สาเหตุของโรคเสื่อมของเซลล์ประสาทสั่งการ

เผยแพร่ครั้งแรก 10 มิ.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
สาเหตุของโรคเสื่อมของเซลล์ประสาทสั่งการ

โรคเสื่อมของเซลล์ประสาทสั่งการเกิดขึ้นเมื่อเซลล์ประสาทชนิดหนึ่งซึ่งเรียกว่าเซลล์ประสาทสั่งการ ที่อยู่ในสมองและไขสันหลังเสื่อมตัวลงอย่างต่อเนื่อง และไม่สามารถทำงานได้เช่นเดิม ยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่าเหตุใดจึงเกิดภาวะดังกล่าวขึ้น

ผู้ป่วยโรคเสื่อมของเซลล์ประสาทสั่งการส่วนใหญ่จะไม่พบประวัติครอบครัวที่เกิดอาการดังกล่าวแต่อย่างใด ซึ่งจะเรียกว่าเป็นโรคเสื่อมของเซลล์ประสาทสั่งการที่เกิดเป็นครั้งคราว (sporadic motor neuron disease) นักวิจัยเชื่อว่าสาเหตุอาจเกิดจากปัจจัยหลายอย่างรวมกันทั้งความเสียหายของปัจจัยทางกรรมพันธุ์ และปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม เมื่ออายุมากขึ้น ร่างกายของมนุษย์อาจค่อย ๆ สูญเสียความสามารถในการจัดการความเสียหายนี้ให้อยู่ภายใต้การควบคุม และทำให้เกิดการเสื่อมของระบบประสาทแบบกลับคืนสภาพเดิมไม่ได้

ประมาณ 5% ของผู้ป่วยโรคเสื่อมของเซลล์ประสาทสั่งการมีญาติสายตรงที่เป็นโรคเดียวกัน หรือภาวะที่เกี่ยวข้องชื่อว่าโรคสมองส่วนหน้าและส่วนขมับเสื่อม (frontotemporal dementia) จะเรียกภาวะนี้ว่า โรคเสื่อมของเซลล์ประสาทสั่งการชนิดสืบทอดในครอบครัว (familial motor neuron disease) โดยสามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมไปสู่ลูกหรือหลานได้ หรือมีความเกี่ยวข้องกับปัญหาความผิดปกติของยีนซึ่งอาจทำให้เกิดปัญหาขึ้นในวัยเด็กกว่าปกติ

สาเหตุที่เป็นไปได้ของโรคเสื่อมของเซลล์ประสาทสั่งการ

ยังไม่มีหลักฐานชัดเจนว่าทำไมเซลล์ประสาทสั่งการจึงเริ่มสูญเสียการทำงานไป ผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่เชื่อว่าเป็นการรวมกันของปัจจัยที่เกี่ยวข้องกันหลายอย่างซึ่งส่งผลต่อทั้งเซลล์ประสาทสั่งการเอง หรือเซลล์ประสาทข้างเคียงที่ทำหน้าที่สนับสนุนเซลล์ดังกล่าว

การรวมกลุ่มของโปรตีน (Aggregates) และกระบวนการของอาร์เอ็นเอ

การรวมกลุ่มของโปรตีนเป็นภาวะผิดปกติซึ่งเกิดขึ้นภายในเซลล์ประสาทสั่งการ กลุ่มของโปรตีนที่ผิดปกตินี้พบในเกือบทุกกรณีของโรคเสื่อมของเซลล์ประสาทสั่งการ และอาจเป็นสาเหตุที่รบกวนการทำงานปกติของเซลล์ประสาทดังกล่าวหรืออย่างน้อยเป็นเครื่องหมายที่แสดงให้เห็นเซลล์มีความเครียดมาก

