กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
ทีมแพทย์ HD
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
ทีมแพทย์ HD

รวมราคาอุดฟัน ทั้งโรงพยาบาลและคลินิก

ราคาอุดฟันมีหลายระดับ ขึ้นอยู่กับวัสดุที่ใช้ และสถานพยาบาลที่คุณเลือก ดูตัวอย่างราคาได้ที่นี่
เผยแพร่ครั้งแรก 12 ส.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 15 เม.ย. 2021 ตรวจสอบความถูกต้อง 29 ส.ค. 2019 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
รวมราคาอุดฟัน ทั้งโรงพยาบาลและคลินิก

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • การอุดฟัน คือการทดแทนเนื้อฟันที่สูญเสียไปจากกรณีต่างๆ เช่น ฟันผุ ฟันสึก หรือฟันแตก ให้กลับมามีรูปทรงเดิม สามารถบดเคี้ยวได้ตามปกติ
  • วัสดุที่ใช้อุดฟัน มี 4 ประเภท ได้แก่ ทอง อะมัลกัม คอมโพสิต และพอซเลน ซึ่งแต่ละประเภทมีข้อดีข้อเสียแตกต่างกัน
  • ราคาอุดฟันจะขึ้นอยู่กับวัสดุอุดฟันที่ใช้ และสถานพยาบาล หรือคลินิกที่ให้บริการ โดยราคาจะเริ่มตั้งแต่ 300-3,000 บาท
  • การอุดฟัน สามารถใช้สิทธิเบิกประกันสังคมได้ ทั้งในโรงพยาบาลรัฐ และเอกชน รวมถึงคลินิกที่มีรายชื่ออยู่ในสิทธิประกันสังคมด้วย
  • ควรตรวจสุขภาพฟันทุกๆ 6 เดือน เพื่อสุขภาพช่องปากที่ดี หากพบว่า มีฟันผุ ควรรีบรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ เพราะอาจลุกลามไปจนถึงขั้นต้องถอนฟันได้ (ดูแพ็กเกจอุดฟันได้ที่นี่)

ฟัน เป็นหนึ่งในอวัยวะสำคัญบนร่างกายที่ต้องดูแลรักษาเป็นอย่างดี เราควรตรวจสุขภาพฟันทุกๆ 6 เดือน และเมื่อเกิดฟันผุขึ้น "การอุดฟัน" ก็เป็นหนึ่งในวิธีการรักษาที่มีประสิทธิภาพ 

การอุดฟันคืออะไร?

การอุดฟันคือการทดแทนเนื้อฟันที่สูญเสียไปจากกรณีต่างๆ เช่น ฟันผุ ฟันสึก ฟันแตก เพื่อให้ฟันกลับมามีรูปทรงเดิม และสามารถใช้งานได้ตามปกติ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
อุดฟันวันนี้ ที่คลินิกใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 285 บาท ลดสูงสุด 67%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

การอุดฟันนั้น สามารถช่วยป้องกันการผุเพิ่มขึ้นด้วยการปิดช่องทางที่แบคทีเรียสามารถเข้าไปได้ และช่วยให้ฟันกลับมามีรูปร่างตามปกติ สามารถใช้บดเคี้ยวอาหารได้ โดยขณะอุดฟัน ทันตแพทย์จะเอาเนื้อฟันที่ผุออก และทำความสะอาด จากนั้นจึงเติมวัสดุอุดฟันลงไป

วัสดุที่ใช้อุดฟันมีอะไรบ้าง?

วัสดุในการอุดฟันหลักๆ มี 4 ประเภท ได้แก่ 

1. ทอง

ทองที่ใช้อุดฟันทำขึ้นในห้องปฏิบัติการ โดยการอุดฟันขนาดใหญ่ที่เรียกว่า "อินเลย์" ที่ทำจากทองมักจะไม่ค่อยระคายเคืองเหงือก และอาจอยู่ได้นานถึง 20 ปี ด้วยเหตุนี้เอง หลายๆ คนจึงเลือกทองให้เป็นวัสดุอุดฟันที่ดีที่สุด 

อย่างไรก็ตาม การอุดฟันชนิดนี้มีราคาแพงที่สุด และต้องใช้เวลาพบทันตแพทย์หลายครั้ง

2. อะมัลกัม

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
อุดฟันวันนี้ ที่คลินิกใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 285 บาท ลดสูงสุด 67%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

