กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
นพ.ธนู โกมลไสย
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
นพ.ธนู โกมลไสย

ทำไมการได้รับยาเคมีบำบัดจึงทำให้ผมร่วง

เหตุผลที่ทำให้ผู้ป่วยมีอาการผมร่วงระหว่างการให้ยาเคมีบำบัด
เผยแพร่ครั้งแรก 1 ม.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 6 เม.ย. 2021 ตรวจสอบความถูกต้อง 21 ต.ค. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
ทำไมการได้รับยาเคมีบำบัดจึงทำให้ผมร่วง

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • ยาเคมีบำบัดทำงานโดยการพุ่งเป้าไปจัดการเซลล์มะเร็งที่มีการแบ่งตัวสูง แต่ยาเคมีบำบัดทั่วไปไม่สามารถแยกความแตกต่างระหว่างเซลล์ปกติที่สามารถแบ่งตัวได้รวดเร็วกับเซลล์มะเร็งได้ เช่น เซลล์เส้นผม ยาจึงจัดการเซลล์เหล่านี้ด้วยจึงทำให้ผมร่วงตามมา
  • มียาเคมีบำบัดบางตัวสามารถพุ่งเป้าเจาะจงไปยังเซลล์มะเร็งได้ จึงทำให้ผู้ป่วยโรคมะเร็งบางคนที่ได้รับยาเคมีบำบัดชนิดนี้ไม่มีภาวะผมร่วง
  • อาการผมร่วงสามารถเกิดขึ้นได้หลายระดับ ขึ้นอยู่กับการตอบสนองยาของผู้ป่วยแต่ละคน ชนิด สูตร และปริมาณของยาเคมีบำบัดที่ใช้ ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการผมร่วงแบบบางๆ ในขณะที่บางรายมีผมร่วงหมดทั้งศีรษะ 
  • ยาเคมีบำบัดยังอาจทำให้หนังศีรษะ และผิวหนัง มีอาการแสบ คัน หรือเจ็บได้ ผู้ป่วยอาจใช้วิธีนี้เพื่อช่วยป้องกัน หรือลดการระคายเคืองของผิวหนัง เช่น ทำความสะอาดหนังศีรษะด้วยแชมพูและครีมนวดผมแบบอ่อน ปกป้องหนังศีรษะจากแสงแดดด้วยการใช้ครีมกันแดด หมวก ผ้าพันคอ หรือวิกผม
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจมะเร็งทั่วไป

อาการผมร่วงถือเป็นผลข้างเคียงที่พบได้บ่อยที่สุดในการรักษาโรคมะเร็งด้วย "ยาเคมีบำบัด" อาการผมร่วงนั้นมักจะเกิดขึ้นหลังจากเริ่มให้ยาเคมีบำบัดไปแล้วประมาณ 2-3 สัปดาห์ 

โดยทั่วไปเส้นผมเหล่านี้สามารถขึ้นมาใหม่ได้หลังจากที่เสร็จสิ้นการรักษาด้วยยาเคมีบำบัดภายใน 2-3 เดือน อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่ทุกคนที่มีอาการผมร่วงจากการให้ยาเคมีบำบัด

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจมะเร็งทั่วไปวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 340 บาท ลดสูงสุด 64%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ทำไมยาเคมีบำบัดจึงทำให้ผมร่วง

แม้ว่าเซลล์มะเร็งจะเป็นเซลล์ที่มีอัตราการแบ่งตัวสูงกว่าเซลล์ภายในร่างกายทุกชนิด แต่ก็มีเซลล์บางชนิดในร่างกายที่สามารถแบ่งเซลล์ได้อย่างรวดเร็วเช่นกัน เช่น เซลล์รากผม เซลล์เยื่อบุกระเพาะอาหาร

เมื่อเริ่มให้ยาเคมีบำบัด ยาเคมีบำบัดจะทำงานโดยการพุ่งเป้าไปจัดการเซลล์มะเร็งที่มีการแบ่งตัวสูง แต่ยาเคมีบำบัดทั่วไปไม่สามารถแยกความแตกต่างระหว่างเซลล์ปกติที่สามารถแบ่งตัวได้รวดเร็วกับเซลล์มะเร็งได้ ยาจึงเข้าไปจัดการเซลล์เหล่านี้ด้วยจนทำให้เกิดอาการผมร่วงตามมานั่นเอง

ทั้งนี้อาการผมร่วงจากการใช้เคมีบำบัดจึงเกิดจากกลไกการทำงานของยาเคมีบำบัดโดยตรง ไม่ได้เกี่ยวข้องกับอาการผมร่วงจากฮอร์โมน

อย่างไรก็ตาม ยาเคมีบำบัดบางตัวสามารถพุ่งเป้าเจาะจงไปยังเซลล์มะเร็งได้ จึงทำให้ผู้ป่วยโรคมะเร็งบางคนที่ได้รับยาเคมีบำบัดชนิดนี้ไม่มีภาวะผมร่วง

อาการผมร่วงหลังการเริ่มให้ยาเคมีบำบัด

อาการผมร่วงสามารถเกิดขึ้นได้หลายระดับ ขึ้นอยู่กับการตอบสนองยาเคมีบำบัดของผู้ป่วยแต่ละคน รวมถึงชนิดและสูตรของยาเคมีบำบัดที่ใช้ ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการผมร่วงแบบบางๆ ในขณะที่บางรายมีผมร่วงหมดทั้งศีรษะ 

นอกจากนี้อาการผมร่วงที่เกิดขึ้นยังเกี่ยวข้องกับปริมาณยาเคมีบำบัดที่ใช้ด้วย หากใช้ในปริมาณน้อยก็อาจได้รับผลข้างเคียงในปริมาณที่น้อยเช่นกัน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

