ก่อนจะอธิบายเรื่องการ ตรวจสมอง อยากให้ทุกคนลองนึกดูว่าตัวเองเคยหรือเปล่า? ที่อยู่ๆ ก็รู้สึกว่าหัวไม่ค่อยเล่น คิดช้า ง่วงซึมผิดปกติ หรืออารมณ์ร้อนผิดจากที่เคย
หลายคนอาจคิดว่าอาการเหล่านี้เป็นแค่เรื่องที่เกิดขึ้นได้ตามปกติ เป็นแค่ชั่วคราว บางทีพอนึกดูแล้วก็มีเหตุผลมากลบว่าอาจเป็นเพราะช่วงนี้พักผ่อนน้อย หักโหม ทำงานหนัก คิดมาก มีเรื่องเครียดมากไป หรืออายุเพิ่มขึ้นเลยหลงๆ ลืมๆ เป็นเรื่องปกติ น่าจะน้อยคนที่คิดว่าอาการดังกล่าวเป็นผลมาจากความผิดปกติของสมอง
โปรแกรมตรวจคัดกรองความเสี่ยง Stroke รพ. บำรุงราษฎร์
วันนี้ถึง 30 พ.ย. 2563 เพียงใส่ Code "BSTM5000" ลดเลย 5,000 บาท
อาจถึงเวลาใส่ใจสมอง อวัยวะในศีรษะก้อนนี้ที่ทำงานอยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าตอนคุณหลับหรือตื่น อวัยวะที่ทำหน้าที่ควบคุมการคิด ความจำ การตัดสินใจ ไปจนถึงสั่งให้ร่างกายเคลื่อนไหว ด้วยการ ตรวจสมอง
สัญญาณที่อาจบ่งบอกถึงความผิดปกติในสมอง
มีหลากหลายอาการที่ดูเหมือนไม่อันตรายเท่าไรนัก แต่จริงๆ แล้วเป็นสัญญาณของอาการผิดปกติในสมอง โดยสามารถแบ่งกลุ่มได้อย่างกว้างๆ ดังนี้
1. กลุ่มอาการที่เกิดจากสมองบาดเจ็บ
อาจมีอาการเหล่านี้
- คลื่นไส้ อาเจียน
- พูดลำบาก
- มีเลือดออกจากหู
- มีอาการชา
- เคลื่อนไหวไม่ได้
- หลงลืม
- มีปัญหาในการตั้งสมาธิ จดจ่อ
หลังจากมีสัญญาณข้างต้น ต่อมาอาการอาจมีความดันเลือดสูง อัตราการเต้นหัวใจต่ำลง ม่านตาขนาย หรือการหายใจผิดปกติ
2. กลุ่มอาการที่เกิดจากเนื้องอกในสมอง
อาจมีอาการเหล่านี้
- ปวดศีรษะ
- ชัก
- ชา หรือเป็นเหน็บบริเวณแขนหรือขา
- คลื่นไส้ อาเจียน
- บุคคลิกภาพเปลี่ยน
- มีปัญหาในการเคลื่อนไหวหรือทรงตัวได้ไม่ดี
- เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการมองเห็น ได้ยิน หรือการพูด
เนื้องอกในสมอง อาจเป็นเนื้องอกธรรมดาหรือเป็นเนื้อร้ายก็ได้ หรือในบางกรณีอาจเป็นเนื้อร้ายที่เกิดบริเวณอื่นก่อน แล้วค่อยลามมายังสมอง ซึ่งอาการและระดับความรุนแรงที่เกิดขึ้นนั้น ขึ้นอยู่กับขนาดและตำแหน่งที่เกิดเนื้องอก
โปรแกรมตรวจคัดกรองความเสี่ยง Stroke รพ. บำรุงราษฎร์
วันนี้ถึง 30 พ.ย. 2563 เพียงใส่ Code "BSTM5000" ลดเลย 5,000 บาท
3. กลุ่มอาการที่เกี่ยวข้องกับความผิดปกติทางระบบประสาท
อาจมีอาการเหล่านี้
- หลงลืม
- ขาดความกระตือรือร้น
- เหนื่อยอ่อน
- กระสับกระส่าย
- ขาดความยับยั้งชั่งใจ
- อารมณ์เปลี่ยน
โรคเกี่ยวกับระบบประสาท จะก่อให้เกิดความเสียหายต่อสมองอย่างถาวร อาการของโรคจะรุนแรงหรือไม่ขึ้นอยู่รับระยะโรคที่เป็น และไม่มีวิธีรักษาให้หายได้ แต่สามารถลดความรุนแรงของอาการให้น้อยลงได้ รวมถึงช่วยคงคุณภาพชีวิตให้ยังดีอยู่
4. กลุ่มอาการที่เกี่ยวข้องกับความผิดปกติทางจิตประสาทและอารมณ์
ความผิดปกติทางจิตประสาทและอารมณ์ที่พบกันได้บ่อย ได้แก่ ภาวะซึมเศร้า ไบโพลาร์ ภาวะป่วยทางจิตที่เกิดขึ้นหลังจากเผชิญเหตุการสะเทือนใจอย่างร้ายแรง (PTSD) หรือโรคทางจิตเภท
อาการแสดงของความผิดปกติเหล่านี้ค่อนข้างหลากหลายมาก ดังนั้นจึงทราบว่า ได้ว่าเป็นหรือไม่จากการเข้ารับการตรวจวินิจฉัยโดยเแพทย์เฉพาะทางเท่านั้น
ตรวจสมองมีกี่แบบ บอกอะไรได้บ้าง?
การหาความผิดปกติทางสมอง เช่น เนื้องอก การตีบตันของเส้นเลือด อาการบาดเจ็บ การเติบโตอย่างผิดปกติของสมอง ภาวะเลือดออกในสมอง ฯลฯ สามารถทำได้ด้วยวิธีตรวจสมอง ซึ่งมีอยู่หลายเทคนิค ได้แก่ ทำ CT Scan, MRI สมอง, ตรวจด้วยวิธี PET, SPECT
แต่ละเทคนิคมีหลักการแตกต่างกัน และเหมาะสำหรับอาการทางสมองต่างๆ ดังรายละเอียดด้านล่างนี้
โปรแกรมตรวจคัดกรองความเสี่ยง Stroke รพ. บำรุงราษฎร์
วันนี้ถึง 30 พ.ย. 2563 เพียงใส่ Code "BSTM5000" ลดเลย 5,000 บาท
1. ตรวจสมองด้วย CT Scan
CT Scan หรือ Computed Tomography Scan เป็นการฉายรังสีเอกซเรย์จากมุมต่างๆ ในอุโมงค์ผ่านทะลุร่างกายผู้รับการตรวจ แล้วแสดงผลออกมาทางจอคอมพิวเตอร์ เป็นภาพเนื้อเยื่อ เส้นเลือด กระดูกในร่างกาย รวมถึงอวัยวะภายในต่างๆ ในลักษณะภาพตัดขวาง
โรคและอาการที่ตรวจพบได้ด้วยการทำ CT Scan สมอง
- ติดเชื้อในสมอง
- เลือดออกในสมอง
- โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke)
- เนื้องอกในสมอง
- เส้นเลือดหรือกระดูกผิดปกติ
- สมองกระทบกระเทือนจากอุบัติเหตุ
- ความเสียหายของสมองที่มีผลต่อโรคลมชัก (Epilepsy)
- น้ำคั่งในโพรงสมอง (Hydrocephalus)
ในขั้นตอนการทำ CT Scan สมองนั้น ผู้รับการตรวจสมองจะต้องนอนนิ่งๆ บนเตียงยาว ซึ่งสามารถเลื่อนเข้าไปในเครื่อง CT Scan ซึ่งมีรูปทรงคล้ายโดนัท ใช้เวลาทั้งสิ้นประมาณ 20 นาที
อาจมีการให้ยาระงับประสาทอย่างอ่อนๆ ร่วมด้วย หากผู้รับการตรวจไม่สามารถอยู่นิ่งได้ หรืออาจมีการใช้หมอนรองศีรษะในบางกรณี นอกจากนี้เพื่อให้ได้ภาพชัดเจนขึ้น ยังอาจมีการฉีดสารทึบรังสีทางเส้นเลือดดำหรือให้รับประทาน ร่วมกับการทำ CT Scan ด้วย ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดความรู้สึกอุ่นหรือเย็นขณะทำการเอกซเรย์
ผู้ที่ตั้งครรภ์อยู่หรือสงสัยว่าอาจตั้งครรภ์ หรือผู้เป็นเบาหวาน ควรแจ้งแพทย์ให้ทราบล่วงหน้าก่อนทำ CT Scan เพราะรังสีอาจมีผลข้างเคียงต่อตัวอ่อน หรือคุณแม่บางคนอาจแพ้สารทึบรังสี ส่วนผู้เป็นเบาหวานซึ่งรับประทานยากลูโคเฟจ (Glucophage) อาจเกิดภาวะกรดจากกระบวนการเผาผลาญ (Metabolic acidosis) ได้ แม้จะเป็นกรณีที่เกิดได้น้อยก็ตาม
2. ตรวจสมองด้วย MRI
MRI หรือ Magnetic Resonance Imaging เป็นการใช้คลื่นวิทยุความถี่จำเพาะที่สร้างจากคอมพิวเตอร์ปล่อยออกไปกระตุ้นระบบอวัยวะที่จะตรวจ ภายใต้สนามแม่เหล็กไฟฟ้าพลังสูง ตัวเครื่อง MRI จะมีอุปกรณ์รับสัญญาณที่ได้จากร่างกาย และแปลงออกมาเป็นภาพบนจอ ซึ่งจะแสดงให้เห็นความแตกต่างของกระดูก เนื้อเยื่อ พื้นที่ที่มีของเหลวขังอยู่ การทำ MRI ให้ผลความแตกต่างของเนื้อเยื่อได้ดี สามารถใช้ตรวจได้ทุกระบบของร่างกาย โดยเฉพาะส่วนสมองและกระดูกสันหลัง อีกทั้งยังมีเทคนิคการตรวจพิเศษหลายแบบ
โรคและอาการที่ตรวจพบได้ด้วยการทำ MRI สมอง
- ติดเชื้อในสมอง
- เนื้องอกในสมอง
- ภาวะเส้นเลือดแดงในสมองโป่งพอง (Aneurysms)
- โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง (Multiple sclerosis)
- อาการบาดเจ็บไขสันหลัง
- ความเสียหายของสมองที่มีผลต่อโรคลมชัก (Epilepsy)
- น้ำคั่งในโพรงสมอง (Hydrocephalus)
- โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke)
- สมองบวม
- เลือดออกในสมอง
- โรคอะโครเมกาลี (Acromegaly)
- กลุ่มอาการคุชชิ่ง (Cushing’s syndrome)
- ภาวะอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการบาดเจ็บที่ศีรษะ
ก่อนทำ MRI ผู้รับการตรวจจะต้องถอดเครื่องประดับ แว่นตา อุปกรณ์ทางทันตกรรมที่สามารถถอดออกได้ เพื่อให้ไม่รบกวนสนามแม่เหล็ก ซึ่งจะทำให้การสร้างภาพผิดเพี้ยน จากนั้นนอนนิ่งๆ บนเตียงที่สามารถเลื่อนเข้าไปในอุโมงค์ MRI ซึ่งมีลักษณะแคบๆ อาจมีการฉีดแกดิโลเนียม (Gadilonium) ซึ่งเป็นสารทึบรังสีชนิดหนึ่งเข้าสู่เส้นเลือดดำ เพื่อให้เวลาตรวจได้ภาพชัดเจนยิ่งขึ้น และสำหรับการทำ MRI สมอง จะมีการติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มบริเวณศีรษะด้วย
ระหว่างสแกนอาจได้ยินเสียงเคาะเมื่อมีการเปลี่ยนทิศทางสนามแม่เหล็กไฟฟ้า ซึ่งเจ้าหน้าที่อาจให้ที่อุดหูเพื่อตัดเสียง ระยะเวลาทำ MRI ขึ้นอยู่กับส่วนที่ต้องการตรวจ โดยรวมๆ แล้วประมาณ 1 ชั่วโมง
ตามปกติผู้ที่ฝังอุปกรณ์ทางการแพทย์ซึ่งมีส่วนประกอบของโลหะในร่างกายจะไม่สามารถทำ MRI ได้ เพราะอุปกรณ์ดังกล่าวอาจมีผลต่อความปลอดภัยของผู้รับการตรวจขณะทำ MRI แต่ถ้าจำเป็นให้แจ้งเจ้าหน้าที่ล่วงหน้า โดยอาจต้องปิดอุปกรณ์ไปชั่วคราวก่อน
การทำ MRI นั้นไม่ได้ใช้รังสีในการสร้างภาพอย่าง CT Scan และไม่มีขั้นตอนที่สร้างความเจ็บปวด และไม่มีความเสี่ยงใดๆ แต่เนื่องจากอุโมง MRI มีขนาดพอดีตัวมาก ผู้ที่มีอาการกลัวที่แคบหรือตัวใหญ่จึงอาจรู้สึกอึดอัด ไม่สบายตัว สำหรับเด็กหรือผู้มีอาการกลัวที่แคบ อาจได้รับยาระงับประสาทเพื่อให้สามารถนอนนิ่งในอุโมงค์ได้
3. ตรวจสมองด้วย PET
PET หรือ Positron Emission Tomography เป็นการตรวจดูความเปลี่ยนแปลงทางชีวะเคมีในเนื้อเยื่อของร่างกาย ด้วยวิธีฉีดฟลูออโรดีออกซีกลูโคส (Fluorodeoxyglucose: FDG) ซึ่งเป็นกลูโคสชนิดหนึ่งที่มีกัมมันตรังสีในตัวเองเข้าสู่ร่างกายผู้ที่จะรับการตรวจ จากนั้น FDG จะเข้าสู่เนื้อเยื่อต่างๆ ซึ่งเนื้อเยื่อที่มีการทำงานมากอย่างเนื้อเยื่อสมองหรือมีการแบ่งตัวมากอย่างเนื้อเยื่อมะเร็งหลายชนิดนั้น จะจับ FDG ไว้มากกว่าเนื้อเยื่อทั่วๆ ไป และเปล่งรังสีออกมามาก ตัวเครื่อง PET Scan ก็จะจับภาพรังสีเหล่านี้ออกมา โดยภาพที่ได้จะดูคล้ายๆ กลุ่มควันที่มีความหนาแน่นต่างกัน ไม่มีจุดอ้างอิงทางกายภาพ
บางครั้งจึงมีการใช้เครื่อง PET-CT Scan ซึ่งผสม 2 เทคนิคเข้าด้วยกัน ทำให้เห็นรอยโรคและทราบตำแหน่งผิดปกติที่ชัดเจน
ความผิดปกติที่ตรวจพบได้ด้วยการทำ PET Scan
- เนื้องอก มะเร็ง
- เนื้อเยื่อที่ติดเชื้อ
- การไหลเวียนเลือดที่ไม่ปกติ
- ความเปลี่ยนแปลงของสมองที่เกิดจากอาการบาดเจ็บ
- รอยโรคสมองที่เป็นสาเหตุของอาการลมชัก (Epilepsy)
- พาร์กินสัน
- ความจำเสื่อม
การตรวจ PET อาจใช้เพื่อติดตามผลหลังจากทำ CT Scan หรือ MRI ไปแล้ว หรือเพื่อวินิจฉัยอาการทางสมองได้ชัดเจนขึ้น ขั้นตอนการตรวจ PET คือหลังจากให้ FDG แล้ว ผู้รับการตรวจจะต้องนอนนิ่งๆ ให้เครื่องตรวจเหนือศีรษะตรวจจับรังสีแกมมาจากเนื้อเยื่อสมอง จากนั้นคอมพิวเตอร์จะทำการประมวลผลข้อมูลและแสดงเป็นภาพออกมาทางจอหรือแผ่นฟิล์ม ซึ่งสามารถตรวจการทำงานของสมองคนละส่วนได้ในเวลาเดียวกัน
การตรวจสมองด้วยวิธี PET นั้นใช้รังสีปริมาณน้อย และไม่เจ็บปวด ใช่เวลาประมาณ 30-45 นาที
4. ตรวจสมองด้วย SPECT
SPECT หรือ Single Photon Emission Computed Tomography คือการตรวจสอบการทำงานของสมอง ว่ามีส่วนไหนทำงานหนัก-เบา กว่าส่วนอื่นๆ หรือไม่ รวมถึงดูการไหลเวียนของเลือด ด้วยการจับภาพสารกัมมันตรังสี ทำนองเดียวกับการตรวจ PET
ความผิดปกติของสมองที่ตรวจพบได้ด้วยการทำ SPECT Scan
- สมองเสื่อม
- หลอดเลือดสมองอุดตัน
- อาการชัก
- โรคลมชัก
- อาการบาดเจ็บที่ศีรษะ
ขั้นตอนการทำ SPECT Scan เริ่มจากผู้รับการตรวจรับตัวแกะรอยสารกัมมันตรังสี (Radioactive tracer) โดยวิธีฉีดหรือรับทางหลอดเลือดดำ จากนั้นนอนเฉยๆ เป็นเวลาประมาณ 20 นาทีเพื่อให้ร่างกายซึมซับสารดังกล่าว ก่อนเจ้าหน้าที่จะนำผู้รับการตรวจนอนบนเตียงแล้วเข้าเครื่องแกน ซึ่งมีลักษณะเปิด ไม่ได้เป็นอุโมงเหมือน MRI แล้วให้เครื่องแปลงผลออกมาเป็นภาพ ระยะเวลาในการตรวจขึ้นอยู่กับจุดประสงค์ว่าต้องการตรวจหาอะไรบ้าง
สำหรับคนส่วนใหญ่ SPECT Scan เป็นวิธีตรวจสมองที่ปลอดภัย อย่างไรก็ตาม ตัวแกะรอยสารกัมมันตรังสีก็ยังอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงได้บ้าง เช่น อาจมีเลือดออก ปวด หรือบวมบริเวณที่ฉีด หรือในบางกรณีอาจมีอาการแพ้ แต่นับว่าเกิดได้น้อยมาก
ผู้หญิงที่กำลังตั้งครรภ์หรือให้นมบุตรควรหลีกเลี่ยงการตรวจ SPECT Scan เพราะตัวแกะรอยสารกัมมันตรังสีอาจเล็ดลอดเข้าไปสู่ตัวอ่อน
อย่างไรก็ตาม อาการผิดปกติเกี่ยวกับสมองอาจไม่ได้วินิจฉัยได้โดยการตรวจลักษณะทางกายวิภาคและการทำงานของสมองซึ่งเครื่องตรวจสมองต่างๆ ด้านบนตรวจได้เท่านั้น จึงมักมีการซักประวัติ ตรวจเลือด รวมไปถึงการทำงานของตับ ไต ต่อมไทรอยด์ ร่วมด้วย ซึ่งยิ่งให้ข้อมูลแพทย์อย่างละเอียด ไม่ปิดบังประวัติ ยิ่งทำให้การวินิจฉัยแม่นยำยิ่งขึ้น
ตรวจสมอง ที่ไหนดี?
การตรวจสมอง ด้วยเทคนิค CT Scan สมอง ทำ MRI ตรวจ PET หรือ SPECT Scan อาจมีให้บริการในศูนย์ตรวจเฉพาะ แล้วจึงส่งข้อมูลต่อยังโรงพยาบาลหรือศูนย์การแพทย์อีกต่อหนึ่ง
กับอีกแบบหนึ่งอาจให้บริการในโรงพยาบาลอย่างครบถ้วนทุกขั้นตอน ตั้งแต่คัดกรอง ตรวจสมอง วินิจฉัย ไปจนถึงรักษาและฟื้นฟู เช่น โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ที่มีศูนย์โรคระบบประสาท ประกอบด้วยทีมแพทย์ด้านประสาทวิทยาและศัลยแพทย์ระบบประสาท รวมกว่า 20 ท่าน พร้อมให้การดูแลผู้ป่วยในภาวะฉุกเฉินตลอด 24 ชั่วโมง
ตัวอย่างบริการตรวจสมอง จากโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ พร้อมราคา ได้แก่
- โปรแกรมการตรวจคัดกรองความเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง ตรวจเลือดและ MRI ราคา 22,500 บาท
- โปรแกรมสำหรับตรวจคัดกรองภาวะสมองเสื่อม ตรวจเลือดและ MRI 19,800 บาท
- โปรแกรมการตรวจคัดกรองโรคน้ำเกินในโพรงสมอง ตรวจด้วยวิธี MRI ราคา 12,000 บาท
สมองเป็นอวัยวะสำคัญของร่างกายที่ทำงานอยู่ตลอดเวลา ไม่เคยหยุดพัก โดยเป็นศูนย์กลางในการควบคุมการเคลื่อนไหว และเป็นส่วนหนึ่งของระบบประสาท
เพื่อให้สมองทำงานได้ดีหรือก็คือให้คุณยังคงมีคุณภาพชีวิตที่ดี คุณจึงไม่ควรละเลยสัญญาณใดๆ ที่อาจกำลังบอกใบ้ว่า สมองอาจมีปัญหา และเช็กใช้ชัวร์ด้วยการตรวจสมอง หากพบความผิดปกติใดๆ ในระยะแรกเริ่ม ก็จะได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที มีโอกาสที่จะหายดีมากขึ้น และไม่สิ้นเปลืองค่ารักษาเท่ากับพบความผิดปกติในระยะลุกลามแล้ว