อะมัลกัมเป็นวัสดุทำจากโลหะเจือ หรือโลหะผสม ที่มีส่วนประกอบส่วนใหญ่คือเงิน ดีบุก ทองแดง สังกะสี ผสมกับปรอท เป็นการอุดฟันที่ค่อนข้างคงทน และราคาไม่แพง

อย่างไรก็ตาม เนื่องจากวัสดุนี้มีสีเข้ม จึงมองเห็นได้เด่นชัดกว่าพอร์ซเลน (Porcelain) และคอมโพสิต (Composite) จึงไม่ถูกเลือกใช้กับบริเวณที่เห็นได้ง่าย เช่น ฟันหน้า 

หากอุดฟันด้วยวัสดุนี้ ไม่ควรเคี้ยวอาหารด้านที่อุดฟันเป็นระยะเวลา 24 ชั่วโมง เนื่องจากในระยะแรกฟันยังแข็งแรงไม่เต็มที่ มีโอกาสเสี่ยงต่อการแตกหักได้ง่าย แต่หลังจากครบ 24 ชั่วโมงก็สามารถเคี้ยวอาหารได้ตามปกติ

3. คอมโพสิต (พลาสติก) เรซิน

เป็นวัสดุที่ใช้สีที่เหมือนฟัน จึงมักใช้สำหรับบริเวณที่ต้องการความเป็นธรรมชาติ

วัสดุคอมโพสิตนี้อาจไม่สามารถใช้อุดฟันในบริเวณกว้างได้ เนื่องจากไม่คงทนเท่ากับวัสดุอื่นๆ โดยอยู่ได้ประมาณ 10 ปี นอกจากนี้ยังเป็นคราบจากชา กาแฟ หรือยาสูบได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
อุดฟันวันนี้ ที่คลินิกใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 285 บาท ลดสูงสุด 67%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

4. พอซเลน (Porcelain)

นิยมนำมาใช้อุดฟันแบบที่เรียกว่า อินเลย์ (อุดตรงกลาง ส่วนในเนื้อฟัน) หรือ ออนเลย์ (อุดด้านบนของฟัน) ทำขึ้นภายในห้องปฏิบัติการ และนำมาเชื่อมต่อกับฟัน สามารถทำสีให้เข้ากับสีฟันของคุณได้ และทานต่อคราบชา กาแฟ หรือยาสูบ

การอุดฟันด้วยพอซเลนมักจะครอบคลุมเนื้อที่ฟันส่วนใหญ่ มีราคาเท่ากับการอุดฟันด้วยทอง

การอุดฟันต้องทำโดยทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น ซึ่งปัจจุบันมีศูนย์ทันตกรรมหลายแห่งให้บริการแก่บุคคลที่สนใจ ทั้งในโรงพยาบาลของรัฐ และเอกชน รวมถึงคลินิกทันตกรรมหลายแห่ง ซึ่งระยะเวลาในการรอคิวและราคาจะแตกต่างกันออกไป

เปรียบเทียบราคาอุดฟันของโรงพยาบาลและคลินิก

หากเป็นโรงพยาบาลของรัฐจะมีข้อดีในด้านของราคา ซึ่งจะมีราคาถูกกว่า แต่ข้อเสียคือจะรอคิวนาน ส่วนในด้านของโรงพยาบาลเอกชน หรือคลินิกนั้นจะมีข้อดีคือ ไม่ต้องรอคิวนาน สะดวกรวดเร็ว สามารถทำได้ทันที แต่มีข้อเสียคือ ราคาแพงกว่าโรงพยาบาลของรัฐมาก ดังตัวอย่างราคาต่อไปนี้

1. โรงพยาบาลทันตกรรม คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

  • อุดฟันด้วยอะมัลกัม ด้านละ 400-1,800 บาท
  • อุดฟันด้วยวัสดุสีเหมือนฟัน ด้านละ 500-1,400 บาท

2. โรงพยาบาลคณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

  • อุดฟันด้วยอะมัลกัม 500-1,200 บาท
  • อุดฟันด้วยวัสดุสีเหมือนฟัน (ฟันหน้า) 700-1,300 บาท
  • อุดฟันด้วยวัสดุสีเหมือนฟัน (ฟันหลัง) 700-1,300 บาท

