การเจาะน้ำไขสันหลังในผู้ใหญ่คืออะไร ราคา วิธีการเตรียมตัว การพักฟื้น และวิธีการดูแลตัวเองหลังการเจาะ

เผยแพร่ครั้งแรก 14 ส.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
การเจาะน้ำไขสันหลังในผู้ใหญ่คืออะไร ราคา วิธีการเตรียมตัว การพักฟื้น และวิธีการดูแลตัวเองหลังการเจาะ

การเจาะน้ำไขสันหลังในผู้ใหญ่เป็นวิธีที่ไม่ใช่การตรวจแบบรักษาโดยทั่วไปที่จะสามารถพบได้บ่อยๆ ดังนั้นจึงยังมีข้อสงสัยสำหรับหลายๆ คน ว่าจะมีผลข้างเคียงหรืออันตรายมากน้อยหรือไม่และทำไปเพื่อจุดประสงค์ใด ทั้งนี้การเจาะน้ำไขสันหลังเป็นวิธีการตรวจที่มีความสำคัญมาก เพราะผลลัพธ์ที่ได้จะเป็นผลดีต่อการวินิจฉัยโรคแก่ผู้ป่วยอย่างยิ่ง

การเจาะน้ำไขสันหลังในผู้ใหญ่คืออะไร

เป็นการเจาะน้ำที่อยู่ระหว่างช่องว่างใต้สมอง โดยแพทย์จะเป็นผู้ที่ตัดสินใจว่าสมควรทำหรือไม่ ในกรณีที่เกิดโรคภัยไข้เจ็บบางอย่างเท่านั้น เพื่อนำผลการตรวจที่ได้มาใช้ประโยชน์ทางการแพทย์สำหรับผู้ป่วยดังต่อไปนี้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

    • เจาะน้ำไขสันหลังเพื่อรักษาโรค เป็นการระบายน้ำในสมองเพื่อลดความดันในโพรงกะโหลกศีรษะ หรือในกรณีที่ผู้ป่วยเป็นโรคมะเร็งในเยื่อหุ้มสมองระยะแพร่กระจาย แพทย์จะใช้วิธีนี้เพื่อให้ยาเป็นการรักษาด้วยเช่นกัน
    • นำผลที่ได้มาประกอบการวินิจฉัยโรคว่าผู้ป่วยมีการติดเชื้อที่เยื่อหุ้มสมองหรือไขสันหลังหรือไม่
    • เพื่อให้ยาชาในกรณีการผ่าตัดรักษาโรคบางชนิด

    น้ำหล่อเลี้ยงสมองหรือน้ำเลี้ยงไขสันหลัง (Cerebrospinal fluid : CSF) ที่เจาะได้นั้น เป็นน้ำที่อยู่ในชั้นของเยื่อหุ้มสมอง ซึ่งมีหน้าที่พยุงไม่ให้สมองและไขสันหลังเลื่อนไหล หากแพทย์มีความสงสัยว่าเยื่อหุ้มสมองและไขสันหลังอาจมีความผิดปกติก็มักจะมีการสั่งตรวจด้วยวิธีนี้

    การเจาะน้ำไขสันหลังอันตรายหรือไม่

    เมื่อผู้ป่วยอยู่ในท่านอนตะแคงและงอเข่าชิดหน้าอกแล้ว แพทย์จะทำความสะอาดผิวหนังและให้ยาชาบริเวณกระดูกสันหลังระดับเอว เมื่อทำการเจาะและดูดน้ำหล่อเลี้ยงไขสันหลังออกในปริมาณที่ต้องการแล้วก็ปิดแผล ทั้งนี้การเจาะน้ำไขสันหลังยังคงมีความรู้สึกเจ็บ แต่พบว่ามีจำนวนน้อยมากที่จะเกิดอาการแทรกซ้อนจนเกิดอันตรายขั้นรุนแรงเช่นหัวใจหยุดเต้น ซึ่งมักจะเกิดขึ้นได้กับผู้ป่วยที่เจาะระบายน้ำหล่อเลี้ยงจำนวนมาก

    อาการข้างเคียงที่อาจพบได้นั่นคืออาจมีการปวดศีรษะหรือปวดหลัง แต่หลังจากการเจาะแล้วพบว่าผลเสียระยะยาวหลังการเจาะยังไม่มี โดยผู้ป่วยที่มีโรคต่อไปนี้ห้ามทำการเจาะน้ำไขสันหลังคือ มีเนื้องอกหรือก้อนเลือดในสมอง มีความดันในกะโหลกสูง มีเลือดออกง่าย มีแผลอยู่แล้วในบริเวณที่จะต้องเจาะ มีการติดเชื้อบริเวณที่ต้องแทงเข็มเพื่อเจาะ และผู้ป่วยประเภทดิ้นที่ไม่ให้ความร่วมมือ เป็นต้น

