มีเลือดออกระหว่างที่ใช้มินิดอซ...ผิดปกติหรือไม่

เผยแพร่ครั้งแรก 19 ธ.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
มีเลือดออกระหว่างที่ใช้มินิดอซ...ผิดปกติหรือไม่

มินิดอซเป็นยาคุมฮอร์โมนรวมสูตร 24/4 ค่ะ นั่นคือ มี “เม็ดยาฮอร์โมน” จำนวน 24 เม็ด ตั้งแต่เม็ดลำดับที่ 1 – 24 และมี “เม็ดแป้ง” จำนวน 4 เม็ด ตั้งแต่เม็ดลำดับที่ 25 – 28 

ตามปกติของผู้ใช้ยาคุมชนิดฮอร์โมนรวม จะมีประจำเดือนออกมาในระหว่าง “ช่วงปลอดฮอร์โมน” หรือช่วงที่รับประทาน “เม็ดแป้ง” นะคะ โดยประจำเดือนมักจะมาเมื่อรับประทาน “เม็ดยาฮอร์โมน” หมดไปแล้ว 2 – 3 วัน ดังนั้น สำหรับผู้ใช้ยาคุมสูตร 24/4 จึงมักจะมีประจำเดือนมาเมื่อกำลังจะรับประทานยาคุมเม็ดที่ 27 – 28 ของแผงค่ะ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

เลือดที่ออกมาระหว่างใช้เม็ดยาฮอร์โมนคืออะไร?

  1. เลือดกะปริบกะปรอย

    ถือว่าปกติค่ะ โดยเฉพาะผู้ที่ใช้ยาคุมชนิดที่มีฮอร์โมนต่ำอย่างมินิดอซ (และไมนอซ) ซึ่งไม่เพียงจะมีปริมาณฮอร์โมนเอสโตรเจนต่ำมากเช่นเดียวกับยาคุมที่มีฮอร์โมน Ethinylestradiol (หรือ Mestranol ในปริมาณที่เทียบเท่า) เม็ดละไม่เกิน 20 ไมโครกรัมแล้ว ยังถือว่ามีฮอร์โมนโปรเจสตินต่ำกว่ายาคุมยี่ห้ออื่น ๆ ที่มีปริมาณเอสโตรเจนใกล้เคียงกันอีกด้วยค่ะ

    การที่มีปริมาณฮอร์โมนต่ำ ทำให้มีผลข้างเคียงในเรื่องเลือดกะปริบกะปรอยได้ง่าย เมื่อเริ่มใช้ยาคุมในแผงแรก ๆ หรือเมื่อรับประทานยาคุมกำเนิดไม่ตรงเวลา

    ระยะเวลาของการมีเลือดกะปริบกะปรอยในแต่ละคนหรือแต่ละสถานการณ์อาจแตกต่างกันได้ค่ะ เช่น ในผู้ที่เริ่มใช้ยาคุมมินิดอซแผงแรก ๆ อาจพบว่ามีหยดเลือดซึมอยู่เรื่อย ๆ หรือเป็นหลายวันติดต่อกัน แต่ไม่มีอันตราย และสามารถหายเองได้

    ส่วนการมีเลือดกะปริบกะปรอยจากการรับประทานยาคุมไม่ตรงเวลามักจะพบอยู่ไม่นาน สามารถหายได้ภายใน 1 – 2 วัน
    ไม่ว่าจะเป็นเลือดออกกะปริบกะปรอยจากการปรับฮอร์โมนในช่วงที่ใช้ยาคุมแผงแรก ๆ หรือจากฮอร์โมนแปรปรวนจากการรับประทานยาคุมไม่ตรงเวลา สามารถใช้ยาคุมต่อไปเรื่อย ๆ จนหมดแผงได้เลยนะคะ แต่ต้องพยายามรับประทานให้ตรงเวลาสม่ำเสมอเพื่อลดผลข้างเคียงดังกล่าวค่ะ