3. โรงพยาบาลศิริราช

  • อุดฟันด้วยวัสดุสีโลหะ 1 ด้าน 270-420 บาท
  • อุดฟันด้วยวัสดุสีเหมือนฟัน 1 ด้าน 350-550 บาท

4. โรงพยาบาลบางใหญ่

  • อุดฟันชั่วคราว 250 บาท
  • อุดฟันด้วยอะมัลกัม 1 ด้าน 350 บาท
  • อุดฟันด้วยอะมัลกัม 2 ด้าน 450 บาท
  • อุดฟันด้วยอะมัลกัม 3 ด้าน 550 บาท
  • อุดฟันด้วยอะมัลกัม 4 ด้าน 550 บาท
  • อุดฟันด้วยวัสดุสีเหมือนฟัน 1 ด้าน 450 บาท
  • อุดฟันด้วยวัสดุสีเหมือนฟัน 2 ด้าน 550 บาท
  • อุดฟันด้วยวัสดุสีเหมือนฟัน 3 ด้าน 650 บาท
  • อุดฟันด้วยวัสดุสีเหมือนฟัน 4 ด้าน 650 บาท

5. โรงพยาบาลตำรวจ แผนกทันตกรรม

6. SIAMDENT DENTAL CLINIC

  • อุดฟันชั่วคราว 300 บาท
  • อุดฟันสีโลหะ ด้านแรก 600 บาท ด้านต่อไป 300 บาท
  • อุดฟันด้วยวัสดุสีเหมือนฟัน ด้านแรก 700 บาท ด้านต่อไป 300 บาท

7. Skytrain dental group

  • อุดฟันชั่วคราว 300-400 บาท
  • อุดฟันด้วยอะมัลกัม ด้านละ 500 บาทขึ้นไป
  • อุดฟันด้วยวัสดุสีเหมือนฟัน ด้านละ 600 บาทขึ้นไป
  • รองพื้นก่อนอุด 100 บาท

8. Veranda dental clinic

  • อุดฟันสีเงิน เริ่มต้น 600 บาท
  • อุดฟันสีเหมือนฟัน เริ่มต้น 700 บาท
  • อุดปิดช่องว่างระหว่างฟัน 2,000-3,000 บาท


 

นอกจากนี้ ผู้เข้ารับการอุดฟันยังสามารถใช้สิทธิเบิกประกันสังคมได้ทั้งโรงพยาบาลของรัฐและเอกชน รวมถึงคลินิกที่มีรายชื่ออยู่ในสิทธิประกันสังคมอีกด้วย 

ทั้งนี้ ผู้ที่ต้องการจัดฟันสามารถขอติดต่อเพื่อสอบถามข้อมูลโดยตรงกับทางโรงพยาบาล และคลินิก เพื่อประเมินการรักษา และสอบถามรายละเอียดต่างๆ ได้

ดูแพ็กเกจอุดฟัน เปรียบเทียบราคา โปรโมชั่นล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจเหล่านี้ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
อุดฟันเพื่ออะไร? ใช้วัสดุอะไร?, (https://hdmall.co.th/c/what-is-a-dental-filling).
ทันตแพทย์ พงษ์สิริ ใจคำปัน, โรงพยาบาลทันตกรรม คณะทันตแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, อยากอุดฟัน แต่จะเลือกวัสดุบูรณะฟันอย่างไรให้คุ้มค่าและเหมาะสม (http://www.info.dent.nu.ac.th/dentalHospital/index.php/2012-09-18-18-57-27/12-2013-06-29-03-16-02/40-2013-06-29-03-30-45)
รศ.ดร. ดนุชิษณ์ พนมยงค์, คณะทันตแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, ทำไมต้องอุดฟัน (https://dt.mahidol.ac.th/th/ทำไมต้องอุดฟัน/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
5 อาหารที่น่าตกใจสำหรับการมีสุขภาพฟันที่ดี
5 อาหารที่น่าตกใจสำหรับการมีสุขภาพฟันที่ดี

อาหารที่สามารส่งเสริมสุขภาพของช่องปากได้อย่างน่ามหัศจรรย์

อ่านเพิ่ม
รู้ครบทุกเรื่องเกี่ยวกับการ “อุดฟัน”
รู้ครบทุกเรื่องเกี่ยวกับการ “อุดฟัน”

กระบวนการรักษาฟันพื้นฐานยอดฮิต แก้ปัญหาฟันผุ และช่วยยืดอายุฟันที่คุณรัก

อ่านเพิ่ม