กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

ยาที่กินเพื่อรักษาโรคมีผลต่อผลตรวจภาวะตั้งครรภ์อย่างไร?

โดยทั่วไปมียาไม่กี่ชนิดที่จะส่งผลกระทบต่อผลตรวจภาวะตั้งครรภ์ ซึ่งอาจแปรผลผิดทั้งผลบวกและผลลบ
เผยแพร่ครั้งแรก 28 ธ.ค. 2016 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
ยาที่กินเพื่อรักษาโรคมีผลต่อผลตรวจภาวะตั้งครรภ์อย่างไร?

มีคำถามมากมายเกี่ยวกับผลกระทบของยา มียาอะไรบ้างที่กินเพื่อรักษาโรคและทำให้เกิดผลการทดสอบการตั้งครรภ์ที่เป็นลบ?

โดยทั่วไปมียาไม่กี่ชนิดที่จะส่งผลกระทบต่อผลตรวจภาวะตั้งครรภ์  ซึ่งอาจแปรผลผิดทั้งผลบวกและผลลบ  เหตุผลก็คือการทดสอบภาวะตั้งครรภ์จะวัดระดับฮอร์โมนhuman chorionic gonadotropin (HCG) ในปัสสาวะหรือเลือด  ยาส่วนมากไม่ได้มีผลในการลดหรือเพิ่มระดับฮอร์โมนhuman chorionic gonadotropin (HCG) ในร่างกาย  จึงมักไม่มีผลต่อการตรวจ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ยาปฏิชีวนะมีผลหรือไม่?

ยาปฏิชีวนะจะช่วย ให้ร่างกายต่อสู้กับการติดเชื้อหรือป้องกันการติดเชื้อ ยาเหล่านี้ไม่ได้มีส่วนผสมของฮอร์โมน human chorionic gonadotropin (HCG) แต่สามารถปรับเปลี่ยนประสิทธิภาพของยาคุมกำเนิดที่คุณกิน  หมายความว่า คุณอาจจะมีแนวโน้มที่จะเกิดภาวะตั้งครรภ์ได้  จึงควรแจ้งแพทย์ว่าคุณกินยาปฏิชีวนะอยู่ แพทย์สามารถให้คำแนะนำให้ใช้วิธีคุมการเกิดวิธีอื่นในระยะเวลาที่เหมาะสม

ยาคุมกำเนิดมีผลต่อผลตรวจตั้งครรภ์หรือไม่?

ยาคุมกำเนิดและการคุมกำเนิดรูปแบบอื่นๆ  ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อผลการทดสอบการตั้งครรภ์ในปัสสาวะหรือเลือด เพราะยาเหล่านี้ ไม่มีส่วนผสมของฮอร์โมน human chorionic gonadotropin (HCG)  และไม่ไปเปลี่ยนแปลงระดับฮอร์โมน human chorionic gonadotropin (HCG) ของคุณ ยกเว้นในกรณีของการตั้งครรภ์ (หมายถึงการคุมกำเนิดของคุณล้มเหลว)

ยาเสพติดหรือยากล่อมประสาทมีผลต่อการทดสอบหรือไม่?

เครื่องดื่มแอลกอฮอล์  มาลีฮวนนา (marijuana) กัญชาโคเคน บุหรี่ ไม่ทำให้ผลการทดสอบตั้งครรภ์ผิดพลาด สารบางอย่างอาจทำให้คุณมีโอกาสตั้งครรภ์มากขึ้นเพราะพฤติกรรมเสี่ยง เช่นไม่ใช้การคุมกำเนิดขณะมีเพศสัมพันธ์ แต่จะไม่เปลี่ยนผลการทดสอบการตั้งครรภ์

ยาที่ทำให้ผลตรวจตั้งครรภ์เป็นบวกเท็จ

ยาที่จะทำให้ผลตรวจตั้งครรภ์เป็นบวกเท็จ คือยาที่มีส่วนผสมของฮอร์โมน human chorionic gonadotropin (HCG) ยาเหล่านี้ถูกนำมาใช้ร่วมกับการรักษาภาวะมีบุตรยาก แพทย์จะบอกคุณไม่ให้ใช้ชุดทดสอบการตั้งครรภ์ จนกว่ายาเหล่านี้ได้ถูกขับออกจากร่างกายของคุณจนหมด  แพทย์จะอนุญาต ให้ใช้ชุดทดสอบการตั้งครรภ์ ในเวลาและสถานที่ที่เหมาะสม  ในกรณีของการทดสอบการตั้งครรภ์โดยเลือดอาจจะต้องมีการตรวจซ้ำ

จะทำอย่างไรถ้าคุณคิดว่าผลตรวจตั้งครรภ์ของคุณผิด?

หากคุณทำการทดสอบการตั้งครรภ์ และคิดว่าได้ผลที่ผิด คุณควรรออีก 2-3  วันแล้วทดสอบอีกครั้ง คุณอาจทำการทดสอบเร็วไปและเกิดผลลบที่เป็นเท็จ  เนื่องจากระดับฮอร์โมน human chorionic gonadotropin (HCG) ของร่างกายคุณน้อยเกินไป หากมีผลทดสอบเป็นบวก และคุณคิดว่ามันเป็นเท็จ  หรือคุณพบผลลบ และคุณคิดว่ามันผิดคุณควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับการตรวจร่างกาย เพื่อยุติข้อสงสัย


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
cdc.gov/pregnancy, Effects of pregnancy medication (https://www.cdc.gov/pregnancy/meds/treatingfortwo/research.html)
webmd.com, Effects of pregnancy medication (https://www.webmd.com/baby/guide/taking-medicine-during-pregnancy#1)
ncbi.nlm.nih.gov, Effects of pregnancy medication (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2306033/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ทารกมีอัตราการเต้นของหัวใจช้า อันตรายหรือไม่
ทารกมีอัตราการเต้นของหัวใจช้า อันตรายหรือไม่

เรื่องง่ายๆ ที่คุณแม่ทุกคนต้องใส่ใจเพราะอัตราการเต้นของหัวใจสัมพันธ์กับความปลอดภัยของลูกน้อย

อ่านเพิ่ม
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?

เรียนรู้สัญญาณการตั้งครรภ์นอกมดลูกก่อนที่มันจะฉีกขาด

อ่านเพิ่ม
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?

การตั้งครรภ์ที่เร็วเกินไปที่จะยืนยันด้วยวิธีการทางชีวเคมี

อ่านเพิ่ม