ถาม:
การให้เลือดในหอผู้ป่วยทารกแรกเกิดวิกฤต
แพทย์ของลูกสาวฉันกล่าวว่าเธอต้องได้รับการให้เลือด แต่ฉันกังวลเนื่องจากเคยได้ยินมาว่ามันมีความเสี่ยง ฉันต้องรู้อะไรบ้างก่อนที่จะเซ็นยินยอมให้รักษา
ตอบ:
การให้เลือดคืออะไร ?
การให้เลือดหรือถ่ายเลือดคือการนำเลือดมาให้กับผู้ป่วยทางสายที่แทงเข้าหลอดเลือดดำ ผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่ต้องได้เลือดเพราะต้องการเม็ดเลือดแดงไปลำเลียงออกซิเจน เม็ดเลือดแดงสามารถให้ได้ทั้งแบบเลือดรวม (whole blood) หรือแบบปั่นแยกเอาแต่เม็ดเลือดแดง (packed red blood cells) ส่วนประกอบอื่น ๆ ของเลือดนั้นให้ในเหตุผลที่ต่างกัน เช่น ให้เกล็ดเลือดเพื่อหยุดภาวะเลือดออก
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
ทำไมทารกต้องได้รับการให้เลือด ?
ในหอผู้ป่วยทารกแรกเกิดวิกฤต ทารกอาจได้รับการให้เม็ดเลือดแดงด้วยหลายเหตุผล อาจจำเป็นต้องให้เลือดฉุกเฉินเพื่อทดแทนเลือดที่เสียไปจากภาวะซีด ซึ่งหากไม่รักษาอาจทำให้ช็อกหรือเสียชีวิตได้ และยังให้เลือดเพื่อรักษาอาการที่เกิดจากภาวะซีด เช่น หยุดหายใจ
ความเสี่ยงของการรับเลือดมีอะไรบ้าง ?
เนื่องจากเลือดที่รับบริจาคมานั้นจะคัดกรองอย่างระมัดระวัง การให้เลือดจึงปลอดภัยมาก อาจมีโรคที่เกิดได้ผ่านการให้เลือดแต่ความเสี่ยงนั้นต่ำมาก ความเสี่ยงของการติดเชื้อเอชไอวี (HIV) จากการรับเลือดนั้นมีประมาณ 1 ใน 1.8 ล้าน และความเสี่ยงของการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี (hepatitis B) คือประมาณ 1 ใน 171,000 ต้องขอบคุณเทคนิคการธนาคารเลือดสมัยใหม่ที่เก็บเลือดจากผู้บริจาครายเดียวสำหรับทารกเกิดก่อนกำหนดไว้จนกว่าจะใช้หรือหมดอายุ ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงจากการรับเลือดในทารกเกิดก่อนกำหนด ปฏิกิริยาจากการถ่ายเลือด (transfusion reactions) เป็นอีกความเสี่ยงหนึ่งของการรับเลือด อย่างไรก็ตามปฏิกิริยาจากการถ่ายเลือดนี้พบได้ยากมาก ๆ ในทารกแรกเกิดโดยเฉพาะอย่างยิ่งทารกเกิดก่อนกำหนด
ข้อดีของการรับเลือดมีอะไรบ้าง ?
เมื่อทารกมีภาวะช็อกหรือเสียเลือดรุนแรง การให้เลือดสามารถช่วยชีวิตเด็กได้ ส่วนข้อดีอื่นของการรับเลือดอาจไม่ชัดเจนนัก ได้แก่
- รับอาหารได้ดีขึ้น
- ลดอาการหายใจหอบเหนื่อย
- ลดภาวะหยุดหายใจ
- ลดการบาดเจ็บของสมอง
- ออกจากหอผู้ป่วยทารกแรกเกิดวิกฤตได้เร็วขึ้น
ฉันสามารถบริจาคเลือดตัวเองให้ลูกได้หรือไม่ ?
ถ้าคุณและลูกของคุณมีหมู่เลือดเดียวกัน คุณอาจบริจาคเลือดของคุณให้กับลูกได้ วิธีการบริจาคเลือดลักษณะนี้เรียกว่าการบริจาคโดยตรง ซึ่งทำได้ถ้า
- ไม่ต้องให้เลือดฉุกเฉิน: ต้องใช้เวลาหนึ่งหรือสองสัปดาห์ในการเตรียมเลือดก่อนจะให้เลือดได้ ดังนั้นการบริจาคเลือดโดยตรงไม่สามารถทำได้ถ้าอยู่ในภาวะฉุกเฉิน
- คุณไม่ได้อยู่ในช่วงหลังคลอด: คุณต้องรออย่างน้อย 6 ถึง 8 สัปดาห์ก่อนจะให้เลือดได้
- คุณต้องเป็นผู้ใหญ่ที่แข็งแรง: ผู้บริจาคเลือดจะต้องมีอายุมากกว่า 17 ปี มีน้ำหนักอย่างน้อย 110 ปอนด์ มีสุขภาพแข็งแรง และต้องผ่านการซักประวัติด้านสุขภาพ
- คุณจะต้องจ่ายค่าตรวจทางห้องปฏิบัติการเอง: ถ้าคุณจะบริจาคเลือดโดยตรงคุณต้องจ่ายค่าตรวจทางห้องปฏิบัติการ และเสียค่าใช้จ่ายในการให้เลือดเอง ประกันสุขภาพส่วนใหญ่จะไม่ครอบคลุมค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมในส่วนของการบริจาคเลือดโดยตรง