อะไรเป็นสาเหตุของแผลร้อนใน?

เรียนรู้เกี่ยวกับสิ่งที่น่าจะเป็นสาเหตุของแผลร้อนใน
เผยแพร่ครั้งแรก 13 มิ.ย. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
อะไรเป็นสาเหตุของแผลร้อนใน?

แผลร้อนในเป็นแผลในปากที่มีอาการเจ็บปวดมากที่เกิดขึ้นโดยไม่ทราบสาเหตุ ทำให้ผู้ที่กำลังทนทรมานจากอาการเจ็บแผลร้อนในตั้งคำถามว่าอะไรเป็นสาเหตุของแผลพวกนี้?

ร้อนในเกิดจากอะไร?

เรารู้ว่าแผลร้อนในคืออะไร แต่สาเหตุที่แท้จริงนั้นยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด ในทางสถิติแล้ว ผู้หญิงจะเป็นแผลร้อนในได้มากกว่าผู้ชาย และแม้จะเป็นที่ทราบกันอยู่แล้วว่าพบได้ในทุกช่วงอายุ แต่มักพบในคนอายุช่วง 10 ถึง 40 ปี มีเหตุผลที่ทำให้เชื่อได้ว่าแบคทีเรียและไวรัสบางชนิดทำให้เกิดแผลร้อนในได้ แผลร้อนในไม่ได้เป็นโรคติดต่อ และไม่สัมพันธ์กับ herpes simplex virus ซึ่งจะเป็นแผลที่ไม่เจ็บปวด (cold sores)

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

สาเหตุของแผลร้อนใน

  • การบาดเจ็บในปาก เช่นที่พบได้บ่อยๆ ในนักกีฬาพวกที่ต้องเข้าถึงตัว การบังเอิญกัดริมฝีปากหรือกระพุ้งแก้มก็ทำให้เกิดแผลร้อนในได้เช่นกัน
  • อาหารหรือเครื่องดื่มร้อนๆ ก็อาจทำให้เกิดแผลร้อนในในช่องปากบริเวณที่ถูกลวกได้
  • อาหารรสเผ็ดหรืออาหารที่มีกรดมากก็มักทำให้เกิดแผลร้อนในได้จากการระคายเคืองช่องปากจากกรดและเครื่องเทศ
  • การเคี้ยวยาสูบ ทำให้เกิดแผลร้อนในได้ในบริเวณที่คาบยาสูบไว้ ด้วยกระบวนการระคายเคืองจากสารเคมีในยาสูบ
  • ฟันปลอมที่ไม่พอดีปาก อาจทำให้เกิดแผลร้อนในได้ในบริเวณที่ฟันปลอมดังกล่าวถูกับช่องปาก การเกิดแผลร้อนในเป็นสัญญาณเตือนแรกที่บ่งชี้ความจำเป็นในไปพบทันตแพทย์เพื่อจัดฟันปลอมใหม่
  • ลวดดัดฟัน ยางรัดฟัน และเครื่องมือจัดฟันต่างๆจะทำให้เกิดแผลร้อนในได้ในบริเวณที่อุปกรณ์เสียดสีกับช่องปาก ซึ่งพบได้บ่อยในช่วงที่เริ่มจัดฟัน และอาจเกิดได้ในแต่ละครั้งที่มาจัดฟันเพิ่มในขั้นตอนของการจัดฟัน
  • การแพ้โลหะเช่นนิคเกิลก็อาจเกิดขึ้นได้ในช่องปากของผู้ที่ใส่อุปกรณ์จัดฟัน แผลร้อนในอาจเริ่มเกิดขึ้นในบริเวณใกล้เคียงกับอุปกรณ์ดังกล่าว ซึ่งมักเรียกว่าการแพ้จากการสัมผัส (contact dermatitis)
  • ฟันที่หักมักจะแหลม และอาจถูเนื้อเยื่อในช่องปาก ทำให้เกิดแผลร้อนในได้ ทั้งนี้ที่อุดฟันที่แตกก็เช่นกัน
  • ความเครียดก็ถูกระบุว่าเป็นตัวกระตุ้นหนึ่งที่น่าจะเป็นสาเหตุของการเกิดแผลร้อนในได้เช่นกัน
  • แบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของการเกิดแผลในกระเพาะก็สัมพันธ์กับการเกิดแผลร้อนในได้เช่นกัน
  • การขาดวิตามิน โดยเฉพาะวิตามินบี 12 โฟเลต และธาตุเหล็ก อาจกระตุ้นให้เกิดแผลร้อนในได้
  • การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน โดยเฉพาะช่วงที่มีประจำเดือน ช่วงกำลังตั้งครรภ์ และช่วงวัยทอง ก็มีความสัมพันธ์กับแผลร้อนในเช่นกัน
  • แผลร้อนในมักเกิดขึ้นในสมาชิกในครอบครัว ดังนั้นพันธุกรรมอาจเป็นปัจจัยหนึ่งด้วย
  • ปฏิกิริยาการแพ้และความไวต่ออาหารบางชนิดอาจทำให้เกิดแผลร้อนในได้ ปฏิกิริยาการแพ้แบคทีเรียบางประเภทที่พบในช่องปากอาจทำให้เกิดแผลในปากนี้ได้
  • ผู้ป่วยด้วยโรค Celiac disease ก็อาจมีแผลร้อนในได้เช่นกัน ซึ่งกลูเตน (gluten) อาจมีความสัมพันธ์กับการเกิดแผลร้อนในในผู้ที่เป็นโรค Celiac disease
  • จากข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องโรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง (inflammatory bowel disease: IBD) มักระบุว่าแผลร้อนในเป็นภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นสัมพันธ์กับโรค Crohn’s disease และ ulcerative colitis
  • แผลเจ็บในปากยังเป็นอาการที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยภูมิคุ้มกันบกพร่อง เช่นผู้ป่วย HIV หรือ AIDS
  • ผู้ป่วยโรค Behcet’s disease ก็อาจมีแผลร้อนในได้
  • Sodium lauryl sulfate ซึ่งเป็นสารประกอบที่พบได้ทั่วไปในยาสีฟัน ก็มีความเกี่ยวข้องกับการเกิดแผลร้อนใน
  • การรักษาแผลร้อนใน
  • เนื่องจากแผลร้อนในมักหายได้เองอย่างรวดเร็ว ส่วนใหญ่แล้วจึงไม่ได้มีความจำเป็นที่จะต้องรักษา แต่หากแผลร้อนในคงอยู่นานกว่า 2 สัปดาห์ ก็ควรไปพบทันตแพทย์
  • คุณควรไปพบทันตแพทย์ทันทีหากแผลร้อนในเป็นดังนี้
  • ใหญ่กว่าปกติ
  • เจ็บมากจนเป็นอุปสรรคต่อการกิน การดื่ม และการพูด
  • เริ่มเป็นแผลร้อนในบ่อยกว่าปกติ
  • แผลไม่หายไปใน 14 วัน
  • มีไข้สูงร่วมด้วย
  • มีการติดเชื้อ

25 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Canker Sore Causes and Treatment. Verywell Health. (https://www.verywellhealth.com/what-causes-canker-sores-1058924)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)