การรวมกลุ่มของโปรตีนผิดปกติที่พบมากที่สุดคือชนิด TDP-43 ซึ่งเป็นโปรตีนที่สำคัญมากในการประมวลผลคำสั่งทางพันธุกรรมของเซลล์ผ่านโมเลกุลที่เรียกว่า RNA ให้ถูกต้องสมบูรณ์

การหยุดชะงักของระบบขนส่งเซลล์ (Cell transport disruption)

เซลล์ทุกเซลล์ในร่างกายมีระบบการขนส่งที่ทำหน้าที่เคลื่อนย้ายสารอาหารและสารเคมีอื่น ๆ เข้าไปในเซลล์และนำขยะออกมาจากเซลล์ การวิจัยชี้ให้เห็นว่าระบบขนส่งในเซลล์ประสาทสั่งการของผู้ป่วยโรคนี้ผิดปกติและหยุดชะงัก เมื่อเวลาผ่านไป การทำงานของเซลล์ตามปกติก็ทำให้เกิดขยะซึ่งเป็นสารเคมีที่เป็นสะสมอยู่ในเซลล์

ร่างกายจะกำจัดของเสียที่เป็นพิษดังกล่าวโดยการผลิตสารที่เรียกว่า สารต้านอนุมูลอิสระ และบรรจุของเสียลงในถุงเล็ก ๆ ในเซลล์ที่เรียกว่า ไมโครเวสสิเคิล (microvesicles) การวิจัยหลายชิ้นชี้ให้เห็นว่าในโรคเสื่อมของเซลล์ประสาทสั่งการ เซลล์ดังกล่าวอาจจะขาดสารต้านอนุมูลอิสระ อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีหลักฐานชี้ชัดว่าเป็นเพราะการบริโภคอาหารที่ไม่ดีหรือไม่

เซลล์เกลีย (Glial cell)

เซลล์เกลียเป็นเซลล์ที่อยู่ล้อมรอบเซลล์ประสาทสั่งการ และทำหน้าที่สนับสนุนการทำงานรวมถึงส่งสารอาหารต่าง ๆ ให้ด้วย เซลล์เกลียยังช่วยถ่ายทอดข้อมูลจากเซลล์ประสาทหนึ่งไปยังอีกเซลล์หนึ่ง

บางกรณีของโรคเสื่อมของเซลล์ประสาทสั่งการอาจเกิดจากปัญหาเกี่ยวกับเซลล์เกลีย นั่นหมายความว่าเซลล์ประสาทมอเตอร์ไม่ได้รับการสนับสนุนและไม่ได้รับสารอาหารที่จำเป็นเพื่อให้สามารถทำงานได้ตามปกติ

สารกลูตาเมต (Glutamate)

เซลล์ประสาทต่าง ๆ ใช้สารเคมีพิเศษเพื่อสื่อสารกันโดยเรียกว่าสารสื่อประสาท (neurotransmitters) เพื่อส่งข้อมูลจากเซลล์หนึ่งไปยังอีกเซลล์หนึ่ง สารสื่อประสาทชนิดหนึ่งมีชื่อว่ากลูตาเมต มีหลักฐานว่า เซลล์ประสาทสั่งการในผู้ป่วยโรคเสื่อมของเซลล์ประสาทสั่งการนั้นอาจมีความไวต่อกลูตาเมตมากขึ้น ส่งผลให้เซลล์เหล่านี้เกิดความเสียหาย อย่างไรก็ตามสิ่งนี้ไม่ได้สัมพันธ์กับการบริโภคอาหารที่มีกลูตาเมตแต่อย่างใด

ไมโตคอนเดรีย (mitochondria)

ไมโตคอนเดรียเป็นอวัยวะของเซลล์ที่ถือเป็น "แบตเตอรี่" ของเซลล์ โดยผลิตพลังงานที่เซลล์ต้องการในการทำงานตามปกติ การวิจัยแสดงให้เห็นว่าไมโตคอนเดรียในเซลล์ประสาทของผู้ป่วยนั้นดูเหมือนจะมีความผิดปกติ