อาการผมร่วงนั้นไม่จำเป็นต้องเกิดขึ้นทันทีหลังจากใช้ยาเคมีบำบัด แต่อาจเกิดขึ้นหลังจากใช้ยาเคมีบำบัดไปแล้วหลายครั้งก็ได้ โดยผมจะค่อยๆ ร่วงเป็นกระจุก หรือร่วงเป็นหย่อมๆ จนเริ่มสังเกตเห็นได้ว่าผมบางลง 

ผู้ป่วยบางคนจึงอาจเลือกโกนศีรษะไปเลยเพราะว่าผมที่เหลืออยู่จะมีลักษณะที่แห้งมากหลังจากใช้ยาเคมีบำบัด

นอกจากเส้นผมที่ร่วงแล้ว ยาเคมีบำบัดอาจทำให้ขนบริเวณอื่นๆ ในร่างกายหลุดร่วงได้เช่นกัน เช่น ขนตา ขนคิ้ว ขนบริเวณแขน ขา รักแร้ หัวเหน่า 

ผมที่ร่วงเหล่านี้มักสามารถงอกขึ้นมาใหม่ได้เองหลังจากหยุดยาเคมีบำบัดภายในระยะเวลา 2-3 เดือน แต่เส้นผมที่งอกขึ้นมาใหม่นั้นอาจมีสี หรือลักษณะที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม

วิธีลดอาการผมร่วงจากการรับยาเคมีบำบัด

นอกจากภาวะผมร่วงแล้ว ยาเคมีบำบัดยังอาจทำให้หนังศีรษะ และผิวหนัง มีอาการแสบ คัน หรือเจ็บได้ ผู้ป่วยอาจใช้วิธีการเหล่านี้เพื่อช่วยป้องกัน หรือลดการระคายเคืองของผิวหนัง

  • ทำความสะอาดหนังศีรษะด้วยแชมพูและครีมนวดผมแบบอ่อน
  • ใช้แปรงที่มีขนแปรงแบบนุ่ม
  • หากต้องใช้เครื่องเป่าผม ควรปรับให้อยู่ในระดับความร้อนต่ำ
  • หากจำเป็นต้องใช้ครีม หรือโลชั่นที่หนังศีรษะ ให้ใช้แบบอ่อน
  • หลีกเลี่ยงการใช้เครื่องดัดผม
  • ไม่ควรย้อมผม หรือใช้สารเคมีที่ทำให้ผมเสียได้
  • อาจพิจารณาตัดผมสั้น เนื่องจากผมสั้นจะทำให้ผมดูหนาขึ้น
  • ปกป้องหนังศีรษะจากแสงแดดด้วยการใช้ครีมกันแดด หมวก ผ้าพันคอ หรือวิกผม
  • นอนบนปลอกหมอนที่ทำจากผ้าซาตินเพื่อป้องกันเส้นผมหัก
  • หากมีความวิตกกังวล หรือมีความเครียดจากภาวะผมร่วง ให้สอบถามกับทีมแพทย์ผู้รักษา หรือพยาบาล หรืออาจพูดคุยกับคนในครอบครัวเพื่อลดความเครียด หรืออาจไปใช้บริการปรึกษาจิตแพทย์เรื่องปัญหาความเครียดต่างๆ ที่เกิดขึ้นระหว่างการรักษาก็ได้ 
  • หากต้องอยู่ในสถานที่ที่มีอากาศเย็นจัด ให้นำผ้าคลุมนิ่มๆ มาปกคลุมหนังศีรษะอย่างมิดชิด
  • การใช้หมวกทำความเย็น (Hypothermia cap) แต่อาจก่อให้เกิดผลเสียตามมาหลายอย่าง เช่น หนังศีรษะบวม ภาวะหัวใจเต้นช้า จึงควรปรึกษาทีมแพทย์ผู้รักษาก่อนใช้

การเลือกใช้ยาเคมีบำบัดทุกครั้ง ทีมแพทย์ผู้รักษาจำเป็นต้องคำนึงถึงประสิทธิภาพในการรักษาเป็นหลัก การเลี่ยงไปใช้ยาที่ไม่ทำให้ผมร่วงอาจทำให้ผลลัพท์การรักษาโรคมะเร็งไม่ดีเท่าที่ควร 

ผู้ป่วยควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับตัวยาที่เหมาะสม และไม่ควรกังวลจนเกิดความเครียด เพราะหลังจากที่เลิกใช้ยาแล้วเส้นผมสามารถงอกขึ้นมาใหม่ได้อีกครั้งหนึ่ง

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจมะเร็งทั่วไป จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกการอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


11 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
WebMD, 12 Chemo Hair Loss Solutions: Wigs and More (https://www.webmd.com/cancer/chemo-hair-loss#1), 20 February 2020.
Shin H, et al., Efficacy of interventions for prevention of chemotherapy‐induced alopecia: A systematic review and meta‐analysis. DOI: (https://doi.org/10.1002/ijc.29115), 21 February 2020.
Rugo HS, et al. Scalp cooling with adjuvant/neoadjuvant chemotherapy for breast cancer and the risk of scalp metastases: systematic review and meta-analysis. DOI: 10.1007/s10549-017-4185-9.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ฉันจะจ่ายค่าวิกผมระหว่างทำเคมีบำบัดอย่างไร
ฉันจะจ่ายค่าวิกผมระหว่างทำเคมีบำบัดอย่างไร

ประกันสุขภาพอาจคลอบคลุมค่าใช้จ่ายการซื้อวิกผม

อ่านเพิ่ม
วัคซีนป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูก
วัคซีนป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูก

หนึ่งในวิธีป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูกที่ง่าย และมีประสิทธิภาพมากถึง 70% หากได้รับวัคซีนในช่วงที่เหมาะสม

อ่านเพิ่ม