ช่วยให้เกิดการเคลื่อนไหวของข้อต่อได้สะดวก หรือช่วยเพิ่มช่วงการเคลื่อนไหวของร่างกายมักจะพบได้ที่บริเวณข้อต่อเป็นส่วนใหญ่ เช่น กระดูกอ่อนผิวข้อ หมอนรองกระดูกสันหลัง กระดูกใบหู เป็นต้น
กระดูกอ่อนจะมีความยืดหยุ่นสูงกว่า นอกจากนี้ยังไม่มีเส้นเลือดและเส้นประสาทมาเลี้ยง ทำให้ไม่สารถรับความรู้สึกได้
ดังนั้นในผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมที่ผิวข้อเข่าค่อยๆ เสื่อมจึงมักจะไม่มีอาการแสดงใด เมื่อผิวข้อเสียหายมากจนเนื้อเยื่อโดยรอบได้รับความเสียหาย จึงจะมีอาการปวด ทำให้มักจะตรวจพบข้อเข่าเสื่อมในระยะรุนแรงมากกว่าระยะเริ่มต้น
กระดูกในร่างกายมนุย์มีทั้งหมดกี่ชิ้น แบ่งได้เป็นกี่ประเภท?
ในผู้ใหญ่มีกระดูกประมาณ 206 ชิ้น ส่วนในเด็กหรือทารกจะมีจำนวนกระดูกมากกว่านี้ โดยกระดูกหลายชิ้นจะค่อยๆ เชื่อมติดกันตามการเจริญเติบโตจนจำนวนลดลง
เกณฑ์การแบ่งประเภทกระดูกมีหลายเกณฑ์ เช่น
ตรวจกระดูกวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 534 บาท ลดสูงสุด 61%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
- แบ่งตามตำแหน่งในร่างกายได้เป็นกระดูกแกนกลาง (Axial bone) กับกระดูกรยางค์ (Appendicle bone)
- แบ่งตามรูปร่างรูปทรงของกระดูกได้เป็นกระดูกยาว (Long bone) กระดูกสั้น (Short bone) กระดูกแบน (Flat bone) และกระดูกที่มีรูปร่างไม่แน่นอน (Irregular bone)
โครงสร้างของกระดูกยาวเป็นอย่างไร?
กระดูกยาว เป็นกระดูกชนิดหนึ่งที่มีโครงสร้างและหน้าที่น่าสนใจ โดยจะสามารถพบกระดูกยาวได้ตามแขนและขาของร่างกาย
กระดูกยาวจะถูกหุ้มด้วยเยื่อหุ้มกระดูก (Periosteum) ยกเว้นบริเวณที่เป็นข้อต่อ เมื่อนำกระดูกยาวมาผ่าตามแนวยาวจะเห็นโครงสร้างแบ่งออกเป็น 2 ชั้นชัดเจน
ภายนอกเป็นกระดูกแข็ง มีเนื้อกระดูกแน่น (Compact bone) มีช่องว่างน้อยมากหรือไม่สามารถสังเกตเห็นได้ด้วยตาเปล่า ในขณะที่ด้านในจะมีรูพรุนจำนวนมากลักษณะคล้ายฟองน้ำ (Spongy หรือ Cancellous bone) ซึ่งเป็นที่อยู่ของไขกระดูกมีหน้าที่สร้างเม็ดเลือดและเกล็ดเลือด
อีกหนึ่งเรื่องที่น่าสนใจของกระดูกยาว คือ การเจริญเติบโตของกระดูกยาวนั้นจะเกิดที่บริเวณส่วนปลาย ใกล้กับหัวกระดูกเท่านั้น กระดูกจะยืดยาวออกจากบริเวณที่เรียกว่า อีพิฟิซีลเพลต (Epiphyseal plate) ไม่ได้สามารถยืดยาวออกได้ทั้งแท่ง
ปัจจัยใดบ้างที่ส่งผลต่อรูปร่าง โครงสร้าง และมวลของกระดูก?
กระบวนการสร้างและกระบวนการสลายกระดูกของร่างกายนั้นเกิดขึ้นตลอดเวลา
ในวัยเด็ก กระบวนการสร้างกระดูกจะมีอัตราที่สูงกว่า ทำให้ร่างกายเจริยเติบโต แต่เมื่อพ้นช่วงที่มีมวลกระดูกมากที่สุดในชีวิต (Peak bone mass) คือประมาณอายุ 20 ต้นๆ กระบวนการสลายตัวของกระดูกจะมีมากกว่า มวลกระดูกจะค่อยๆ ลดลง โดยเฉพาะในเพศหญิงวัยหมดประจำเดือน และอาจจะรุนแรงจนส่งผลให้เกิดโรคกระดูกพรุนได้
โดยปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับรูปร่าง โครงสร้าง และมวลของกระดูก มีดังนี้
1. สารอาหารที่ได้รับ (Nutrition)
ดังที่ทราบกันดีว่า แคลเซียมมีส่วนสำคัญอย่างมากต่อกระบวนการสร้างความแข็งแรงของกระดูกและฟัน
ผู้ที่ได้รับแคลเซียมอย่างเหมาะสมก็จะมีรูปร่างและมวลกระดูกที่ปกติ ในขณะที่ผู้ที่มีภาวะขาดแคลเซียมก็จะมีขนาดร่างกายเล็กและมีมวลกระดูกต่ำกว่า
2. กิจกรรมทางกาย (Physical activity)
กิจกรรมทางกายและการออกกำลังกายมีผลอย่างมากต่อการเจริญเติบโตของกระดูก
เนื่องจากกระดูกต้องการการลงน้ำหนักที่เหมาะสมเพื่อกระตุ้นให้เจริญเติบโต ในผู้ป่วยกระดูกหักก็เช่นกัน เพราะเป็นช่วงเวลาที่กระดูกกำลังซ่อมแซมตัวเองอีกครั้ง
การลงน้ำหนักที่เหมาะสมเป็นเรื่องจำเป็นมากที่จะช่วยสนับสนุนให้กระดูกติดกันดี
3. ฮอร์โมน
ฮอร์โมนหลายชนิดเกี่ยวข้องกับกระบวนการนำแคลเซียมจากกระดูกออกมาใช้ หรือนำแคลเซียมไปสะสมที่กระดูก
หากระบบฮอร์โมนผิดปกติก็จะส่งผลถึงกระบวนการดังกล่าวด้วย นอกจากนี้มีรายงานหลายฉบับยืนยันชัดเจนว่า ผู้ป่วยที่มีฮอร์โมนผิดปกติ เช่น โกรทฮอร์โมน (Growth hormone) จะทำให้กระดูกผิดรูป มีมือและใบหน้าใหญ่กว่าปกติ
ในทางกลับกัน หากขาดฮอร์โมนบางชนิดก็จะทำให้ร่างกายแคระแกร็นได้
4. วิตามินดีและตัวรับวิตามินดี (Vitamin D receptor)
วิตามินดีและตัวรับวิตามินดี เป็นสิ่งที่ทุกคนได้รับถ่ายทอดจากบรรพบุรุษทางพันธุกรรม
ในระยะหลังๆ นี้มีรายงานหลายฉบับชี้ให้เห็นถึงความเกี่ยวข้องระหว่างวิตามินดีกับการสะสมแคลเซียม โดยหากร่างกายได้รับแคลเซียมเพียงพอ แต่ขาดวิตามินดี กระบวนการสร้างความแข็งแรงของกระดูกก็จะมีปัญหา
ถึงแม้ว่าวิตามินดีจะสร้างได้โดยร่างกายเมื่อได้รับการกระตุ้นจากแสงแดด แต่ก็มีผู้ป่วยจำนวนมากที่ยังคงมีปัญหาเรื่องความแข็งแรงของกระดูก
ในเรื่องนี้มีรายงานว่าถึงแม้ร่างกายจะผลิตวิตามินดีได้ในปริมาณที่เหมาะสม แต่หากเซลล์ที่เกี่ยวข้องกับการรับวิตามินที่ควบคุมโดยยีนที่ถ่ายทอดมาจากบรรพบุรุษมีปัญหา ก็จะทำให้ไม่สามารถดูดซึมวิตามินดีไปใช้ได้ และส่งผลถึงความแข็งแรงของกระดูก