สาเหตุ และอาการ ของโรคอาหารเป็นพิษ

เผยแพร่ครั้งแรก 28 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
สาเหตุ และอาการ ของโรคอาหารเป็นพิษ

โรคอาหารเป็นพิษ แม้จะเป็นโรคที่ไม่ได้มีอาการร้ายแรงมาก แต่ก็เป็นโรคที่เกิดขึ้นค่อนข้างง่าย และบ่อยที่สุดโรคหนึ่งในประเทศไทย และเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย เราจึงควรเรียนรู้เกี่ยวกับโรคนี้ไว้บ้าง เมื่อเกิดขึ้นกับตัวเองหรือคนใกล้ตัว เราจะได้สามารถแก้ไขสถานการณ์เฉพาะหน้า หรือรักษาได้อย่างถูกต้องและทันเวลา

สาเหตุของโรคอาหารเป็นพิษ

สาเหตุของโรคอาหารเป็นพิษเกิดได้ 2 ลักษณะคือ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

  1. ร่างกายได้รับเชื้อโรค เช่น ไวรัสตับอักเสบชนิดเอ อะดีโนไวรัส เป็นต้น
  2. ร่างกายได้รับสารพิษ เช่น พิษจากเห็ด สารหนู หรือสารปรอทเป็นต้น

อาการของโรค

อาการของโรคอาหารเป็นพิษ แบ่งเป็น 2 แบบ

  1. อาการท้องเสียแบบไม่รุนแรง จะมีอาการถ่ายเหลว มีอาการปวดท้องไม่รุนแรง แต่จะทำให้ร่างกายขาดน้ำได้
  2. แบบที่เชื้อโรคทำลายเยื่อเมือกในกระเพาะอาหาร แบบนี้จะส่งผลรุนแรงและมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่นเป็นไข้ อาเจียน ปวดเมื่อย อ่อนเพลีย

ที่กล่าวมาทั้งหมดในข้างต้น เป็นอาการที่เกิดจากการได้รับเชื้อโรคเท่านั้น ส่วนอาการที่เกิดจากการได้รับสารเคมีนั้นยังไม่ได้ระบุแน่ชัด

อาการของโรคนี้ร้อยละ 80-90 ไม่รุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต อาการจะหายไปเองในระยะเวลา 2-3 วัน แต่อาการจะส่งผลรุนแรงในเด็ก ผู้สูงอายุ และผู้ป่วยโรคเอดส์

การรักษา

หากอาการของเราอยู่ในแบบไม่รุนแรง ให้เรารักษาตามอาการได้ เช่นการดื่มน้ำมากๆ ดื่มเกลือแร่ แต่ถ้ามีอาการในแบบรุนแรง คือมีอาการอื่นร่วมด้วย ควรไปพบแพทย์เพราะเชื้อโรคจะสามารถแพร่ผ่านลำไส้ เข้าสู่กระแสเลือดของเราได้จากแผลที่จะเกิดขึ้น

การรักษาของแพทย์ก็จะแบ่งเป็นสองส่วนคือรักษาตามอาการ เช่นให้ยาลดไข้ ให้น้ำเกลือ และการรักษาตามสาเหตุคือการให้ยาปฏิชีวนะ (ในกรณีที่สงสัยว่าเกิดจากการทานเห็ด หรืออาหารทะเลควรพบแพทย์ทันที)

การดูแลตนเอง

อาการท้องเสียนั้นจะอยู่กับเราประมาณสามวัน และในช่วงนี้จึงไม่ควรทานอาหารที่มีรสจัด ไม่ควรทานอาหารขณะที่มีอาการคลื่นไส้หรือปวดท้อง ควรดื่มน้ำมากๆ(ค่อยๆจิบครั้งละน้อยๆ) และถ้า 3 วันและยังมีอาการอยู่ (แม้ว่าจะดีขึ้นก็ตาม) ควรไปพบแพทย์เช่นกัน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

มื้อไหนทำให้มีอาการ? เป็นคำถามที่มักตามมาทันทีเมื่อมีอาการ คำตอบนั้นหาได้ยากมาก เพราะอาการอาจเกิดจากแค่การดื่มนั้นก็เป็นได้ และอาการของโรคนี้เกิดได้ 2 ระยะ หลังจากการได้รับสารพิษ คือ 2-6 ชั่วโมง และ 2-3 วัน เมื่อไปพบแพทย์ควรบอกกับแพทย์เรื่องอาหารที่ทานตลอด 3 วันที่ผ่านมา

การป้องกัน

  • ล้างมือทุกครั้งก่อนรับประทานอาหาร
  • เลือกทานอาหารที่สุก สะอาด
  • ควรละลายอาหารแช่แข็งด้วยไมโครเวฟ ไม่ควรปล่อยให้ละลายเองตามธรรมชาติ
  • ไม่ควรทานอาหารที่เก็บไว้นานโดยเฉพาะอาหารที่มีรถเปรี้ยว
  • หากต้องทานอาหารนอกบ้านควรเลือกร้านที่สะอาด ผู้ปรุงแต่งตัวสะอาด สถานที่ถูกสุขลักษณะ
  • ควรเก็บเนื้อสัตว์สดแยกจากอาหารชนิดอื่น เพราะเชื่อแบคทีเรียส่วนใหญ่อยู่ในอาหารจำพวกนี้

เราได้เรียนรู้เกี่ยวกับโรคอาหารเป็นพิษแล้ว ควรที่จะนำไปปฏิบัติอย่างยิ่งโดยเฉพาะการป้องการนั้นถือว่าสำคัญที่สุด เพราะความไม่มีโรคนั้นคือลาภอันประเสริฐ


26 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Food poisoning. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/conditions/food-poisoning/)
Food poisoning: Treatment, symptoms, and causes. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/154555)
Food Poisoning Symptoms | Food Safety. Centers for Disease Control and Prevention (CDC). (https://www.cdc.gov/foodsafety/symptoms.html)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)