กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

เครื่องทดสอบอาการตาบอดสี (Color blind test)

ตาบอดสี อาการที่หลายคนเป็นโดยไม่รู้ตัว มาทดสอบความปกติของสายตาให้แน่ใจด้วยเครื่องทดสอบตาบอดสี เพื่อวางแผนการเรียนและทำงานได้อย่างเหมาะสม
เผยแพร่ครั้งแรก 18 ม.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 9 ธ.ค. 2022 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
เครื่องทดสอบอาการตาบอดสี (Color blind test)

ตาบอดสี คืออาการมองเห็นสีของภาพผิดไปจากที่คนอื่นเห็น ทำให้อาจเกิดอันตรายหรือความผิดพลาดได้ หากทำอาชีพที่ต้องใช้ทักษะด้านสี เช่น นักบิน คนขับรถ ทหาร เภสัชกร และกราฟฟิก ฉะนั้นการทำความเข้าใจรวมถึงทดสอบสายตาของตัวเองว่าผิดปกติหรือไม่จึงเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อรับมือกับอาการอย่างเหมาะสม

จะรู้ได้อย่างไรว่าตาบอดสีหรือไม่?

คนตาบอดสีส่วนมากมักเป็นมาตั้งแต่กำเนิด จึงทำให้หลายคนไม่รู้ว่าตัวเองตาบอดสี เพราะเข้าใจมาตลอดว่าสีที่ตัวเองและคนอื่นเห็นนั้นตรงกัน เพื่อเป็นการป้องกันความเข้าใจผิด ควรลองตรวจความถูกต้องของสายตาเบื้องต้นด้วยแบบทดสอบตาบอดสี โดยมองภาพที่กำหนดให้ และดูว่าเห็นตัวเลขหรือสัญลักษณ์ใดในภาพ จากนั้นวัดผลจากเกณฑ์ที่เครื่องมือกำหนดไว้ให้ดังนี้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจตา รักษาโรคตาวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 437 บาท ลดสูงสุด 61%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

เครื่องทดสอบตาบอดสีนี้เป็นการวัดผลเบื้องต้นสำหรับการระบุสีเท่านั้น ไม่อาจใช้แทนคำวินิจฉัยโรคได้ หากคุณพบความผิดปกติและสงสัยว่ามีอาการตาบอดสี ควรไปพบจักษุแพทย์เพื่อหาสาเหตุและทำการรักษาต่อไป

ตาบอดสีเกิดจากอะไร?

ภายในจอประสาทตาจะมี โคนเซลล์ (Cone cell) ซึ่งคอยทำหน้าที่รับแสงที่เราเห็นผ่านจอตา ภายในโคนเซลล์จะมีเซลล์อีกชนิดที่เรียกว่า รงควัตถุ (Pigment) อยู่จำนวนมาก ทำหน้าที่รับรู้สีของภาพที่เห็น

เมื่อเรามองภาพต่างๆ โคนเซลล์ (ตัวรับแสง) และรงควัตถุ (ตัวรับสี) ในจอตาจะส่งข้อมูลไปให้สมองประมวลผลออกมาเป็นภาพที่มีสีสันต่างๆ โดยใช้สีหลักๆ ในการประมวลภาพ 3 สีคือ แดง เขียว น้ำเงิน แต่หากโครโมโซมที่มีผลต่อรงควัตถุเกิดความผิดปกติขึ้น ก็จะทำให้กระบวนการจำแนกสีผิดเพี้ยนไป

เราอาจจำแนกสาเหตุที่กระบวนการจำแนกสีผิดปกติได้ 2 ประเภทดังนี้

1. ตาบอดสีมาตั้งแต่กำเนิด (Congenital color vision defects)

มักเกิดจากความผิดปกติของโครโมโซม โดยปกติผู้ชายจะมีโครโมโซมเป็น XY และผู้หญิงเป็น XX ซึ่งในโครโมโซม X จะมียีนที่ทำหน้าที่ควบคุมสีติดอยู่ด้วย ดังนั้นหากโครโมโซม X ในผู้ชายไม่มียีนที่ควบคุมสีติดอยู่ ก็อาจทำให้ตาบอดสีได้ ซึ่งพบได้ประมาณ 5-8% ของผู้ชายทั้งหมด

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

แต่หากผู้หญิงมีความผิดปกติจากยีนตัวเดียวกันในโครโมโซม X ตัวใดตัวหนึ่ง ก็จะยังสามารถมองเห็นสีได้ตามปกติเช่นเดิม เนื่องจากผู้หญิงมีโครโมโซม X ถึง 2 ตัว จึงทำให้ผู้หญิงมีโอกาสจะตาบอดสีน้อยกว่าผู้ชายมาก หรือประมาณ 0.8% เท่านั้น

2. ตาบอดสีในภายหลัง (Acquired color vision defects)

ตาบอดสีประเภทนี้พบได้น้อยและมักเกิดจากโรคที่มีผลกระทบกับจอประสาทตา เช่น โรคเส้นประสาทตาอักเสบ อาจเกิดขึ้นกับตาเพียงข้างเดียวหรือ 2 ข้างก็ได้ ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค

ตาบอดสีมีกี่ประเภท?

อาการตาบอดสีสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่

1. ตาบอดสีแดงและเขียว (Red-green color blindness)

ตาบอดสีประเภทนี้จะพบได้บ่อยที่สุด ผู้ที่ตาบอดสีแดงและเขียวจะมีความผิดปกติในการแยกความแตกต่างของสีแดง เขียว เหลือง และส้มได้ยาก หรืออาจเห็นเป็นสีเดียวกันทั้งหมด

นอกจากนี้ยังสามารถแบ่งย่อยลงมาเป็นคนที่ตาบอดสีเฉพาะสีใดสีหนึ่งด้วย ดังนี้

  • ตาบอดสีเฉพาะสีแดง (Protanopia) ประเภทนี้จะยังสามารถแยกความแตกต่างระหว่างสีแดงและเขียวได้จากความสว่างของแสง แต่ความสามารถในการรับรู้สีแดงจะบกพร่องลง มีผลกระทบต่อการมองสีที่มีส่วนผสมของสีแดง เช่น สีม่วง สีชมพู
  • ตาบอดสีเฉพาะสีเขียว (Deuteranopia) ประเภทนี้จะแยกระหว่างสีเขียวและสีแดงได้ยากมาก หรือไม่ได้เลย รวมถึงสีเขียวหรือแดงที่มีสีน้ำเงินเข้ามาผสมด้วย อาจมองเห็นสีเดียวกันที่มีโทนสีต่างกันไม่ออก เช่น ม่วงอ่อน ม่วงเข้ม

2. ตาบอดสีน้ำเงินและเหลือง (Blue-yellow color blindness)

ตาบอดสีน้ำเงินและเหลือง เป็นประเภทตาบอดสีที่พบได้น้อยกว่าประเภทแรก มักเกิดขึ้นกับคนที่ไม่ได้ตาบอดสีมาตั้งแต่กำเนิด คนตาบอดสีประเภทนี้มักตาบอดสีแดงและเขียวร่วมด้วย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

3. ตาบอดสีทุกสี (Total color blindness)

เป็นตาบอดสีประเภทที่พบได้น้อยที่สุด ผู้ป่วยจะมองเห็นเพียงสีขาวดำ แต่ยังคงรับรู้ถึงแสงและความเข้มได้ ประเภทนี้มักมีสายตาที่แย่ลงในระยะยาวด้วย

อ่านบทความเกี่ยวกับ ตาบอดสี ที่น่าสนใจอื่นๆ เพิ่มเติมได้ที่


1 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)