  2. เลือดประจำเดือน

    หากเลือดที่ออกมาในระหว่างที่ใช้ “เม็ดยาฮอร์โมน” มีปริมาณมากเหมือนเวลาที่เป็นประจำเดือน อย่างนี้ถือว่าไม่ปกตินะคะ เนื่องจากในช่วงเวลานี้ มีการได้รับฮอร์โมนต่อเนื่องสม่ำเสมอ จึงไม่ควรเกิดการหลุดลอกของเยื่อบุมดลูกออกมาแล้วทำให้มีเลือดประจำเดือน

    ดังนั้น เมื่อมีประจำเดือนออกมา จึงทำให้ไม่มั่นใจว่าระดับฮอร์โมนที่มีในเลือด ลดต่ำลงกว่าระดับปกติที่ควรจะเป็นหรือไม่ และจะยังมีผลคุมกำเนิดได้อย่างมีประสิทธิภาพหรือเปล่า

    แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
    ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

    แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

    จึงต้องพิจารณาว่ามีปัจจัยที่อาจส่งผลให้ยาคุม ลดประสิทธิภาพลงหรือหมดประสิทธิภาพในการคุมกำเนิดบ้างหรือไม่ ได้แก่...

    • ลืมรับประทานยาคุมมินิดอซติดต่อกันตั้งแต่ 2 วันขึ้นไป
    • อาเจียนภายใน 2 ชั่วโมงหลังรับประทานยา หรืออาเจียน/ถ่ายเหลวอย่างรุนแรงและต่อเนื่อง ติดต่อกันตั้งแต่ 2 วันขึ้นไป
    • ใช้ยาคุมร่วมกับยาบางตัวในกลุ่มยากันชัก, ยารักษาวัณโรค, ยาต้านไวรัสเอดส์, สมุนไพรเซนต์จอห์นเวิร์ต

    หรือมีการใช้ยา, สมุนไพร หรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีสารไฟโตเอสโตรเจนปริมาณมากและต่อเนื่อง จนทำให้เกิดการหนาตัวของเยื่อบุมดลูกมาก จนอาจทำให้เกิดการหลุดลอกอย่างผิดปกต

อาการผิดปกติที่ควรหยุดใช้ยาและปรึกษาแพทย์

ในกรณีที่พบว่ามีประจำเดือนออกมาในระหว่างที่ใช้เม็ดยาฮอร์โมนของมินิดอซ หากไม่มีอาการผิดปกติอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น 

  • ตกขาวปริมาณมาก
  • ตกขาวสีผิดปกติ 
  • มีกลิ่นคาวหรือกลิ่นรุนแรง
  • แสบหรือคันที่ช่องคลอด
  • ปวดท้องอย่างรุนแรง

แต่แนะนำให้รับประทานเฉพาะเม็ดยาฮอร์โมน นั่นก็คือใช้มินิดอซถึงเม็ดที่ 24 จากนั้นก็ให้ข้ามเม็ดแป้ง (เม็ดยาสีเขียว 4 เม็ดสุดท้ายของแผง) ไปใช้แผงใหม่ต่อเลยนะคะ เพื่อให้มั่นใจว่าจะมีผลคุมกำเนิดต่อเนื่องกันตลอด และไม่จำเป็นจะต้องใช้ถุงยางอนามัยร่วมด้วย

อย่างไรก็ตาม หากมีอาการผิดปกติอื่น ๆ ร่วมด้วย หรือมีปัญหาที่อาจลดประสิทธิภาพของยา ตามที่กล่าวไปข้างต้น  และไม่สามารถป้องกันหรือแก้ไขได้ ควรไปพบสูตินรีแพทย์เพื่อตรวจเพิ่มเติม และเลือกใช้ยาคุมให้เหมาะสมค่ะ


6 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Rogaine (Minoxidil Topical) - Side Effects, Dosage, Interactions - Drugs. Everyday Health. (https://www.everydayhealth.com/drugs/rogaine)
MINOXIDIL - TOPICAL (Rogaine) side effects, medical uses, and drug interactions.. MedicineNet. (https://www.medicinenet.com/minoxidil-topical/article.htm)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป