ความหมาย ภาวะสับสน (Confusion) เป็นสภาพของจิตใจ ความคิดที่บกพร่องไป เช่น จำไม่ได้ บอกวัน เวลา สถานที่ และบุคคลผิดพลาด หรือความสนใจและการรับรู้ต่อสิ่งเร้ารอบตัวลดลง รู้สึกง่วงซึม พบได้ทั้งในโรคทางสมองและโรคทางจิตเวช หรือเกิดขึ้นภายหลังการเจ็บป่วยทางจิตที่ได้รับการรักษาด้วยไฟฟ้า (Electroconvulsive therapy)
สาเหตุ
พบบ่อยในคนที่เลิกดื่มสุราและรับประทานยา อาจเกิดหลังจากมีไข้ หรือผู้ที่ได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะ หรือใช้ยาสลบ สมองขาดออกซิเจนหรือได้รับไม่เพียงพอ มีภาวะบกพร่องออกซิเจน หรือมีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ มีความผิดปกติของสารน้ำและอิเล็กโทรไลต์อย่างรุนแรง มีการติดเชื้อในกระแสเลือด มีภาวะตับวายหรือไตวาย ได้รับสารพิษ หรือได้รับยาเกินขนาด
ปรึกษาสุขภาพจิต วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 882 บาท ลดสูงสุด 51%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
พยาธิสรีรภาพ
ภาวะสับสนเกิดจากกลไก 3 อย่าง ได้แก่
1) สมองได้รับความกระทบกระเทือน ทำให้สมองบวมหรือสมองขาดออกซิเจน หรือสมองขาดเลือดหรือเรียกว่า สมองไม่สามารถทำหน้าที่ได้เหมือนปกติ
2) ระบบประสาทมีความผิดปกติเนื่องจากได้รับสารเคมีหรือสารพิษอื่นๆ
3) มีการกดศูนย์การตอบสนองที่สมองจากสารที่สามารถผ่าน Blood brain barrier ได้ เช่น แอลกอฮอล์ พบในคนที่เลิกดื่มสุรา
อาการ
ความตั้งใจจดจ่อของผู้ป่วยหายไป มีความกังวล กระสับกระส่าย มีอารมณ์เปลี่ยนแปลงง่าย นอนไม่หลับ ง่วงซึม อาจมีฝันร้าย ลืมเหตุการณ์ที่พึ่งผ่านมา ซึ่งจะเป็นอาการของสมองมีความผิดปกติ ไม่สามารถจำตัวเลขต่อไปถึง 6 หรือ 7 ตัว และไม่สามารถจำตัวเลขย้อนหลังถึง 5 หรือ 6 ตัวได้ ไม่สามารถแยกความแตกต่างของส้มกับแอปเปิ้ลได้ อาจมีการรับรู้ผิดปกติ เช่น คิดว่าคนอื่นเป็นคนในครอบครัว อาจมีประสาทหลอน เห็นภาพลวงตา หรือหลงผิด
การวินิจฉัยโรค
ไม่มีการวินิจฉัยที่แน่นอน อาจตรวจโดยการทำ CT หรือ MRI ที่สมองเพื่อหาสาเหตุของโรค เช่น เป็นเนื้องอกที่สมอง มีโรคหลอดเลือดสมอง ตรวจเลือดหา CBC, Electrolyte, ดูระดับของวิตามินบี 12 ระดับของโฟเลต ดูหน้าที่ของ
ต่อมไทรอยด์ หน้าที่ของตับ ตรวจสอบพิษจากยา ตรวจคลื่นไฟฟ้าสมอง (EEG) หรืออาจเจาะหลังเพื่อตรวจดูความผิดปกติของน้ำไขสันหลัง
การพยาบาล
จัดสิ่งแวดล้อม และจัดสิ่งของให้อยู่ในที่เดิมเสมอ พยาบาลผู้ดูแลตรวจเป็นคนเดิม การพูดกับผู้ป่วยควรใช้คำพูดสั้นๆ กระชับ จะต้องพูดซ้ำๆ จัดสิ่งแวดล้อมให้เงียบสงบ ระวังอุบัติเหตุโดยให้ผู้ป่วยอยู่ในสายตาของพยาบาล หลีกเลี่ยงการผูกมัด หรือยกไม้กันเตียงขึ้น ดูแลให้ผู้ป่วยนอนหลับในตอนกลางคืนให้เพียงพอ แต่ให้ทำกิจกรรมในตอนกลางวัน ไม่ควรให้ผู้ป่วยดื่มกาแฟหรือสุราเพราะจะทำให้ไม่หลับ ผู้ป่วยสูงอายุควรให้นอนพักในตอนกลางวัน ช่วงบ่าย หรือหลังอาหารกลางวันสัก 30 นาทีถึง 1 ชั่วโมง แนะนำให้ญาติหรือผู้ดูแลเข้าใจถึงพฤติกรรมต่างๆ ที่ผู้ป่วยเป็น