ตุ่มน้ำที่เป็นเลือด

เผยแพร่ครั้งแรก 7 ต.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
ตุ่มน้ำที่เป็นเลือด

ตุ่มน้ำที่เป็นเลือดนั้นไม่ได้ต่างจากตุ่มน้ำที่มีสีใสมากนัก เพราะมันไม่เป็นอันตรายและสามารถหายได้เองภายในเวลาไม่กี่สัปดาห์โดยที่ไม่ต้องรักษาเช่นเดียวกัน

อาการที่พบ

ตุ่มน้ำที่เป็นเลือดนั้นมีได้หลายขนาดและมีลักษณะคล้ายกับผิวหนังที่นูนขึ้นเป็นกระเพาะ ตุ่มน้ำที่เกิดจากการเสียดสีนั้นมักจะมีสีใส ในขณะที่ตุ่มน้ำที่เป็นเลือดนั้นเกิดแรงทำให้เส้นเลือดแตกและผสมเลือดเข้ากับสารน้ำสีใสเดิม ก่อนที่จะเข้าไปอยู่ในกระเปาะดังกล่าว

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

เลือดที่อยู่ในตุ่มน้ำนั้นอาจจะเป็นสีแดง หรือม่วงหรือดำก็ได้ โดยทั่วไปในระยะแรกนั้นมักจะมีสีแดง ก่อนจะค่อยๆ มีสีเข้มขึ้นเรื่อยๆ

ตุ่มน้ำที่เป็นเลือดเหล่านี้มักจะเกิดขึ้นตามบริเวณของร่างกายที่อยู่ภายใต้แรงกดดันเช่น

  • ปาก
  • เท้า
  • มือ
  • ใกล้กับข้อต่อ
  • ตุ่มนูนของกระดูกต่างๆ เช่นส้นเท้า นิ้วเท้า

คุณอาจจะเกิดตุ่มน้ำเหล่านี้ได้หลังจากที่ผิวหนังนั้นได้รับบาดเจ็บแต่ไม่แตกออก

เมื่อไหร่ควรไปพบแพทย์

ในกรณีส่วนใหญ่แล้วการที่พบตุ่มน้ำที่เป็นเลือดเพียงตุ่มเดียวนั้นไม่จำเป็นต้องไปพบแพทย์ มันอาจจะเกิดจากการที่ผิวหนังของคุณเสียดสีกับอะไรบางอย่างซ้ำๆ (เช่นรองเท้า) หรือได้รับบาดเจ็บ (เช่นถูกประตูหนีบ)

แต่ควรไปพบแพทย์หากมีอาการต่อไปนี้

  • สังเกตพบอาการของการติดเชื้อเช่นอุ่น หรือมีเส้นสีแดงลากออกจากตุ่มน้ำ
  • ตุ่มน้ำนั้นทำให้คุณเดินหรือใช้มือได้ลำบาก
  • คุณมีตุ่มน้ำที่เป็นเลือดหลายๆ ตุ่มโดยไม่ทราบสาเหตุ
  • ตุ่มน้ำนั้นกลับเป็นซ้ำเรื่อยๆ
  • มีตุ่มน้ำในปากหรือบนเปลือกตา
  • เป็นตุ่มน้ำที่เกิดจากการถูกเผาหรือไม้ (แม้แต่จากแสงแดดก็ตาม) หรือเกิดจากปฏิกิริยาภูมิแพ้

สาเหตุของการเกิดตุ่มน้ำที่เป็นเลือด

คุณอาจจะเกิดตุ่มน้ำขึ้นได้หลังจากที่ผิวหนังได้รับการบาดเจ็บ แต่ไม่ได้ทำให้ผิวหนังแตกออก เช่นการถูกประตูหนีบ สาเหตุอื่นๆ ที่อาจจะทำให้เกิดตุ่มน้ำที่เป็นเลือดประกอบด้วย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

  • การเล่นกีฬาที่ต้องใช้เท้าเป็นเวลานานเช่นวิ่งหรือเต้น
  • ใส่รองเท้าที่ไม่พอดีและทำให้เสียดสีกับผิวหนัง
  • เท้ามีเหงื่อออกมากทำให้มีแรงเสียดทานระหว่างเท้าและรองเท้าเพิ่มขึ้น
  • ใช้อุปกรณ์ที่เสียดสีกับผิวหนังซ้ำๆ เช่นค้อน

การรักษา

ตุ่มน้ำที่เป็นเลือดนี้สามารถปล่อยไว้ได้โดยไม่ต้องรักษาและรอให้หายเองภายใน 1-2 สัปดาห์ โดยมันจะหายเนื่องจากมีผิวหนังใหม่ถูกสร้างขึ้นข้างใต้ตุ่มน้ำซึ่งจะค่อยๆ ถูกดันขึ้นมาแทนที่ หลังจากผ่านไปหลายวันหรือหลายสัปดาห์ สารน้ำในตุ่มน้ำจะแห้งไป

คุณอาจจะพันบริเวณที่เป็นตุ่มน้ำไว้เพื่อเป็นการป้องกัน หากมีอาการเจ็บ สามารถประคบเย็นบริเวณดังกล่าวได้ หรืออาจจะใช้ยาแก้ปวดเช่นพาราเซตามอลหรือ ibuprofem

คุณไม่ควรเจาะตุ่มน้ำที่เป็นเลือด เพราะจะทำให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ แต่ถ้าหากมีอาการปวดมากควรไปพบแพทย์เพราะอาจจะจำเป็นต้องทำการเจาะดูดเลือดออก

ผลลัพธ์ในการรักษา

ตุ่มน้ำที่เป็นเลือดนั้นไม่ใช่อาการที่น่ากังวล มันเป็นอาการที่พบได้บ่อยและมักจะเกิดจากการบาดเจ็บที่ผิวหนังแต่ผิวหนังนั้นไม่ได้แยกออก การรักษาที่ดีที่สุดก็คือปล่อยให้หายเองโดยใช้เวลา

คุณควรทราบสาเหตุที่ทำให้เกิดตุ่มน้ำดังกล่าว หากเกิดจากการใส่รองเท้าที่คับไป ควรเปลี่ยนรองเท้า หรือถ้าหากเกิดหลังจากการใช้อุปกรณ์ซ้ำๆ ควรใส่ถุงมือป้องกัน หากเกิดจากการออกกำลังกาย ให้ลองใส่ถุงเท้าที่ออกแบบมาเพื่อลดเหงื่อที่เท้า ซึ่งอาจจะช่วยลดแรงเสียดทานระหว่างเท้าและรองเท้าได้


11 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Blood Blisters: An Overview. Verywell Health. (https://www.verywellhealth.com/blood-blisters-an-overview-4174292)
Blood blisters: Causes, diagnosis, and treatment. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/319799)
Blood Blister: Symptoms, Causes, Diagnosis. Healthline. (https://www.healthline.com/health/blood-blister)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)