กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

เปรียบเทียบชุดทดสอบการตั้งครรภ์ แต่ละแบบต่างกันอย่างไร?

เผยแพร่ครั้งแรก 28 ต.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
เปรียบเทียบชุดทดสอบการตั้งครรภ์ แต่ละแบบต่างกันอย่างไร?

ชุดทดสอบการตั้งครรภ์ เป็นอุปกรณ์ตรวจการตั้งครรภ์ที่ใช้ได้ง่าย และหาซื้อได้ทั่วไป ทำให้ใครที่รีบร้อนอยากรู้ว่าตัวเองตั้งครรภ์หรือไม่ สามารถทราบผลได้ในไม่กี่นาทีโดยไม่ต้องไปตรวจที่โรงพยาบาล แต่อย่างไรก็ตาม ชุดทดสอบการตั้งครรภ์ ที่วางขายตามท้องตลาดนั้นมีหลากหลายแบบ เราจะรู้ได้อย่างไรว่าแต่ละแบบแตกต่างกันอย่างไร และมีข้อดี-ข้อเสียอย่างไร วันนี้เราจึงนำข้อมูลเกี่ยวกับ ชุดทดสอบการตั้งครรภ์ แบบต่างๆ มาบอกเล่าให้คุณผู้อ่านได้ทราบกัน

ชุดทดสอบการตั้งครรภ์คืออะไร?

ชุดทดสอบการตั้งครรภ์ เป็นการตรวจหาฮอร์โมน Human chorionic gonadotropin หรือ HCG ในปัสสาวะ ซึ่งจะหลั่งออกมาในผู้หญิงที่ตั้งครรภ์หลังการปฏิสนธิประมาณ 6-7 วัน ระดับฮอร์โมน HCG จะขึ้นสูงสุดช่วงอายุครรภ์ 8 – 12 สัปดาห์ และการตรวจโดยชุดทดสอบการตั้งครรภ์ จะมีความแม่นยำสูงหลังอายุครรภ์ 10 – 14 วัน เป็นต้นไป ดังนั้น ใครที่ประจำเดือนขาดไปเพียงสามสี่วัน อาจยังตรวจไม่เจอว่าตั้งครรภ์ก็ได้

สำหรับ การอ่านผล ของชุดทดสอบการตั้งครรภ์ทุกแบบนั้นเหมือนกัน คือ

  • หากปรากฏ ขีดสีแดง 2 ขีด ขึ้นบนแถบทดสอบ แสดงว่าผลเป็น บวก หรือ มีการตั้งครรภ์
  • หากปรากฏ ขีดสีแดงเพียงขีดเดียว (เฉพาะขีดที่สอง) แสดงว่าผลเป็น ลบ หรือ ไม่มีการตั้งครรภ์ 
  • แต่ถ้าปรากฏ ขีดสีแดงเพียงขีดเดียว (เฉพาะขีดที่หนึ่ง) แสดงว่า ชุดการทดสอบนั้นเสื่อมสภาพ และไม่สามารถใช้งานได้

เปรียบเทียบชุดทดสอบการตั้งครรภ์แบบต่างๆ

ชุดทดสอบการตั้งครรภ์ที่มีขายทั่วไปตามท้องตลาดมีอยู่ 3 แบบ ได้แก่ แบบแถบจุ่ม แบบหยอด และ แบบผ่าน

แบบแถบจุ่ม (Test strip)

ภายในชุดทดสอบจะประกอบด้วยแถบทดสอบการตั้งครรภ์ ซึ่งมีลักษณะเป็นแผ่นแคบและยาว และถ้วยสำหรับใส่ปัสสาวะ วิธีการใช้ ได้แก่

  • เก็บปัสสาวะลงในถ้วยตวง ซึ่งควรเป็นปัสสาวะสดใหม่
  • นำแถบทดสอบหันด้านที่มีลูกศรชี้ลง จุ่มลงในปัสสาวะ โดยระวังอย่าให้ปัสสาวะสูงเลยขีดที่กำหนดไว้บนแถบ และให้จุ่มแช่ไว้ประมาณ 3 วินาทีเท่านั้น
  • นำแถบทดสอบขึ้นมาวางไว้ในแนวราบ รอจนครบ 5 นาที แล้วจึงอ่านผล

