ท่อนำไข่ เป็นท่อบางๆ สองท่อ แต่ละท่ออยู่ในมดลูกแต่ละข้าง มีหน้าที่ช่วยนำไข่ที่เจริญเต็มที่แล้วจากรังไข่มายังมดลูก เมื่อเกิดการอุดกั้นป้องกันไม่ให้ไข่เดินทางมาตามท่อนำไข่ได้ ผู้หญิงก็จะมีภาวะท่อนำไข่อุดตัน ซึ่งอาจเกิดขึ้นข้างเดียว หรือทั้งสองข้างก็ได้
ภาวะท่อนำไข่อุดตันยังเป็นที่รู้จักกันในปัจจัยเรื่องการมีบุตรยาก โดยเป็นสาเหตุของการมีบุตรยากมากถึง 40% ในกลุ่มผู้หญิงที่มีภาวะดังกล่าว
ตรวจภาวะมีบุตรยากวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 392 บาท ลดสูงสุด 63%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
ท่อนำไข่อุดตันทำให้มีบุตรยากได้อย่างไร?
เมื่อเกิดการตกไข่ในแต่ละเดือน ไข่จะถูกปล่อยออกมาจากรังไข่ข้างใดข้างหนึ่ง และเดินทางผ่านมาทางท่อนำไข่เข้าสู่มดลูก อสุจิจำเป็นต้องว่ายมาจากปากมดลูก ผ่านมดลูก ผ่านท่อนำไข่ เพื่อจะมาให้ถึงไข่
การปฏิสนธิมักเกิดขึ้นขณะที่ไข่กำลังเดินทางมาตามท่อนำไข่
หากท่อนำไข่ข้างใดข้างหนึ่ง หรือทั้งสองข้างเกิดการอุดตัน ไข่ก็ไม่สามารถมาที่มดลูกได้และอสุจิก็ไม่สามารถมาถึงไข่ได้ ทำให้ไม่เกิดการปฏิสนธิและการตั้งครรภ์
บางรายท่อนำไข่อาจไม่ได้อุดตันโดยสมบูรณ์แต่อุดตันเพียงบางส่วน ซึ่งสามารถเพิ่มความเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์ในท่อนำไข่ หรือที่เรียกว่า การตั้งครรภ์นอกมดลูก (Ectopic Pregnancy) ได้
อาการของท่อนำไข่อุดตัน
- ภาวะนี้แทบไม่ก่อให้เกิดอาการ ต่างจากการไม่มีไข่ตกซึ่งประจำเดือนที่มาไม่สม่ำเสมออาจช่วยบ่งบอกปัญหาได้
- ชนิดของการอุดตันของท่อนำไข่แบบพิเศษที่เรียกว่า Hydrosalpinx* หรือท่อนำไข่โป่งพองเป็นถุงน้ำ อาจทำให้เกิดอาการปวดท้องน้อย และตกขาวผิดปกติได้ แต่ไม่ใช่ว่าผู้หญิงทุกคนจะมีอาการ
อย่างไรก็ตาม สาเหตุบางประการของท่อนำไข่อุดตันก็สามารถนำไปสู่ปัญหาอื่นได้ เช่น
- ภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis)
- ภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบ (Pelvic inflammatory disease)
- อาจทำให้มีอาการปวดประจำเดือน และเจ็บขณะมีเพศสัมพันธ์ได้ แต่อาการเหล่านี้ไม่ได้บ่งบอกถึงการอุดกั้นของท่อนำไข่เสมอไป
*ภาวะ Hydrosalpinx เกิดขึ้นเมื่อการอุดตันที่ทำให้ท่อนำไข่โป่งพองเนื่องจากมีน้ำอยู่เต็ม น้ำดังกล่าวจะขัดขวางไข่และอสุจิ ป้องกันไม่ให้เกิดการปฏิสนธิและการตั้งครรภ์
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
ภาวะท่อนำไข่อุดตันเกิดจากอะไร?
สาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุดคือ “ภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบ” ซึ่งเป็นผลมาจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
ภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบไม่ได้เกี่ยวข้องกับโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์เสมอไป ถึงแม้ว่าจะหายจากภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบแล้ว แต่ประวัติการเคยมีภาวะดังกล่าว หรือการติดเชื้อในอุ้งเชิงกรานก็เพิ่มความเสี่ยงต่อการอุดตันของท่อนำไข่
สาเหตุอื่นๆ ที่ทำให้เกิดท่อนำไข่อุดตันได้
- การติดโรคทางเพศสัมพันธ์ ไม่ว่าจะกำลังติดเชื้อ หรือเคยติดเชื้อ โดยเฉพาะเชื้อ Chlamydia (คลามายเดีย) หรือ Gonorrhea (โกโนร์เรีย)
- ประวัติการติดเชื้อในมดลูกจากการแท้งบุตร หรือการทำแท้ง
- ประวัติไส้ติ่งอักเสบและแตก
- ประวัติการผ่าตัดในช่องท้อง
- เคยตั้งครรภ์นอกมดลูกมาก่อน
- การผ่าตัดที่เกี่ยวข้องกับท่อนำไข่ก่อนหน้า
- ภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่
การวินิจฉัยภาวะท่อนำไข่อุดตัน
ภาวะท่อนำไข่อุดตันมักได้รับการวินิจฉัยจากการตรวจพิเศษทางรังสี เรียกว่า "การตรวจฉีดสีดูท่อนำไข่และมดลูก (Hysterosalpingogram: HSG)"
ขั้นตอนการตรวจ แพทย์จะฉีดสารทึบรังสีผ่านทางปากมดลูกโดยใช้ท่อเล็กๆ เมื่อฉีดเข้าไปแล้ว แพทย์จะถ่ายภาพเอ็กซเรย์บริเวณท้องน้อย
หากทุกอย่างเป็นปกติ สารทึบรังสีจะผ่านเข้าไปในมดลูก ผ่านท่อนำไข่ และผ่านออกมาสู่รอบๆ รังไข่ เข้าสู่อุ้งเชิงกราน หากสารทึบรังสีผ่านท่อนำไข่ไปไม่ได้ อาจแสดงถึงการมีภาวะท่อนำไข่อุดตัน
เป็นเรื่องสำคัญที่ต้องรู้ว่า ผู้หญิง 15% อาจตรวจเป็นผลบวกลวงได้ เนื่องจากสารทึบรังสีไม่สามารถผ่านมดลูกไปยังท่อนำไข่ได้ เพราะการอุดตันในกรณีนี้เกิดขึ้นที่รอยต่อของท่อนำไข่และมดลูกพอดี
หากเป็นเช่นนี้แพทย์อาจนัดตรวจใหม่อีกครั้ง หรือตรวจยืนยันด้วยวิธีอื่นแทน
วิธีการตรวจอื่นๆ
- การทำอัลตราซาวน์
- การส่องกล้องตรวจโพรงมดลูก (Hysteroscopy) ซึ่งจะใช้กล้องผอมๆ เล็กๆ ส่องผ่านปากมดลูก เพื่อดูในโพรงมดลูก
- อาจตรวจเลือดเพื่อหาแอนติบอดี้ต่อเชื้อคลาไมเดีย (Chlamydia) ซึ่งบ่งชี้เรื่องการติดเชื้อที่กำลังมีอยู่ หรือเคยมีในอดีต
วิธีการรักษาเมื่อมีภาวะท่อนำไข่อุดตัน เพื่อการตั้งครรภ์อย่างปลอดภัย
- หากท่อนำไข่อีกข้างปกติดี อาจตั้งครรภ์ได้โดยไม่ต้องใช้ความช่วยเหลือมากนัก แพทย์จะให้ยากระตุ้นการเจริญพันธุ์ เพื่อเพิ่มการตกไข่ของรังไข่ข้างที่ท่อนำไข่ไม่อุดตัน แต่นี่ไม่ใช่ทางเลือกในกรณีที่ท่อนำไข่ทั้งสองข้างอุดตัน
- ในบางกรณี การผ่าตัดส่องกล้องสามารถแก้การอุดตันของท่อนำไข่ หรือเอาเนื้อพังผืดที่ทำให้เกิดปัญหาออกไปได้ แต่การรักษานี้ไม่ได้ผลเสมอไป โอกาสที่จะสำเร็จขึ้นอยู่กับช่วงอายุ (ยิ่งอายุน้อยยิ่งดี) ตำแหน่ง ความรุนแรง และสาเหตุของการอุดตัน
- หากมีเพียงพังผืดบางๆ ระหว่างท่อนำไข่และรังไข่ โอกาสที่จะตั้งครรภ์ได้หลังการผ่าตัดถือว่าดี
- หากมีการอุดตันของท่อนำไข่ที่ไม่มีปัญหาอื่นๆ อีก โอกาสที่จะตั้งครรภ์หลังการผ่าตัดจะเป็น 20-40%
- หากมีพังผืดหนาหลายตำแหน่ง และมีพังผืดแผลเป็นอยู่ระหว่างท่อนำไข่และรังไข่ หรือหากได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นท่อนำไข่โป่งพองเป็นถุงน้ำ การผ่าตัดอาจไม่ใช่ทางเลือกที่ดี และยิ่งหากมีประเด็นเรื่องภาวะมีบุตรยากของฝ่ายชายด้วยแล้ว ยิ่งควรมองข้ามเรื่องการผ่าตัดไปได้เลย ในกรณีเหล่านี้ อาจรักษาด้วยการทำเด็กหลอดแก้ว (In Vitro Fertilization: IVF) จะเหมาะสมกว่า
ความเสี่ยงของการตั้งครรภ์นอกมดลูกจะสูงขึ้นหลังการผ่าตัดรักษาการอุดตันของท่อนำไข่ หากคุณอยู่ในกลุ่มเสี่ยง แพทย์จะนัดตรวจติดตามอย่างใกล้ชิด เพื่อความปลอดภัยในการตั้งครรภ์
เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสุขภาพผู้หญิง จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกการอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android