โรคเสื่อมของเซลล์ประสาทสั่งการชนิดสืบทอดในครอบครัว

ความจริงที่ว่าโรคเสื่อมของเซลล์ประสาทสั่งการสามารถสืบทอดต่อกันในครอบครัวได้ แสดงให้เห็นว่าการกลายพันธุ์ทางพันธุกรรม (genetic mutation) เพียงหนึ่งครั้งที่ได้รับสืบทอดมาจากพ่อหรือแม่นั้นบางครั้งอาจมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาให้เกิดโรคนี้

การกลายพันธุ์ทางพันธุกรรมเกิดขึ้นเมื่อคำสั่งในเซลล์ถูกรบกวนด้วยบางสิ่งบางอย่าง ส่งผลให้กระบวนการของร่างกายทำงานไม่ถูกต้องอย่างน้อยหนึ่งขั้นตอน หรือมากกว่านั้น

การกลายพันธุ์ทางพันธุกรรมสี่รูปแบบถูกค้นพบและระบุตำแหน่งได้ใน 5% ของผู้ที่มีประวัติครอบครัวเป็นโรคเสื่อมของเซลล์ประสาทสั่งการ หรือภาวะที่เกี่ยวข้องคือโรคขมับและสมองส่วนหน้าเสื่อม (frontotemporal dementia)

กลุ่มที่ใหญ่ที่สุดคือประมาณหนึ่งในสามของผู้ป่วยดังกล่าวมีพื้นที่ของยีนที่ชื่อ C9ORF72 ขยายกว้างมากขึ้น บางคนที่มีความผิดปกติของยีนดังกล่าวเป็นโรคเสื่อมของเซลล์ประสาทสั่งการ และบางคนก็เกิดเป็นโรคขมับและสมองส่วนหน้าเสื่อม และบางส่วนก็เป็นทั้งสองโรค ส่วนยีนอื่น ๆ ที่สัมพันธ์กับโรคเสื่อมของเซลล์ประสาทสั่งการชนิดสืบทอดในครอบครัว ได้แก่ SOD1, TARDBP และ FUS

หากพ่อ แม่ พี่สาว น้องสาว พี่ชายหรือน้องชายของคุณเกิดเป็นโรคเสื่อมของเซลล์ประสาทสั่งการขึ้นและพบว่ามียีนที่ผิดปกติเหล่านี้ คุณมีโอกาส 50% ในการได้รับยีนเดียวกันจากพ่อและแม่ แต่ที่สำคัญคือไม่ได้หมายความว่าคุณจะเกิดเป็นโรคดังกล่าวด้วยในช่วงชีวิตของคุณเสมอไป

หากคุณได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคเสื่อมของเซลล์ประสาทสั่งการ แต่ไม่มีประวัติครอบครัวที่เป็นโรคเดียวกัน ความเสี่ยงโดยรวมของบุตรหลานของคุณในปัจจุบันถือว่าเท่ากับประชากรทั่วไป

คุณสามารถเข้ารับการตรวจทางพันธุกรรมเพื่อหาว่าคุณมียีนที่กลายพันธุ์ที่สัมพันธ์กับโรคเสื่อมของเซลล์ประสาทสั่งการที่สืบทอดในครอบครัวหรือไม่ แพทย์ประจำตัวของคุณสามารถให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ หรือบุคลากรที่เหมาะสมซึ่งสามารถเข้าปรึกษาเรื่องปัญหาทางพันธุกรรมดังกล่าวได้

https://www.nhsinform.scot/illnesses-and-conditions/brain-nerves-and-spinal-cord/motor-neurone-disease-mnd#causes


30 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Alzheimer's disease - Causes. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/conditions/alzheimers-disease/causes/)
Alzheimer's disease: Symptoms, stages, causes, and treatment. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/159442)
What Causes Alzheimer's Disease?. National Institute on Aging. (https://www.nia.nih.gov/health/what-causes-alzheimers-disease)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)