“สี” มีผลกับคุณอย่างไร เคยสังเกตไหม?

เผยแพร่ครั้งแรก 26 ต.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที

เมื่อพูดถึง “สี” แล้ว คนทั่วไปที่สามารถจำแนกสีสันหรือสามารถมองเห็นความมีชีวิตชีวาจากเฉดสีบนวัตถุ สิ่งของ หรือธรรมชาติรอบตัวได้อย่างเป็นปกติ อาจไม่เคยคิดว่า “สี” เป็นสิ่งสำคัญหรือส่งผลอะไรกับคุณเท่าใดนัก แต่หากคุณได้มีโอกาสลองถามใครสักคนที่ตาบอดสี หรือเห็นภาพทุกอย่างเป็นสีขาวดำไปหมด คุณจะรู้ว่า ณ วินาทีแรกที่เขาได้สัมผัสความสดใสของสีสันทั้งหลายผ่านดวงตา พวกเขารู้สึกเช่นไร “ฉันไม่เคยเห็นสีนี้มาก่อนในชีวิต ฉันอยากจะร้องไห้ ฉันไม่เคยคิดเลยว่า ฉันได้รับผลกระทบมากขนาดไหนจากการที่ฉันไม่เคยเห็นสิ่งนี้ในโลก ในวิธีเดียวกับที่คนอื่น ๆ เห็นมัน” คำให้สัมภาษณ์จาก Atlee หญิงสาวที่มีโอกาสทดลองใส่แว่นตา EnChroma แว่นตายี่ห้อดังที่ทำให้คนตาบอดสีสามารถเห็นสีสันได้ใกล้เคียงกับความเป็นจริงที่สุด 

คนทั่วไปอาจเห็นสีเฉดต่าง ๆ โทนต่าง ๆ จนเป็นเรื่องปกติไปเสียแล้ว แต่เคยรู้หรือไม่ว่าความจริงแล้ว สีสันทั้งหลายที่เราเห็นนั้นล้วนส่งผลตต่ออารมณ์ ความรู้สึก พฤติกรรมที่แสดงออก รวมไปถึงอาหารที่ดึงดูดให้คุณอยากรับประทานหรือไม่ ฉะนั้น ก่อนคุณจะตกแต่งห้องหับ เสื้อผ้า หรือจัดแจงมื้ออาหารมื้อถัดไป จงจำเอาไว้ว่า “สี” มีส่วนสำคัญไม่น้อยทีเดียวล่ะ มาดูกันว่า ... ”สี” กระทบชีวิตประจำวันใดของคุณบ้าง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

  1. ความจำ: หนุ่มสาววัยเรียนวัยทำงานทั้งหลาย เคยสังเกตตัวเองไหมว่า ช่วงใกล้สอบ โพสอิทหรือปากกาไฮไลท์เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้เอาเสียเลยสำหรับใครหลาย ๆ คน คุณเองก็อาจจะเป็นหนึ่งในนั้นหรือเปล่า? เนื่องจากความจริงแล้ว สีนั้นสามารถช่วยในเรื่องความจำได้ดีเชียวล่ะ โดยมากแล้ว สีแดงมักจะทำให้คุณนึกถึงคำผิดหรือคำที่มีความหมายลบ ส่วนสีเขียวนั้นจะชวนให้คุณนึกถึงคำถูก แต่ก็นั่นแหละ คุณถนัดจะใช้สีไหนแทนคำอะไร ก็ลองใช้เทคนิคสีช่วยจำนี้ดูแล้วกัน เพราะไม่แน่ เกรดสวย ๆ อาจเป็นของคุณได้ไม่ยาก
  2. ความรู้สึกทางเพศ: ว่ากันว่า ผู้หญิงมักรู้สึกหลงใหลได้ปลื้มหนุ่ม ๆ ที่ใส่เสื้อสีแดง และผู้ชายเองก็รู้สึกเช่นเดียวกัน กล่าวคือ “หญิงชุดแดง” ก็ดึงดูดผู้ชายได้ดีไม่แพ้กัน แต่แน่นอนว่านั่นก็เป็นเพียงรูปลักษณ์ภายนอก เพราะเอาเข้าจริง ๆ แล้ว สีก็ไม่ได้บ่งบอกว่าคน ๆ นั้นจะน่าพึงพอใจไปเสียทีเดียวหรอก อาจจะเป็นปฏิกิริยาวูบวาบเพียงชั่วครู่
  3. ความสัมพันธ์: ใคร ๆ ก็อยากให้คนที่รักมีความสุขทั้งนั้นแหละ ซึ่งการทาสีบ้านหรือสีผนังบ้านให้เป็นสีชมพู เขียว หรือขาว ช่วยนำพาความรู้สึกดี ๆ เหล่านั้นมาได้ไม่น้อยเลยนะ เมื่อใดที่คุณมองสีสันเหล่านั้น อารมณ์ของคุณสามารถเปลี่ยนจากสุขเป็นเศร้าได้เลยล่ะ ดังนั้น ลองเลือกสีที่ช่วยปรับอารมณ์ของคุณดูสิ
  4. นาฬิการ่างกาย: เชื่อหรือไม่ว่า สีมีผลต่อนาฬิการ่างกายของคุณ นักวิทยาศาสตร์พบว่า สีฟ้าสว่าง ๆ สามารถจัดการนาฬิกาชีวิตของคุณให้เข้าที่ได้หากร่างกายของคุณดูท่าจะพินาศหรือระบบเรรวนแล้วล่ะก็ ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า สีฟ้าให้ผลลัพธ์มากที่สุดต่อทั้งร่างกาย จิตใจ และพฤติกรรมของคุณตลอด 24 ชั่วโมง นอกจากนี้ ผลการวิจัยยังมุ่งศึกษาต่อไปอีกว่า “สี” จะช่วยแก้ปัญหาเรื่องโรคซึมเศร้าและปัญหาทางด้านอารมณ์อื่น ๆ ได้อีกไหม
  5. อารมณ์: เมื่อนึกถึงสีเขียว คุณนึกถึงอะไร? ความจริงแล้ว สีเขียว จะทำให้อารมณ์ด้านบวกของคุณมีชัยเหนืออารมณ์ด้านลบ! สีขาวและสีชมพูก็มีผลเช่นเดียวกัน (แต่ยังคงเป็นที่ศึกษากันต่อไป) ในขณะที่สีแดง จะมีผลในทางตรงกันข้าม เนื่องจากเขาว่ากันว่า สีแดงจะนำไปสู่ความล้มเหลว อันตราย หรืออะไรเทือก ๆ นั้น ฟังแล้วก็ชวนน่าขนหัวลุกเหมือนกัน เพราะจะว่าไปแล้ว ก็ชวนให้นึกถึงหนังสยองขวัญหรือหนังฆาตกรรมอะไรทำนองนั้น เพื่อน ๆ ว่าไหมล่ะ?
  6. ความคิดสร้างสรรค์: สีเขียว ไม่ได้เพียงแต่จะช่วยให้คุณอารมณ์ดีและมีอารมณ์บวกเท่านั้น หากแต่ยังช่วยให้ความคิดของคุณลื่นไหล รวมไปถึงสีขาว สีเทา สีแดง หรือสีฟ้า ก็เช่นกัน เพราะต่างก็ส่งผลดีทั้งนั้น ดังนั้น หากคุณกำลังมองหาสีผนังห้องทำงานใหม่ ให้นึกถึงสีเขียวเข้าไว้ หรือมิเช่นนั้น ลองย้ายห้องทำงานไปอยู่ในสนามกอล์ฟดูก็ได้นะ
  7. สีแดง: คุณเคยเห็นปฏิกิริยาของกระทิงเวลาเห็นผ้าแดงหรือเปล่าล่ะ คนเราเองก็เช่นกัน คุณจะมีการโต้ตอบที่รวดเร็วขึ้น และแข็งแกร่งขึ้นเมื่อเห็นสีแดง เนื่องจากสมองจะตอบสนองต่อสัญญาณที่บ่งบอกว่าอาจเกิดอันตรายขึ้นกับคุณ นี่จึงเป็นสาเหตุว่าทำไมร่างกายของคุณจึงเตรียมตัวเพื่อป้องกันตัวเองจากการจู่โจมเสมอ ๆ หรืออย่างกีฬายกน้ำหนักก็เช่นกัน เป็นกีฬาที่ต้องการการระเบิดพละกำลังในช่วงเวลาสั้น ๆ แต่ในบางครั้ง สีแดงก็อาจทำให้คุณไขว้เขวในกีฬาหรือกิจกรรมบางชนิดที่ต้องอาศัยกลยุทธ์ ความคิดสร้างสรรค์ หรือการเคลื่อนไหวที่ซับซ้อน 
  8. ระดับพลังงาน: หากเพื่อน ๆ ลองออกกำลังกายท่ามกลางสิ่งแวดล้อมสีเขียว เพื่อน ๆ อาจมีความสุขมากขึ้นและรู้สึกเหนื่อยน้อยลง ซึ่งก็ดูท่าจะเป็นคำกล่าวที่จริงทีเดียว ลองสังเกตดูสิ คนที่ไปออกกำลังกายด้านนอก เช่น สวนสาธารณะ หรือเรียกง่าย ๆ ว่าเอาท์ดอร์ ก็มีแนวโน้มที่จะได้รับความรู้สึกที่ดีกว่า เพราะบรรยากาศสีเขียวที่ชวนให้สดชื่นสบายตาสบายใจนั่นเอง 
  9. อาหารการกิน: สีของอาหาร ส่งผลต่อความอยากอาหาร คุณเคยเห็นรูปอาหารที่มีสีฟ้าหรือสีชมพูไหม บางครั้งก็ชวนให้รู้สึกอยากอาเจียนเลยก็มี แต่ในที่นี้ เราจะมาพูดถึงสีของจานกับสีของอาหารกัน กล่าวคือ ยิ่งสีตัดกันมากเท่าใด อาหารก็ยิ่งน่ารับประทานน้อยลงเท่านั้น 
  10. ความเลือกกิน: เด็ก ๆ มักจะเจริญอาหารมากขึ้นหากมีจานหลากหลายสีให้เขาเลือก ซึ่งหากคุณอยากให้ลูกหลานของคุณรับประทานผักผลไม้มาก ๆ แล้วล่ะก็ ทางออกหนึ่ง คือ เสิร์ฟอาหารเหล่านั้นบนจานหลากสี รวมไปถึงผักผลไม้ที่หลากสีด้วย เพราะนอกจากจะทำให้เจริญอาหารแล้ว ยังทำให้เด็ก ๆ ได้รับคุณค่าทางสารอาหารที่ครบถ้วนอีกด้วย 
  11. การผ่อนคลาย: หากคุณเป็นคนหนึ่งที่มีอาการไมเกรนแล้วล่ะก็ คุณอาจจะต้องเลี่ยงแสงต่าง ๆ โดยเฉพาะสีฟ้า แดง หรือคลื่นแสงต่าง ๆ  เพราะมันมักจะทำให้อาการไมเกรนของคุณทวีคูณมากยิ่งขึ้น ยกเว้นเสียแต่ว่า..คุณใช้สีเขียว! 

ดูเหมือนว่า “สี” จะมีส่วนสำคัญต่อความสุขและสุขภาพที่ดีของคุณอยู่หลายเปอร์เซ็นต์ทีเดียว หากเพื่อน ๆ จะลองนำวิธีหรือแนวทางเหล่านี้ไปปรับประยุกต์ใช้กับบ้าน ที่ทำงาน หรือสถานที่พักผ่อนดูบ้าง ก็คงไม่เสียหายอะไร หลังอ่านทิปส์เหล่านี้แล้ว ก็เตรียมซื้อถังสีคัลเลอร์ฟูลเอาไว้เยอะ ๆ เลยสิ รับรอง ติดใจแน่นอน!


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Eye color: How it develops and why it changes. All About Vision. (https://www.allaboutvision.com/conditions/eye-color.htm)
How Genetics Determine Eye Color. Verywell Health. (https://www.verywellhealth.com/genetics-of-eye-color-3421603)
Is eye color determined by genetics? - Genetics Home Reference. Genetics Home Reference - NIH. (https://ghr.nlm.nih.gov/primer/traits/eyecolor)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)