ท้องอืด (Flatulence) เป็นอาการปกติที่เกิดขึ้นได้กับทุกคน แต่สำหรับบางคนอาการท้องอืดอาจเกิดขึ้นบ่อยกว่าปกติจนเริ่มรบกวนการใช้ชีวิตในปัจจุบัน เช่น ผายลมบ่อย รู้สึกอึดอัด หรือไม่สบายตัว ซึ่งการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอาจช่วยบรรเทาอาการได้
ทำความรู้จักกับอาการท้องอืด
ท้องอืด คือภาวะที่มีลม หรือแก๊สในกระเพาะอาหารมากผิดปกติ ทำให้เกิดอาการอึดอัด แน่นท้อง มีลมในท้อง ต้องเรอบ่อยๆ และต้องการระบายแก๊สเหล่านั้นออกมา ซึ่งถือเป็นกระบวนการปกติของระบบย่อยอาหาร
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
แก๊สในกระเพาะอาหารเกิดจาก 2 ปัจจัยหลักๆ ดังนี้
- การกลืนอากาศเข้าไปโดยตรง ในระหว่างที่รับประทานอาหาร หรือดื่มน้ำ จะมีอากาศปะปนเข้าไปในกระเพาะอาหารด้วย ทำให้เกิดการสะสมของแก๊สภายในกระเพาะอาหาร นอกจากนี้การสูบบุหรี่ก็สามารถทำให้เกิดแก๊สในกระเพาะอาหารด้วยเช่นกัน
- แก๊สที่เกิดจากกระบวนการย่อยอาหาร เมื่อแบคทีเรียในกระเพาะอาหารทำการย่อยอาหารอาจทำให้เกิดแก๊สบางชนิดได้ เช่น ไฮโดรเจน (Hydrogen) มีเทน (Methane) คาร์บอนไดออกไซด์ (Carbon dioxide)
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าอาการท้องอืดจะเป็นอาการปกติที่เกิดขึ้นได้ทั่วไป แต่หากเกิดบ่อยๆ หรือมีอาการร่วมกับน้ำหนักตัวลด มีอาการซีด ถ่ายอุจจาระดำ ตัวเหลืองตาเหลือง อาเจียนติดต่อกัน ปวดท้อง หรือแน่นท้องมาก ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพโดยละเอียด
เพราะนอกจากปัจจัยที่ทำให้เกิดแก๊สในกระเพาะอาหารที่กล่าวไปในข้างต้นแล้ว อาการท้องอืดยังสามารถเกิดได้จากสาเหตุอื่นๆ ที่เป็นอันตรายได้ เช่น กระเพาะอาหารอักเสบ มะเร็งกระเพาะอาหาร หรือผลข้างเคียงจากการใช้ยาบางชนิด
วิธีป้องกันและบรรเทาอาการท้องอืดด้วยตัวเอง
อาการท้องอืดส่วนใหญ่มักเกิดจากการรับประทานอาหาร การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหารให้เหมาะสมจึงช่วยป้องกันการเกิดอาการท้องอืด หรือบรรเทาอาการท้องอืดได้มาก มีรายละเอียดดังนี้
1. หลีกเลี่ยงอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตจำนวนมาก
การรับประทานอาหารในกลุ่มคาร์โบไฮเดรตเป็นจำนวนมากจะทำให้ระบบย่อยอาหารทำงานหนักขึ้น ซึ่งส่งผลให้เกิดอาการท้องอืด การลดปริมาณคาร์โบไฮเดรตในมื้ออาหารลงจึงช่วยป้องกันอาการท้องอืดได้
อย่างไรก็ตาม หากไม่สามารถลดปริมาณคาร์โบไฮเดรตลงได้ อาจเปลี่ยนไปรับประทานอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตย่อยง่าย เช่น มันฝรั่ง ข้าว หรือกล้วยแทนได้
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
2. หลีกเลี่ยงอาหารที่ทำให้เกิดแก๊สมาก
ตัวอย่างอาหารที่ทำให้เกิดแก๊สในกระเพาะอาหารจากกระบวนการย่อย
- ถั่ว เนื่องจากถั่วมีแรฟฟิโนส (Raffinose) ซึ่งเป็นน้ำตาลชนิดหนึ่งที่เมื่อเข้าสู่ลำไส้ใหญ่จะถูกแบคทีเรียทำลาย และทำให้เกิดเป็นแก๊สต่างๆ ขึ้นเป็นจำนวนมาก
- ธัญพืช ธัญพืชหลายชนิดประกอบด้วย ไฟเบอร์ แรฟฟิโนส และแป้ง ซึ่งนำไปสู่การเกิดแก๊สได้ มีเพียงข้าวเท่านั้นที่ไม่ทำให้เกิดแก๊ส
- ผลิตภัณฑ์จากนม ในนมจะมีน้ำตาลชนิดหนึ่งที่เรียกว่า แลคโตส (Lactose) หากระบบย่อยอาหารไม่สามารถผลิตเอนไซม์แลคเตส (Lactase) ที่ใช้ในการย่อยแลคโตสได้เพียงพอ จะทำให้เกิดอาการท้องอืดได้
- ผักบางชนิด เช่น บร็อคโคลี่ กะหล่ำปลี ดอกกะหล่ำ มีปริมาณแป้งและแรฟฟิโนสจำนวนมาก
