ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ผู้ป่วยจำนวนไม่มากได้พูดถึงเรื่องการใช้ยาคุมกำเนิดของตน ไม่ว่าจะเป็นยาเม็ด ยาแปะ ยาฝัง ยาฉีด หรือห่วงคุมกำเนิด ว่าต่างทำให้พวกเธอรู้สึกซึมเศร้า นอกจากผู้ป่วยที่เข้ามาพูดถึงเรื่องนี้ คนรอบตัวก็เหมือนจะมีอาการเดียวกัน ทำให้เริ่มมีการรายงานถึงอารมณ์ที่เปลี่ยนแปลงอาจมีความสัมพันธ์กับยาที่เกี่ยวข้องกับฮอร์โมนเช่นนี้
ในขณะที่หลาย ๆ การศึกษาไม่ได้แสดงถึงความสัมพันธ์ที่ชัดเจนระหว่างยาคุมกำเนิดและโรคซึมเศร้า มีหลายการศึกษาที่ได้รวบรวมข้อมูลทั้งหมดและพบว่าข้อมูลที่ผ่านมานั้นไม่ได้คุณภาพเท่าที่ควร เนื่องจากวิธีการรวบรวมข้อมูลนั้นมีความเชื่อถือต่ำ เช่น การให้นึกย้อนหรือจากความรู้สึกนึกคิดของตัวเอง และปริมาณผู้เข้าร่วมวิจัยที่น้อยเกินไป ผู้เขียนจึงได้สรุปว่ายังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจนจากงานวิจัยข้างต้นที่จะระบุว่ายาคุมกำเนิดนั้นมีความสัมพันธ์กับโรคซึมเศร้าจริง
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
การศึกษาเกี่ยวกับการใช้ยาคุมกำเนิดและโรคซึมเศร้า ที่เชื่อถือได้มาก
อย่างไรก็ตาม จากการศึกษาใหม่ ๆ ที่เชื่อถือได้มากขึ้นนั้น เช่น การศึกษาในผู้หญิงเดนมาร์กตั้งแต่อายุ 14 ปีขึ้นไป โดยใช้ข้อมูลจากข้อมูลการวินิจฉัยและใบสั่งยาแพทย์ ข้อมูลเหล่านี้มีเก็บอยู่เนื่องจากประเทศเดนมาร์กมีการจัดเก็บข้อมูลเกี่ยวกับสาธารณสุขไว้อย่างเรียบร้อยมาเป็นเวลากว่าสิบปี พวกเขาจะมีข้อมูลของประชากรทุกคนในเดนมาร์กตั้งแต่ช่วงปี 1970 ข้อมูลอื่น ๆ ที่สามารถหาได้ ได้แก่ ระดับการศึกษา ดัชนีมวลร่างกาย และพฤติกรรมการสูบบุหรี่ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ไม่สามารถระบุตัวบุคคลได้เพื่อเป็นการปกป้องสิทธิส่วนบุคคล และจากการศึกษาเหล่านี้พบว่าการใช้ยาคุมกำเนิดและการเกิดโรคซึมเศร้ามีความเชื่อมโยงกัน
ในการศึกษานี้ศึกษาในผู้หญิงอายุตั้งแต่ 15 ถึง 34 ปี ตั้งแต่ปีค.ศ. 2000 ถึง 2013 และได้คัดกลุ่มที่มีปัญหาทางด้านจิตเวชก่อนหน้านี้ หรือคนที่ไม่สามารถรับประทานยาคุมกำเนิดได้เนื่องจากปัญหาทางสุขภาพอื่น ๆ เช่น ลิ่มเลือดหรือคนที่จำเป็นต้องรับประทานยาคุมกำเนิดเพื่อเหตุผลอื่น ๆ ออกจากกลุ่มการศึกษา นอกจากนี้ยังได้คัดผู้หญิงที่ตั้งครรภ์หรือผู้หญิงที่อยู่ในช่วงหกเดือนหลังคลอด หรือผู้หญิงที่เพิ่งมีการอพยพย้ายที่อยู่ ด้วยวิธีการนี้จะทำให้ป้องกันการรวมผู้หญิงที่ไม่มีประวัติและข้อมูลที่ชัดเจนเข้ารวมอยู่ในงานวิจัย
