เราใช้ยาหมดอายุได้ไหม?

เผยแพร่ครั้งแรก 18 มี.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
เราใช้ยาหมดอายุได้ไหม?

 สิ่งต่อไปนี้มีอะไรที่เหมือนกัน : คนแพ้หมามุ่ยอย่างแรง ไข้หวัดใหญ่ ข้อเท้าพลิก และปวดท้องเมื่อมีประจําเดือน ? สถานการณ์ที่ว่ามาทั้งหมด ทําให้เราต้องไปซื้อยามากิน แล้วจบลงด้วยการกินไม่กี่ครั้งก็ลืมกินต่อลงท้าย ก็มักเอายาที่เหลือๆ ไปไว้ที่ตู้ยา เก็บไปเก็บมานานเข้า ยาก็เลยวันหมดอายุ ครั้นอยู่ๆ มาก็มีเหตุให้ต้องการใช้ยานั้นขึ้นมา คุณจะโยนยาเก่าทิ้งแล้วไป ซื้อใหม่หรือว่าจะเสี่ยงกินมันให้รู้แล้วรู้รอดไป ?

ความไม่แน่ใจนี่เองที่เป็นเหตุให้หลายครั้งผมได้รับโทรศัพท์นอกเวลางาน คนไข้บางรายก็สงสัยว่า ยาจะยังมีประสิทธิภาพอยู่ไหม บางคนก็กลัวว่าจะเป็นอันตราย เรานึกเทียบกับอาหารที่หมดอายุ ผมไม่เคยรู้จัก ใครยอมดื่มนมที่เลยวันหมดอายุไป 2 อาทิตย์เลยสักคน โชคดีว่ามีผู้ทําการศึกษาอย่างกว้างขวางถึงความปลอดภัยในการใช้ยาที่หมดอายุไปแล้ว ผลการศึกษายอมรับว่า ในกรณีส่วนใหญ่ไม่ว่าจะยาที่แพทย์สั่งหรือยาที่ซื้อจากห้างก็ยังคงปลอดภัยและมีประสิทธิภาพอยู่อีกนานหลังวันหมดอายุ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

คําอธิบายคือ เพื่อเป็นการปกป้องประชากร นับแต่ปี 2522 กฎหมาย กําหนดให้บริษัทยาต้องใส่วันที่ที่ยาจะยังคงมีประสิทธิภาพดีอยู่แสดงไว้ บนบรรจุภัณฑ์ ความแตกต่างอยู่ตรงนี้ครับ องค์การอาหารและยาไม่ได้ ต้องการให้ใส่วันที่บอกว่ายาเริ่ม “เสื่อมสภาพ” หรือไม่ได้กําหนดให้บริษัท ยาทดสอบว่าเป็นแบบนั้น แต่บริษัทยาต้องใส่วันที่ที่ยืนยันได้ว่า เมื่อถึงเวลานั้น ยาจะยังคงมีประสิทธิภาพออกฤทธิ์ได้ดีอยู่ สําหรับยาทั่ว ๆ ไป บริษัทยากําหนดชี้ขาด เลือกเอากรอบเวลาไม่นานนัก ผู้ผลิตอ้างว่าหากเก็บยาไว้ยิ่งนาน ก็เปลืองค่าใช้จ่ายในการต้องนํายาไปทดสอบ ประสิทธิภาพ สู้เลือกใส่วันที่ไม่นานเกินไปจะคุ้มค่าใช้จ่ายกว่า

ประเด็นเรื่องอายุของยานี่ผมรู้ดีครับ สี่ปีที่ผมทํางานที่องค์การอาหาร และยา ผมรับผิดชอบเรื่องการกําหนดแผนการสะสมยาของชาติ มีน้อยคนที่จะทราบว่า รัฐบาลมีคลังรวบรวมยาปริมาณมหาศาล ทั้งยาปฏิชีวนะตัว สําคัญวัคซีน และยาอีกหลายชนิดที่จําเป็นในภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข เราโชคดีที่ส่วนมากแล้วมันไม่ถึงเวลาต้องนําออกมาใช้ เรามีหน้าที่คอยเฝ้า ระวังไปเรื่อยๆ ยาในคลังมีมูลค่านับพันล้านดอลลาร์เชียวนะครับ รัฐบาลจึงไม่อยากเอาไปทิ้ง นอกเสียจากว่าใช้ไม่ได้แล้วจริงๆ มีการจัดโครงการ “ยืดอายุยาบนชั้น” ขึ้นในสหรัฐอเมริกา นําเอายามาทดสอบฤทธิ์และความปลอดภัยเป็นระยะ ผลการทดสอบพบว่า ยาเกือบทุกอย่างยังคงมีประสิทธิภาพดีอยู่ต่อมาอีกหลายปีหลังจากวันหมดอายุที่ระบุไว้

ความเข้าใจของสาธารณชนต่อข้อเท็จจริงนี้ยังน้อยมาก ผมไปเคาะประตูบ้านเพื่อขอเข้าไปสํารวจตู้ยา ในรายการ Good Morning America ช่วง “หมอมาเคาะประตู” ผมบอกให้ก็ได้ว่า คุณจะรู้จักตัวจริงของใครสักคน ได้จากการดูตู้ยาของคนๆ นั้น และมีสิ่งหนึ่งที่ทุกคนที่ผมคุยด้วยเป็นเหมือนๆ กัน นั่นก็คือ พวกเขาไม่ค่อยแน่ใจว่าจะจัดการดูแลยาในตู้อย่างไร ที่เป็นอย่างนั้น ส่วนหนึ่งก็เพราะไม่แน่ใจว่า เมื่อไรควรเก็บเมื่อไรควรทิ้งยาทั้งหลายนั้นเอง