ข้อดี

  • มีราคาถูก คือประมาณ 100 – 140 บาท

ข้อเสีย 

  • ชุดทดสอบจะเสียสภาพได้ง่าย โดยเฉพาะหากเก็บไว้ในที่ชื้น หรือสัมผัสกับสารเคมีอื่นๆ
  • ระหว่างจุ่มแถบทดสอบ ต้องระวังไม่ให้ปัสสาวะเลยขีดที่กำหนด

แบบหยอด (Test cassette)

หรือเรียกอีกอย่างว่า แบบตลับ ภายในชุดทดสอบจะประกอบไปด้วย ตลับทดสอบ ถ้วยใส่ปัสสาวะ และหลอดหยด ซึ่งวิธีการทดสอบมีดังนี้

  • เก็บปัสสาวะลงในถ้วยตวง ซึ่งควรเป็นปัสสาวะสดใหม่
  • ใช้หลอดหยดดูดปัสสาวะขึ้นมา และหยดลงบนหลุมของตลับทดสอบจำนวน 3 – 4 หยด
  • วางตลับทดสอบในแนวราบ รอจนครบ 5 นาที แล้วอ่านผล

ข้อดี – มีราคาปานกลาง คือ 140 – 180 บาท

  • ตลับทดสอบมีโอกาสเสื่อมสภาพต่ำ และการหยดปัสสาวะก็ลดโอกาสเกิดผลคลาดเคลื่อนได้ดีกว่าแบบจุ่ม

ข้อเสีย – หากหยดปัสสาวะมากหรือน้อยเกินไป ก็อาจทำให้ผลการทดสอบคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริงได้

แบบผ่าน (Midstream test)

ภายในชุดทดสอบจะประกอบด้วยแท่งทดสอบการตั้งครรภ์เพียงอย่างเดียว โดยมีวิธีใช้ดังนี้

  • ถอดฝาครอบแท่งทดสอบออก และขณะใช้ ให้ถือแท่งทดสอบโดยให้หัวลูกศรชี้ลง
  • ปัสสาวะผ่านส่วนที่ดูดซับน้ำปัสสาวะ ซึ่งอยู่ต่ำกว่าแถบลูกศรลงไปจนเปียกชุ่ม
  • วางแท่งทดสอบในแนวราบ และรอ 1 - 5 นาที จึงอ่านผล

ข้อดี

  • มีขั้นตอนการใช้น้อยกว่าชุดตรวจแบบอื่นๆ เนื่องจากไม่ต้องปัสสาวะใส่ถ้วย
  • ใช้เวลารออ่านผลน้อยกว่าแบบอื่น อย่างไรก็ตาม ควรรอจนครบ 5 นาทีแล้วจึงอ่านผลอีกครั้ง เพื่อความแม่นยำ

ข้อเสีย 

  • มีราคาสูง คือประมาณ 180 – 220 บาท

5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
3 Best Pregnancy Tests in Australia. Who Magazine. (https://www.who.com.au/3-best-pregnancy-tests-in-australia)
Home pregnancy tests - BabyCenter Australia. BabyCenter Australia. (https://www.babycenter.com.au/a2029/home-pregnancy-tests)
When to Take a Pregnancy Test If You Have PCOS. Verywell Health. (https://www.verywellhealth.com/when-to-take-a-pregnancy-test-if-you-have-pcos-4142262)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ทารกมีอัตราการเต้นของหัวใจช้า อันตรายหรือไม่
ทารกมีอัตราการเต้นของหัวใจช้า อันตรายหรือไม่

เรื่องง่ายๆ ที่คุณแม่ทุกคนต้องใส่ใจเพราะอัตราการเต้นของหัวใจสัมพันธ์กับความปลอดภัยของลูกน้อย

อ่านเพิ่ม
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?

เรียนรู้สัญญาณการตั้งครรภ์นอกมดลูกก่อนที่มันจะฉีกขาด

อ่านเพิ่ม