แม้ว่าจะไม่มีวิธีคุมกำเนิดใดที่สามารถป้องกันการตั้งครรภ์ได้ 100% จึงมีโอกาสที่จะเกิดการตั้งครรภ์ในระหว่างที่ใช้ยาคุมได้ แต่ก็พบความเสี่ยงนี้น้อยเหลือเกินค่ะ นั่นคือ หากรับประทานยาคุมได้ถูกต้องและเหมาะสม จะพบโอกาสคุมกำเนิดล้มเหลวและตั้งครรภ์ไม่ถึง 1%
ปัญหาการใช้ยาคุมต่อเนื่องโดยไม่รู้ตัวว่าท้อง จึงมักจะเกิดขึ้นในกรณีที่...
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
- เริ่มใช้ยาคุมแผงแรกไม่ถูกต้อง
การใช้ยาคุมแผงแรก ควรใช้เมื่อมั่นใจว่าไม่มีการตั้งครรภ์ก่อนที่จะมีผลคุมกำเนิดได้ค่ะ นั่นคือ ใช้ภายใน 5 วันแรกของการมีประจำเดือน ซึ่งการใช้ในช่วงเวลาดังกล่าวจะทำให้ยาสามารถยับยั้งการตกไข่ในรอบเดือนนั้นได้ทัน จึงถือว่ามีผลคุมกำเนิดได้เลยหลังรับประทานยา
แต่ถ้าเริ่มใช้ไม่ทันช่วงเวลา 5 วันแรกของการมีประจำเดือน จะมีความเสี่ยงที่ยาอาจยับยั้งไข่ตกในรอบเดือนนั้นไม่ทัน หรือมีไข่ตกออกมาแล้ว จึงต้องงดมีเพศสัมพันธ์ หรือคุมกำเนิดด้วยถุงยางร่วมด้วยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์ ในช่วง 7 วันแรกที่เริ่มรับประทานยาคุมชนิดฮอร์โมนรวมค่ะ
สำหรับผู้ที่ใช้ยาคุมแผงแรกไม่ทัน 5 วันแรกของการมีประจำเดือน แล้วมีเพศสัมพันธ์แบบไม่ป้องกันก่อนเริ่มใช้ยาคุม หรือใน 7 วันแรกของการใช้ยาคุมชนิดฮอร์โมนรวม ก็จะมีโอกาสตั้งครรภ์ได้นะคะ เนื่องจากยังไม่มีผลคุมกำเนิดจากยาคุมที่ใช้
- ลืมรับประทาน หรือต่อยาคุมแผงใหม่ช้า
หากใช้ยาคุมชนิดฮอร์โมนรวม และลืมรับประทานยาติดต่อกัน 2 – 3 วัน หรือต่อยาคุมแผงใหม่ช้า 2 – 3 วัน (จำนวนวันที่แน่นอนจะขึ้นกับปริมาณฮอร์โมนในยาคุมยี่ห้อที่ใช้) ก็จะไม่มีผลคุมกำเนิดต่อเนื่องค่ะ จึงอาจตั้งครรภ์หากมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ป้องกันในระหว่างที่ไม่มีผลคุมกำเนิดจากยาแล้ว
- มีปัญหาที่อาจลดประสิทธิภาพของยาคุม
ผู้ที่ต้องใช้ยาหรือสมุนไพรบางอย่าง เช่น ยารักษาวัณโรค, ยาต้านไวรัสเอดส์, ยากันชัก, สมุนไพรเซนต์จอห์นเวิร์ต อาจลดประสิทธิภาพของยาคุมกำเนิด และเสี่ยงที่จะตั้งครรภ์ได้มากขึ้น ดังนั้น ควรพิจารณาวิธีคุมกำเนิดอื่น ๆ แทนตามความเหมาะสมนะคะ
แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
กด
อย่างไรก็ตาม เมื่อมาทราบภายหลังว่ามีการตั้งครรภ์ไปแล้วในระหว่างที่รับประทานยาคุมกำเนิดอยู่ ผู้ใช้ก็ย่อมจะกังวลว่าจะเป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์หรือเปล่า
จะเสี่ยงมั้ย... และเสี่ยงอย่างไร... ล้อมวงเข้ามาฟังคำตอบกันค่ะ
ในปี ค.ศ.2010 มีการเผยแพร่งานวิจัยที่น่าสนใจในประเด็นนี้จากสหรัฐอเมริกา โดยทำการศึกษาจากผลมาหาเหตุ (Case-control study) ในทารกที่พบความพิการแต่กำเนิด 9,986 คน และทารกปกติอีก 4,000 คน ว่ามีความสัมพันธ์กับการใช้ยาคุมกำเนิดของมารดาในช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์หรือไม่
จากผลการศึกษาชี้ว่า ความผิดปกติแต่กำเนิด 32 ประเภทที่ตรวจสอบ เกือบทั้งหมดไม่ได้เพิ่มขึ้นจากการรับประทานยาคุมในช่วง 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ค่ะ มีเพียงภาวะลำไส้ทะลักในทารก(Gastroschisis) และภาวะหัวใจด้านซ้ายผิดปกติแต่กำเนิด (Hypoplastic left heart syndrome) เท่านั้น ที่อาจเพิ่มขึ้นเล็กน้อย
แต่อ่านแล้วอย่าเพิ่งวิตกนะคะ มีงานวิจัยใหม่ที่เผยแพร่ ในปี ค.ศ.2016 ซึ่งศึกษาโดยการติดตามสังเกตจากเหตุไปหาผลแบบไปข้างหน้า (Prospective observational cohort study) จากฐานข้อมูลการลงทะเบียนคลอดในเดนมาร์กระหว่างปี ค.ศ.1997 – 2011 รวม 880,694 ราย และพิจารณาความสัมพันธ์ของการใช้ยาคุมกำเนิดของมารดาก่อนตั้งครรภ์และในช่วงแรกของการตั้งครรภ์ กับความพิการแต่กำเนิดของทารก
ซึ่งสรุปได้ว่าการใช้ยาคุมกำเนิดของมารดาในช่วง 3 เดือนก่อนตั้งครรภ์ และในช่วงแรกของการตั้งครรภ์ ไม่ได้เพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดความพิการแต่กำเนิดใด ๆ ต่อทารก รวมถึงความผิดปกติ 2 ประเภทในงานวิจัยข้างต้นด้วยค่ะ
ดังนั้น ผู้ที่ไม่รู้ตัวว่ามีการตั้งครรภ์ แล้วมีการรับประทานยาคุมกำเนิดต่อเนื่อง ก็ไม่ต้องกังวลใจแล้วนะคะ
ถ้ายาเม็ดคุมกำเนิดมีความปลอดภัยต่อทารกในครรภ์ แล้วทำไมจึงห้ามใช้ล่ะ?!?
บางคนอาจจะคุ้นเคยว่า ยาคุมกำเนิดเป็นยาที่อยู่ในกลุ่ม Pregnancy category: X หรือถ้าดูในคู่มือ Drugs in pregnancy and lactation ฉบับล่าสุด ที่ยกเลิกการใช้ Pregnancy category ไปแล้ว ก็จะเห็นเป็น Pregnancy recommendation: Contraindicated ซึ่งหมายถึงห้ามใช้ยานี้ในขณะตั้งครรภ์
เห็นแล้วก็ไม่ต้องตกใจค่ะ ข้อมูลนี้ไม่ได้ขัดแย้งกับผลการวิจัยที่หยิบยกมาให้ดูข้างต้นแต่อย่างใด เหตุผลที่ห้ามใช้ก็เนื่องจากไม่มีประโยชน์ที่จะใช้ยาคุมกำเนิดเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ในผู้ที่ตั้งครรภ์ไปแล้วนั่นเองค่ะ