โรคตาปลาและหนังหนาด้าน (Corns and Callus)

ตาปลาและหนังหนาด้าน เป็นความผิดปกติเกี่ยวกับเท้าที่สามารถพบเห็นได้เป็นประจำ โดยทั่วไปแล้วภาวะนี้ไม่ได้ก่อให้เกิดอันตราย แต่ถ้าหากเกิดความเจ็บปวดมาก ก็อาจต้องรักษาด้วยการผ่าตัด
เผยแพร่ครั้งแรก 24 เม.ย. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
โรคตาปลาและหนังหนาด้าน (Corns and Callus)

โรคตาปลา (Corns) เป็นส่วนของผิวหนังที่แข็งและหนาขึ้น สามารถเกิดขึ้นที่ใดก็ได้ในร่างกายของคุณ แต่มักพบที่เท้ามากที่สุด ส่วนใหญ่แล้วจะเกิดขึ้นบริเวณด้านบน ด้านข้างของเท้า และฝ่าเท้า

ส่วนหนังหนาด้าน (Callus) จะเป็นส่วนผิวหนังที่มีสัมผัสหยาบและแข็งมาก มีขนาดใหญ่กว่าตาปลาและมีสีเหลืองกว่า นอกจากนี้จะไล่ขอบไม่ชัดเจนเหมือนตาปลา บริเวณส่วนนั้นจะรับความรู้สึกสัมผัสหรือความรู้สึกอื่นได้น้อยกว่าผิวปกติโดยรอบอย่างชัดเจน โดยปกติแล้วจะเกิดขึ้นตามส้นเท้า แต่ก็พบได้บนมือและนิ้วมือเช่นกัน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

สาเหตุของตาปลาและหนังหนาด้าน

ตาปลาและหนังหนาด้าน เกิดขึ้นจากแรงเสียดทานและแรงกด ซึ่งเป็นปฏิกิริยาตอบสนองของร่างกายเพื่อป้องกันความเสียหายต่อผิวหนังหรือป้องกันไม่ให้ผิวพอง

สาเหตุที่พบบ่อยที่สุดของตาปลาและหนังหนาด้าน คือ การใส่รองเท้าที่ไม่พอดีหรือกระชับเท้า หากรองเท้าหลวมเกินไป หรือคับเกินไป ผิวของรองเท้าจะถูกับผิวหนังทำให้เกิดแรงเสียดทานขึ้น ในกรณีที่ใส่รองเท้าส้นสูงเป็นประจำ ก็มีแนวโน้มที่จะเกิดหนังหนาด้านที่ส่วนเนินปลายเท้า (Ball of the foot) ได้ เนื่องจากเกิดแรงกดบริเวณข้อต่อนี้มากขึ้นขณะเดิน

สาเหตุอื่นที่เป็นไปได้ของตาปลาและหนังหนาด้าน ได้แก่

  • การใช้แรงงานหนัก
  • ถุงเท้าหรือซับในของรองเท้า ย่นยู่เข้าหากันเป็นก้อน
  • เดินไม่สวมรองเท้า
  • เล่นกีฬาที่เกิดแรงกดบนเท้าเป็นประจำ

บางคนมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคตาปลาและหนังหนาด้านมากกว่าคนอื่น โดยเฉพาะผู้ที่มีปัจจัยดังนี้

  • มีหัวแม่เท้าเอียง (Bunion) โดยมีลักษณะนิ้วโป้งเท้างอคล้ายค้อน
  • ผู้ที่เดินแล้วข้อเท้าม้วนเข้าด้านในมากเกินไป (Overpronation) หรือเดินแล้วข้อเท้าม้วนออกด้านนอกมากเกินไป (Oversupination)
  • ผู้ที่เคยได้รับบาดเจ็บบริเวณต่อมเหงื่อ มีแผลเป็น หรือมีหูดที่เท้า

การรักษาตาปลาและหนังหนาด้าน

ในการวินิจฉัยตาปลา แพทย์จะทำการตรวจเท้าและอาจกดบริเวณต่างๆ เพื่อประเมินความรู้สึก ซึ่งแพทย์อาจทำการซักประวัติเกี่ยวกับรองเท้าที่ใส่ กีฬาที่ชอบเล่น และอาจขอให้เดินไปเดินมาในห้องเพื่อประเมินการเดินว่ามีลักษณะข้อเท้าที่ผิดปกติหรือไม่ รวมถึงอาจส่งตัวไปยังศัลยแพทย์กระดูกเพื่อตรวจเพิ่มเติม

ทางเลือกการรักษา ได้แก่

  • การดูแลตนเอง : หากอาการไม่รุนแรงมาก ผู้ป่วยสามารถกลับไปดูแลตัวเองที่บ้านได้ มียาสำหรับตาปลาและหนังหนาด้านขายโดยไม่จำเป็นต้องใช้ใบสั่งยาจากแพทย์ ซึ่งยากลุ่มดังกล่าวมีจุดมุ่งหมายเพื่อบรรเทาความเจ็บปวดหรือช่วยลดแรงกดลงในบริเวณดังกล่าว การรักษาที่นิยมมากที่สุด คือ พลาสเตอร์ติดตาปลาที่มีลักษณะเป็นแถบยางหนาที่มีผิวกาว เมื่อแปะติดบนตาปลา พลาสเตอร์จะทำหน้าที่รับแรงกดทับทำให้หายเร็วขึ้น
  • การผ่าตัดหนังหนาด้าน : หากตาปลาและหนังหนาด้านมีอาการรุนแรงจนทำให้ปวด บวม เป็นหนอง ผู้ป่วยอาจต้องเข้ารับการผ่าตัดเพื่อกำจัดส่วนหนังหนาด้านออกไป การผ่าตัดจะใช้ใบมีดคมเพื่อกรีดกำจัดส่วนพื้นที่ที่หนาตัวซึ่งไม่ทำให้เจ็บปวดแต่อย่างใด

การป้องกันตาปลาและหนังหนาด้าน

คุณสามารถป้องกันโรคตาปลาและหนังหนาด้านได้หลายวิธี ได้แก่

สวมใส่รองเท้าที่สบายและพอดี : เลือกรองเท้าที่สวมใส่สบาย แนะนำให้ซื้อรองเท้าช่วงบ่ายซึ่งเป็นช่วงที่เท้าขยายมากที่สุด

ดูแลเท้าเป็นประจำ : เช็ดเท้าให้แห้งหลังจากล้างเท้าหรืออาบน้ำ ใช้ครีมบำรุงเท้าที่ให้ความชุ่มชื้นเป็นประจำ ใช้ตะไบขัดเท้าหรือหินขัดเท้าไถเอาส่วนผิวแข็งออกจากเท้าของคุณ

ที่มาของข้อมูล

Kati Blake, What causes corns? (https://www.healthline.com/symptom/corns), April 24, 2018.


12 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Corns and Calluses: Causes, Symptoms, and Treatments. Healthline. (https://www.healthline.com/health/corns-and-calluses)
Corns and calluses: What's the difference and how can I treat them?. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/172459)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)