- น้ำอัดลม การดื่มน้ำอัดลมทำให้มีอากาศในกระเพาะอาหารมากขึ้น และเป็นสาเหตุของอาการเรอ หรือผายลมอีกด้วย
- หมากฝรั่ง แม้ตัวหมากฝรั่งไม่ได้ทำให้เกิดแก๊สโดยตรง แต่พฤติกรรมของคนที่มักเคี้ยวหมากฝรั่งเป็นเวลานาน จะทำให้เกิดการกลืนอากาศเข้าไปทีละเล็กน้อยโดยไม่รู้ตัวได้
การหลีกเลี่ยงอาหารที่ทำให้เกิดแก๊สในกระเพาะอาหารจำนวนมากเหล่านี้ เป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยป้องกันอาการท้องอืดได้
3. จดบันทึกอาหารที่รับประทานในแต่ละมือ
ร่างกายของแต่ละคนมีความแตกต่างกัน จึงทำให้ความสามารถในการย่อยอาหารแต่ละชนิดแตกต่างกันไปด้วย ในบางรายที่ไม่สามารถย่อยอาหารที่รับประทานเข้าไปได้ก็อาจทำให้เกิดอาการท้องอืด หรือความผิดปกติอื่นๆ ตามมาได้
ตัวอย่างเช่น ในผู้ที่มีภาวะย่อยน้ำตาลแลคโตสผิดปกติ (Lactose intolerance) การดื่มนม หรือรับประทานอาหารที่ทำจากนมก็อาจทำให้เกิดอาการท้องอืดตามมาได้
การจดบันทึกอาหารที่รับประทานไปในแต่ละมื้อจะช่วยให้ทราบได้ว่า อาหารมื้อล่าสุดที่รับประทานเข้าไปมีส่วนทำให้เกิดอาการท้องอืดมากผิดปกติหรือไม่
แต่สำหรับใครที่ต้องการรู้ผลแน่ชัด สามารถเข้ารับการตรวจภูมิแพ้อาหารแฝง ซึ่งเป็นการตรวจเลือดหาสารก่อภูมิต้านทาน (Food specific IgG) เพื่อดูว่า มีภูมิแพ้แฝงต่ออาหารชนิดใดบ้าง เป็นวิธีที่อาจช่วยระบุภูมิแพ้อาหารแฝงได้หลายร้อยชนิดในคราวเดียว
ตรวจภูมิแพ้และภาวะแพ้วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 1,376 บาท ลดสูงสุด 69%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
4. ลดปริมาณอาหารลงเล็กน้อย
หากรับประทานอาหารวันละ 3 มื้อแล้วเกิดอาการท้องอืด อาจเป็นเพราะปริมาณอาหารในแต่ละมื้อนั้นเยอะเกินไป หรือรับประทานเร็ว หรือรับประทานระหว่างทำกิจกรรมอื่นๆ เช่น การเดินไปด้วยกินไปด้วย ก็จะยิ่งทำให้กลืนลมเข้าไปมากขึ้น
ดังนั้นควรแบ่งอาหารเป็น 4-5 มื้อ แต่มื้อละเล็กน้อยเท่านั้น จะทำให้ระบบย่อยอาหารทำงานได้ง่ายขึ้น และควรรับประทานอาหารให้ช้าลงเพื่อลดปริมาณลมที่จะกลืนเข้าไปในท้อง
5. ออกกำลังกาย
การออกกำลังกายมีส่วนช่วยในการย่อยอาหารและป้องกันอาการท้องอืด การเดินสัก 20 นาที หลังมื้ออาหารอาจช่วยให้ระบบย่อยอาหารทำงานได้ดีขึ้น
6. ดื่มน้ำตามมากๆ
น้ำช่วยให้ระบบย่อยอาหารทำงานได้ดีขึ้น และทำให้ของเสียอ่อนตัว ขับถ่ายได้ง่าย
ควรดื่มน้ำอย่างน้อย 1 แก้วหลังมื้ออาหาร เพื่อช่วยให้การทำงานของระบบย่อยอาหารมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้การดื่มน้ำมากๆ ในแต่ละวันจะช่วยลดกลิ่นจากการผายลมได้อีกด้วย
7. ปรึกษาเภสัชกรเพื่อใช้ยา
เภสัชกรอาจแนะนำยาประเภท Charcoal tables ที่มีฤทธิ์ช่วยดูดซับแก๊สในกระเพาะอาหาร ยาลดกรดในกระเพาะอาหาร หรืออาหารเสริมบางชนิด ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของแต่ละคน
ท้องอืดที่เกิดจากอาหารไม่ย่อยอาจเกิดจากอาการแพ้อาหารแฝงได้ หากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหารไม่ช่วยให้อาการดีขึ้น ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยและเข้ารับการรักษาด้วยวิธีที่เหมาะสมต่อไป
เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจภูมิแพ้อาหารแฝง จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกการอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android