บริษัทยาอยู่ในธุรกิจทํากําไร ยิ่งคุณเติมยาในตู้ยาบ่อยเท่าไร พวกเขายิ่งชอบ รวมถึงการซื้อยาเปลี่ยนใหม่ทั้งที่ของเก่ายังดีอยู่ด้วย หากมีความอย่างนี้ครับ กังวลใจว่าอะไรควรใช้ อะไรไม่ควรใช้เมื่อเลยวันหมดอายุ ผมมีคําแนะนํา

  • สําหรับยาที่มีความสําคัญ (เช่น ยาหัวใจ ยาลดความดัน) ยึดตามวันหมดอายุ โดยปกติ ถ้าเป็นยาที่จ่ายด้วยใบสั่งจากแพทย์ ยาที่คุณมี ไม่น่าจะอยู่กับคุณมานานเกินหนึ่งปี
  • ยาที่คุณซื้อเองจากชั้นในห้างที่ไม่ใช่ยาน้ำ เก็บในที่เย็น และไม่โดนแสง ไม่ต้องกังวลถึงวันหมดอายุ
  • ยาปฏิชีวนะ กลุ่มนี้ควรเชื่อตามวันหมดอายุเช่นกัน ยาปฏิชีวนะ บางตัวประสิทธิภาพเสื่อมไปตามเวลา หากเก็บรักษาไม่เหมาะสม
  • เมื่อแพทย์จ่ายยาปฏิชีวนะให้ ต้องกินจนหมดจึงจะถูกต้อง ถ้าคุณยังมียาปฏิชีวนะเก่าที่เหลือๆ เก็บอยู่ จัดการทิ้งเสียนะครับ ถ้าคุณมียา ปฏิชีวนะเก็บไว้เพื่อกินเป็นครั้งคราวเวลาท่อปัสสาวะอักเสบ ตามที่แพทย์ แนะนํา ถ้าเลยวันหมดอายุแล้วก็ควรทิ้งเช่นกัน
  • สําหรับยาน้ำ ผมถือวันหมดอายุเป็นเกณฑ์ครับ ยาน้ำมักเสื่อม เร็วกว่ายาเม็ด
  • ไม่ว่าจะเป็นยาใด ถ้าลักษณะภายนอกเปลี่ยนแปลงหรือกลิ่น เปลี่ยนไป โยนทิ้งได้เลยครับ 

บทสรุปของหมอเบซเซอร์

หัวข้อนี้ชวนให้สับสนมอจะทําให้คุณปวดหัวได้เลย เราถูกสอนให้เข้าใจว่า “วันหมดอายุ” แปลว่าวันที่ของนั้นไม่ดีอีกต่อไปแล้ว แต่พอเอาคํานี้มาใช้กับยา สําหรับยาส่วนมาก กลับไม่ได้หมายความอย่างนั้น วันหมดอายุของยากลับแปลว่า เมื่อถึงวัน ดังกล่าว ยายังคงมีประสิทธิภาพดีอยู่ ที่จริงอาจมีโอกาสจะยังดีต่อไปอีกห้าปีด้วยซ้ำ หากกติกานี้ไม่เปลี่ยน (ซึ่งผมก็ไม่คิดว่ามันจะเปลี่ยน) คุณใช้ยาเหล่านี้ได้ ถ้าทําตาม ข้อแนะนําง่าย ๆ ที่ผมบอก รู้อย่างนี้แล้ว คุณคงไม่ต้องออกไปซื้อยาที่ร้านขายยาตอน ดึก ๆ ได้หลายครั้งเชียวครับ

ดูแลแหล่งน้ำใช้ของคุณ

ใช้วิธีต่อไปนี้ในการทิ้งยา เพื่อไม่ให้ยาปนเปื้อนในระบบน้ำใช้ของคุณ นํายาที่จะทิ้งใส่ในถุงพลาสติก เติมน้ำลงไปเล็กน้อยเขย่าแล้วทิ้งไว้จนยาละลาย จากนั้นจึงเติมกากกาแฟหรือทรายแมวลงไป ปิดปากถุงให้สนิทก่อนทิ้งลงถังขยะ

  หากคุณเห็นว่าบทความนี้มีประโยชน์และอยากอ่านเกี่ยวกับหัวข้อนี้เพิ่มเติม สามารถสนับสนุนผู้แต่ง นายแพทย์ริชาร์ด เบซเซอร์  ได้โดยการซื้อหนังสือ “ความจริงจากหมอไขข้อกังขาปัญหาสุขภาพ”


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Is It Okay to Take Expired Medicine?. Health.com. (https://www.health.com/home/expired-medicine)
Drug Expiration Dates - Are Expired Drugs Still Safe to Take?. Drugs.com. (https://www.drugs.com/article/drug-expiration-dates.html)
Is it ok to use medications past their expiration dates?. Harvard Health. (https://www.health.harvard.edu/staying-healthy/is-it-ok-to-use-medications-past-their-expiration-dates)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)