นักวิจัยได้วิเคราะห์การใช้ยาคุมกำเนิดและโรคซึมเศร้า ในสองวิธีที่แตกต่างกัน นักวิจัยจะเริ่มประเมินผู้หญิงที่เพิ่งได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคซึมเศร้า และผู้หญิงที่เพิ่งได้รับการสั่งยาโรคซึมเศร้า โดยการวิเคราะห์นั้นทำแยกออกจากกัน แต่ว่าผลลัพธ์ทางสถิติกลับได้ไม่ต่างกัน
ความเสี่ยงของการเกิดโรคซึมเศร้าและการใช้ยาคุมกำเนิด แม้จะเล็กน้อยแต่มีอยู่จริง
ยาคุมกำเนิดที่มีส่วนประกอบของฮอร์โมน ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบไหนก็ตาม มีความเกี่ยวข้องที่จะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคซึมเศร้า และความเสี่ยงจะสูงมากขึ้นในชนิดที่มีแต่โปรเจสเตอโรน รวมถึงการใช้ห่วงคุมกำเนิด (IUD) ความเสี่ยงจะสูงมากขึ้นในกลุ่มวัยรุ่นอายุ 15 ถึง 19 ปี โดยเฉพาะการคุมกำเนิดรูปแบบอื่น ๆ ที่ไม่ใช่ยาสำหรับรับประทาน ได้แก่ วงแหวนคุมกำเนิด แผ่นแปะคุมกำเนิด และห่วงคุมกำเนิด โดยสำหรับห่วงคุมกำเนิดแล้วนั้นพบว่ามีความเสี่ยงในการเกิดโรคซึมเศร้าในทุกช่วงอายุอย่างมีนัยสำคัญ แม้โดยทั่วไปแล้วแพทย์จะได้ศึกษามาว่า ห่วงคุมกำเนิดนั้นจะส่งผลแค่บริเวณเฉพาะที่ และไม่มีผลต่อร่างกายในส่วนอื่น ๆ ซึ่งในความเป็นจริงไม่ได้เป็นตามทฤษฏีเช่นนั้น
ดังนั้นแล้ว เราควรที่จะหยุดจ่ายยาคุมกำเนิดหรือไม่ ? ไม่ มันเป็นเรื่องสำคัญที่ควรพึงตระหนักไว้ว่า แม้ความเสี่ยงของการเกิดโรคซึมเศร้าจะเพิ่มขึ้นในผู้หญิงที่ใช้ยาคุมกำเนิด แต่จำนวนทั้งหมดของผู้หญิงที่ได้รับผลกระทบนั้นยังน้อย คือมีเพียงประมาณ 2.2% ของผู้หญิงที่ใช้ยาคุมกำเนิด แล้วเกิดโรคซึมเศร้าขึ้นมา เมื่อเทียบกับอีก 1.7% ที่ใช้ยาคุมแล้วไม่เป็น ซึ่งนั่นแสดงให้เห็นว่ามีเพียงกลุ่มคนบางส่วนที่ได้รับผลข้างเคียงนี้ แต่จะเป็นใครนั้น เราก็ไม่อาจทราบได้ แต่ฉันตั้งใจว่าฉันจะนำความเป็นไปได้ของการเกิดผลข้างเคียงนี้แจ้งให้ผู้ป่วยทุกคนที่ฉันต้องให้คำปรึกษาทราบ เช่นเดียวกันกับที่ฉันต้องให้คำปรึกษาเรื่องความเสี่ยงในการเกิดลิ่มเลือดอุดตัน ความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งเต้านม จากยาคุมกำเนิด สุดท้ายนี้ยาทุกชนิดมีทั้งความเสี่ยงและผลประโยชน์ สำหรับแพทย์แล้วเราจำเป็นต้องตระหนักถึงทั้งสองอย่างนี้เพื่อที่จะสามารถให้คำแนะนำได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด