Stroke หรือที่มักได้ยินกันบ่อยๆ ว่า เส้นเลือดในสมองตีบ หรือเส้นเลือดในสมองแตก เป็นโรคที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ มักมีอาการเกิดอย่างฉับพลัน หากได้รับการรักษาไม่ทันจะนำไปสู่อาการอัมพฤกษ์ อัมพาต อย่างถาวร ไปจนถึงเสียชีวิตได้
จากรายงานข้อมูลย้อนหลัง 5 ปี ของกองยุทธศาสตร์และแผนงาน กระทรวงสาธารณสุข พบว่า จำนวนผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2556-2560 มีแนวโน้มสูงขึ้น ผู้เสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมองมีจำนวนถึงปีละประมาณ 30,000 ราย ถือเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับ 1 ในประเทศไทย
โปรแกรมตรวจคัดกรองความเสี่ยง Stroke รพ. บำรุงราษฎร์
วันนี้ถึง 30 พ.ย. 2563 เพียงใส่ Code "BSTM5000" ลดเลย 5,000 บาท
ดูเป็นภาวะที่น่ากลัวไม่น้อย แต่ความจริงแล้ว Stroke สามารถป้องกันได้ ด้วยวิธีปรับพฤติกรรมและหมั่นสังเกตภาวะสุขภาพของตนเอง อีกทั้งหากคุณอยู่ในกลุ่มเสี่ยง เช่น มีโรคประจำตัวที่สัมพันธ์กับการเกิด Stroke มีคนในครอบครัวมีประวัติเป็น Stroke ก็สามารถเข้ารับการตรวจคัดกรองร่วมด้วย เพื่อจะได้ห่างไกลจากโรคนี้ให้มากที่สุด
Stroke คืออะไร?
Stroke หรือ โรคหลอดเลือดสมอง คือ ภาวะที่เลือดในสมองเกิดการอุดตันหรือเกิดเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งทำให้มีปริมาณลดน้อยลง ส่งผลให้เนื้อเยื่อสมองไม่ได้รับออกซิเจนและสารอาหารเพียงพอ ซึ่งหากไม่ได้รับการแก้ไขอย่างทันท่วงที จะทำให้เซลล์สมองตายในเวลาเพียงไม่กี่นาที
Stroke เป็นภาวะฉุกเฉินที่ต้องได้รับการปฐมพยาบาลที่ถูกต้องอย่างเร่งด่วน เพื่อลดความเสียหายที่จะเกิดต่อเซลล์สมองให้น้อยที่สุด
“FAST” สัญญาณสำคัญของ Stroke
มีการใช้อักษรย่อ FAST เพื่อสรุป 3 สัญญาณหลักที่บ่งบอกถึงโรคหลอดเลือดสมอง และ 1 ข้อที่ต้องรีบปฏิบัติทันที ดังนี้
F - Face
มีอาการอ่อนแรงบริเวณใบหน้า โดยมักเป็นที่ใบหน้าข้างในข้างหนึ่ง สังเกตได้จากปากเบี้ยว หลับตาไม่สนิท หากยิ้มจะเห็นว่ามุมปากข้างหนึ่งตก
A - Arm
มีอาการแขนหรือขาชา มักเกิดข้างเดียว เมื่อพยายามยกแขนสองข้างขึ้นเหนือศีรษะพร้อมกัน จะพบว่ายกแขนข้างหนึ่งไม่ขึ้น
โปรแกรมตรวจคัดกรองความเสี่ยง Stroke รพ. บำรุงราษฎร์
วันนี้ถึง 30 พ.ย. 2563 เพียงใส่ Code "BSTM5000" ลดเลย 5,000 บาท
S - Speech
มีปัญหาในการพูด เช่น ออกเสียงไม่ชัด พูดไม่ออก เมื่อมีผู้ขอให้ทวนประโยคง่ายๆ ให้ฟัง จะไม่สามารถพูดตามได้
T - Time
หากพบว่ามีอาการข้างต้น แม้ว่าจะเพียงข้อใดข้อหนึ่ง “เวลา” จะเป็นสิ่งสำคัญที่สุด ให้คุณรีบไปโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุดทันที หากไม่สามารถไปได้ให้ติดต่อศูนย์ช่วยเหลือฉุกเฉิน โทร. 1669
อย่างไรก็ตาม นอกเหนือจากสัญญาณหลัก 3 ข้อข้างต้น ยังมีอาการอื่นๆ บ่งชี้ว่าคุณอาจมีภาวะหลอดเลือดสมองด้วย ได้แก่
- มีปัญหาในการทำความเข้าใจ มีความสับสนหรือทำความเข้าใจภาษาพูดได้ลำบาก
- มองไม่เห็นหรือเห็นภาพซ้อน อาจเกิดขึ้นที่ตาข้างใดข้างหนึ่ง หรือทั้งสองข้างพร้อมกัน
- ปวดศีรษะ มักเป็นลักษณะปวดศีรษะรุนแรงฉับพลัน และอาจมาพร้อมอาการอาเจียน เวียนศีรษะ บ้านหมุน หมดสติ
- มีปัญหาในการเดิน อาจมีอาการเดินสะดุด เดินเซ หรือทรงตัวไม่ได้ อาจเกิดร่วมกับอาการเวียนศีรษะกะทันหัน หรือการทำงานของร่างกายไม่ประสานกัน
- ความรู้สึกเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เช่น ซึมลง เรียกไม่รู้ตัว
อาการที่เกิดจากโรคหลอดเลือดสมองมักเกิดอย่างฉับพลัน หากคุณหรือคนใกล้ชิดมีอาการใดอาการหนึ่งเหล่านี้ ต้องรีบไปโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุดทันที ซึ่งจากสถิติพบว่า คนไข้ที่เป็นหลอดเลือดสมองชนิดตีบซึ่งได้รับยาสลายลิ่มเลือดภายใน 90 นาทีแรกหลังจากเกิดอาการ จะมีโอกาสเป็นปกติถึง 3 เท่าเมื่อเทียบกับกลุ่มที่ไม่ได้รับยา และหากได้รับยาภายใน 3 ชั่วโมงถึง 4 ชั่วโมงครึ่ง โอกาสหายจะลดลงเหลือ 1.2-1.3 เท่า
ดังนั้นข้อสำคัญคือหากเกิดอาการขึ้นแล้วต้องรีบไปพบแพทย์อย่างเร็วที่สุด ไม่ต้องรอดูว่าจะดีขึ้นหรือไม่ เพราะยิ่งปล่อยให้เวลาผ่านไปนานเท่าไร ความเสียหายที่มีต่อสมองจะยิ่งรุนแรงมากขึ้นเท่านั้น ซึ่งเป็นสาเหตุให้พิการหรือเสียชีวิตได้
ประเภทของ Stroke
โรคหลอดเลือดสมองหรือ Stroke แบ่งออกได้เป็น 3 ชนิด ได้แก่ หลอดเลือดสมองชนิดแตก และ หลอดเลือดสมองชนิดตีบ แต่ละชนิดต่างกันดังนี้
โปรแกรมตรวจคัดกรองความเสี่ยง Stroke รพ. บำรุงราษฎร์
วันนี้ถึง 30 พ.ย. 2563 เพียงใส่ Code "BSTM5000" ลดเลย 5,000 บาท
1. หลอดเลือดสมองชนิดแตก (Hemorrhagic stroke)
สาเหตุมักมาจากภาวะความดันโลหิตสูงและหลอดเลือดโป่งพอง ซึ่งส่งผลให้หลอดเลือดแดงในสมองเกิดการรั่วหรือแตก ซึ่งทำให้เกิดแรงดันที่เซลล์สมองมากกว่าปกติ นำไปสู่ความเสียหายที่เซลล์สมองบริเวณนั้น
2. หลอดเลือดสมองชนิดตีบ (Ischemic stroke)
คนไข้หลอดเลือดสมองประมาณ 80% เป็นหลอดเลือดสมองชนิดนี้ สาเหตุเกิดจากมีลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดแดงที่จะนำเลือดจากหัวใจมาสู่สมอง
นอกจากนี้ยังมีอีกภาวะหนึ่งที่แสดงอาการเหมือนเป็นหลอดเลือดสมองชนิดตีบ แต่ภายใน 24 ชั่วโมงจะหายเป็นปกติ คือ ภาวะสมองขาดเลือดชั่วขณะ (Transient Ischemic Attack: TIA) หรือบางครั้งเรียกกันว่า “Mini Stroke” สาเหตุเกิดจากเส้นเลือดในสมองถูกอุดตันเพียงชั่วเวลาสั้นๆ โดยมากแล้วไม่เกิน 5 นาที
หากเกิดภาวะ Mini Stroke แม้ต่อมาจะหายเหมือนเป็นปกติแล้ว ก็ยังต้องเข้ารับการตรวจวินิจฉัยจากแพทย์อย่างละเอียด เพื่อหาสาเหตุและทำการรักษา เนื่องจากพบว่าผู้ที่เป็นแล้วปล่อยไว้ไม่ได้ทำอะไรเลย ต่อมาจะเกิด Stroke ซ้ำได้
สิ่งที่ทุกคนควรตระหนักคือ ไม่มีวิธีใดที่จะสังเกตได้ว่าอาการที่เกิดขึ้นมาจาก Stroke หรือ Mini Stroke ดังนั้นถ้าพบสัญญาณ FAST เมื่อใด ต้องรีบไปหรือให้คนใกล้ชิดนำส่งโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุดทันที
ปัจจัยเสี่ยงต่อ Stroke
ผู้ที่มีพฤติกรรมหรือภาวะทางสุขภาพต่อไปนี้เป็นเวลานาน มักมีความเสียงสูงที่จะเป็นโรคหลอดเลือดสมอง
- อ้วน น้ำหนักเกิน
- ไม่ค่อยเคลื่อนไหวร่างกาย ไม่ค่อยออกกำลังกาย
- ดื่มสุรา สูบบุหรี่ หรือใช้สารเสพติด
- ความดันโลหิตสูง
- คอเลสเตอรอลสูง
- เป็นโรคเบาหวาน
- เป็นโรคลมหลับหรือมีภาวะนอนกรน
- มีภาวะเครียด
- มีโรคเกี่ยวกับระบบไหลเวียนโลหิต เช่น หัวใจล้มเหลว หัวใจเต้นผิดจังหวะ หัวใจพิการแต่กำเนิด
- คนในครอบครัวมีประวัติเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ หัวใจวาย หรือภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราว
นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่เกี่ยวของกับการเป็นโรคหลอดเลือดสมอง เช่น
- อายุ ผู้ที่ 55 ปีขึ้นไปมีแนวโน้มจะเป็นโรคหลอดเลือดสมองมากกว่าคนที่อายุน้อยกว่า เนื่องจากเมื่ออายุมากหลอดเลือดก็จะเสื่อม ผิวชั้นในของหลอดเลือดจะหนาและแข็งขึ้นเพราะมีไขมันและหินปูนมาเกาะ รูที่เลือดไหลผ่านจึงแคบลงเรื่อยๆ
- เพศ ผู้ชายมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคหลอดเลือดสมองมากกว่าผู้หญิง ส่วนในผู้หญิงนั้นมักจะพบภาวะหลอดเลือดสมองในกลุ่มที่อายุมากกว่าผู้ชาย แต่มีแนวโน้มที่จะเสียชีวิตด้วยโรคนี้มากกว่า
- ฮอร์โมน ผู้ที่ใช้ยาคุมกำเนิดซึ่งมีส่วนประกอบของฮอร์โมนเอสโตรเจน มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคหลอดเลือดสมองมากขึ้น
จะป้องกันภาวะ Stroke ได้อย่างไร?
จากเรื่องปัจจัยเสียงต่อ Stroke จะเห็นว่า ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมองมีหลายอย่าง ตั้งแต่อายุ เพศ รวมไปถึงพฤติกรรมและภาวะสุขภาพส่วนบุคคล กลุ่มผู้สูงอายุผู้ที่อายุ 55 ปีขึ้นไปจัดว่าเป็นหนึ่งกลุ่มเสี่ยงสำคัญ แต่เนื่องจากภาวะ Stroke เกิดขึ้นอย่างฉับพลัน ดังนั้นการดูแลเมื่อมีอาการแล้วจึงทำได้ยาก สิ่งที่จะช่วยได้มากกว่าคือการป้องกัน ด้วยวิธีละเลิกพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ ดูแลสุขภาพให้แข็งแรง คอยติดตามและควบคุมโรคประจำตัวให้อยู่ในเกณฑ์ดีเสมอ
โดยปฏิบัติตามคำแนะนำต่อไปนี้
- ออกกำลังกายวันละประมาณ 30 นาที 5 วันต่อสัปดาห์
- งดดื่มสุราและสูบบุหรี่
- ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์
- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เช่น ผัก ผลไม้ อาหารที่มีเส้นใยมาก
- หลีกเลี่ยงอาหารคอเลสเตอรอลสูง เช่น ไข่แดง อาหารทะเล ไข่ปลาหมึก ไข่ปู ไข่กุ้ง หนังไก่ หนังเป็ด หนังปลาทอด แคบหมู เครื่องในสัตว์ทุกชนิด
- ลดอาหารที่มีส่วนผสมของไขมันอิ่มตัว อาหารรสเค็ม รวมถึงเครื่องดื่มที่มีฤทธิ์กระตุ้นหัวใจ เช่น กาแฟ
- เข้ารับการตรวจ Sleep Test หากพบภาวะผิดปกติจะได้ทำการรักษา
- ทำกิจกรรมที่ช่วยผ่อนคลายอารมณ์และจิตใจ หากมีปัญหาความเครียดอาจพิจารณาปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเฉพาะ เช่น นักจิตวิทยา จิตแพทย์
บำรุงราษฎร์มอบความห่วงใย ด้วย Code ส่วนลด 5,000 บาท
อาการของ Stroke แม้มักเป็นขึ้นมาอย่างฉับพลัน แต่ความจริงแล้วเกิดจากพฤติกรรมหรือปัจจัยการเกิดโรคที่สะสมมาเป็นเวลานาน ดังนั้นจึงสามารถป้องกันได้ ซึ่งนอกจากการดูแลสุขภาพด้วยวิธีปรับพฤติกรรมด้วยตนเอง เช่น เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกาย ยังมีอีกทางหนึ่งที่จะช่วยให้ห่างไกลจาก Stroke คือ เข้ารับการตรวจคัดกรองความเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง โดยเฉพาะในผู้ที่มีประวัติคนในครอบครัวเป็น Stroke หรือมีโรคประจำตัวเกี่ยวข้องกับการเกิด Stroke เช่น โรคหัวใจ ความดับโลหิตสูง โรคไต เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง ยิ่งควรตรวจ
ที่ศูนย์โรคระบบประสาท โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ มีแพ็กเกจโปรแกรมการตรวจคัดกรองความเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง ซึ่งจะมีการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ดูความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด ตรวจระดับน้ำตาลและไขมันในเลือด ตรวจการทำงานของไต รวมไปถึงตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจและตรวจหลอดเลือดสมองด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI และ MRA) ราคา 25,000 บาท พิเศษ! วันนี้ถึง 30 พฤศจิกายน 2563 เพียงใช้ Code “BSTM5000” เมื่อซื้อแพ็กเกจ ก็รับไปเลยส่วนลด 5,000 บาท
ดูเงื่อนไขและวิธีใช้ Code อย่างละเอียด ที่นี่
ปัจจุบันประเทศไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุแล้ว และมีผู้สูงอายุจำนวนไม่น้อยที่เลือกอาศัยอยู่คนเดียว คงจะดีกว่าถ้าเราสามารถช่วยเหลือตัวเองได้อย่างดี เดินทางไปไหนมาไหนสะดวก คล่องแคล่ว การดูแลสุขภาพของตัวเองอย่างสม่ำเสมอ ร่วมกับตรวจคัดกรองตั้งแต่ก่อนมีอาการ เป็นแนวทางสำคัญที่จะช่วยให้คุณห่างไกลจาก Stroke มีคุณภาพชีวิตที่ดี พร้อมทำกิจกรรมอะไรก็ได้ที่คุณสนใจไปอีกนาน