    ราคาการเจาะน้ำไขสันหลังในผู้ใหญ่

    การเจาะน้ำไขสันหลังเป็นการใช้อุปกรณ์ทางการแพทย์อย่างเช่นเข็มเจาะเข้าทางด้านหลัง อีกทั้งยังเป็นการตัดสินใจของแพทย์ว่าควรต้องทำหรือไม่ในผู้ป่วยแต่ละราย ดังนั้นจึงควรปรึกษาราคาจากแพทย์ในโรงพยาบาลก่อนเข้ารับบริการ หรือสอบถามแพทย์จะได้ความกระจ่างชัดเจนดีกว่า ซึ่งถ้าเป็นโรงพยาบาลเอกชนก็ย่อมมีราคาสูงกว่าโรงพยาบาลรัฐบาล

    วิธีการเตรียมตัวและการพักฟื้น

    1. ผู้ที่เข้ารับการเจาะน้ำไขสันหลังไม่ต้องงดอาหารหรือน้ำ
    2. ญาติหรือผู้ป่วยต้องมีความเข้าใจกับความจำเป็นของแพทย์และประโยชน์ที่จะได้รับหลังการเจาะ
    3. ในการเจาะน้ำไขสันหลังไม่ต้องมีการพักฟื้นหรือนอนพักในโรงพยาบาล ยกเว้นกรณีที่ผู้ป่วยต้องนอนรักษาอยู่แล้ว เมื่อเจาะเสร็จเรียบร้อยก็ต้องนอนพักฟื้นเพื่อรักษาโรคเดิมต่อเนื่อง

    วิธีการดูแลตัวเองหลังการเจาะน้ำไขสันหลัง

    1. เมื่อเจาะน้ำไขสันหลังเสร็จแล้วควรนอนหงายนิ่งๆ ประมาณ 6 – 8 ชั่วโมง เพื่อให้แผลเจาะติดกันสนิทและน้ำไขสันหลังไม่ไหลออก อีกทั้งยังสามารถรับประทานอาหารและน้ำ รวมทั้งเข้าห้องน้ำได้ตามปกติ
    2. แผลเจาะมีขนาดเล็กเท่าการเจาะเลือดทั่วไป เพราะฉะนั้นจึงปิดแผลด้วยปลาสเตอร์เพื่อไม่ให้เลือดซึมออก หากไม่พบว่ามีเลือดซึมออกก็สามารถแกะปลาสเตอร์ออกแล้วโดนน้ำได้ตามปกติ

    เมื่อทำการเจาะน้ำไขสันหลังเสร็จสิ้นแล้ว แพทย์จะนัดมาฟังผลภายหลัง ซึ่งหากพบว่ามีอาการผิดปกติ เช่น ตาพร่า ง่วงซึม เวียนศีรษะ หรือมีอาการผิดปกติใดๆ อย่าละเลยหรือปล่อยไว้ให้อาการหนัก แต่ควรรีบมาพบแพทย์เพื่อทำการรักษาต่อไป


    8 แหล่งข้อมูล
    กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
    Overview and Importance of Cerebrospinal Fluid. Verywell Health. (https://www.verywellhealth.com/cerebrospinal-fluid-514082)
    Cerebrospinal Fluid (CSF) Leak: Causes, Symptoms, & Treatments. Cleveland Clinic. (https://my.clevelandclinic.org/health/diseases/16854-cerebrospinal-fluid-csf-leak)
    Cerebrospinal fluid: Physiology and utility of an examination in disease states. UpToDate. (https://www.uptodate.com/contents/cerebrospinal-fluid-physiology-and-utility-of-an-examination-in-disease-states)

    บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

    ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

    ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
    (1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

    บทความต่อไป
    การทรงตัวของร่างกายเกิดขึ้นได้อย่างไร?
    การทรงตัวของร่างกายเกิดขึ้นได้อย่างไร?

    ทำความเข้าใจอวัยวะที่มีส่วนสำคัญในการทรงตัว การทำงานประสานกันของอวัยวะเหล่านั้น และวิธีการสังเกตความบกพร่องของการทรงตัวเบื้องต้น

    อ่านเพิ่ม