กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

ช่วงเวลาที่เหมาะสมที่สุดในการทดสอบการตั้งครรภ์คือเมื่อไหร่?

มาทำความเข้าใจเกี่ยวกับการทำงานของชุดทดสอบการตั้งครรภ์ในระยะแรกกัน
เผยแพร่ครั้งแรก 25 ม.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
ช่วงเวลาที่เหมาะสมที่สุดในการทดสอบการตั้งครรภ์คือเมื่อไหร่?

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • ช่วงเวลาทดสอบการตั้งครรภ์ที่ดีที่สุดคือ หลังจากเลยช่วงเวลาปกติที่ประจำเดือนควรจะมา แต่หากเป็นผู้ที่ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ ให้รอจนกว่าจะเลยรอบเดือน
  • ชุดทดสอบการตั้งครรภ์ทั่วไปจะทำงานด้วยการตรวจหาฮอร์โมน hCG เป็นฮอร์โมนที่พบในหญิงตั้งครรภ์เท่านั้น
  • ชุดทดสอบการตั้งครรภ์บางชนิด สามารถตรวจหาการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน H-hCG ได้ ทำให้รู้ผลได้เร็วกว่าแบบแรก แต่มีราคาแพงกว่า
  • ไม่แนะนำให้ใช้ในผู้ที่เคยได้รับยาฉีดกระตุ้น hCG เช่น โอวิดริว (Ovidrel) เพราะมีโอกาสได้ผลลบลวงมาก
  • หากยืนยันได้ว่า ตั้งครรภ์ ควรไปฝากครรภ์ให้เร็วที่สุด เพื่อที่แพทย์จะได้ดูแลสุขภาพของมารดา และพัฒนาการของทารกให้เป็นไปอย่างสมบูรณ์ (ดูแพ็กเกจฝากครรภ์และคลอดบุตรได้ที่นี่)

สำหรับผู้หญิงหลายคน การตัดสินใจทดสอบการตั้งครรภ์ทำให้เกิดความกังวลในช่วงเวลาสองสัปดาห์ที่ต้องรอคอย 

HD จึงได้รวบรวมข้อมูลมาให้ดูว่าจะมีวิธีสังเกตได้อย่างไรว่าเกิดการตั้งครรภ์ขึ้นแล้ว  

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ฝากครรภ์ คลอดบุตรวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 79 บาท ลดสูงสุด 65%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ช่วงไหนเหมาะจะตรวจตั้งครรภ์ที่สุด

ช่วงเวลาที่ดีที่สุดสำหรับการทดสอบคือ หลังจากที่ประจำเดือนมาช้ากว่าปกติ การทำเช่นนี้จะช่วยให้คุณหลีกเลี่ยงผลลบลวง และผลบวกลวงจากการแท้งในระยะแรกของการตั้งครรภ์ 

หากประจำเดือนของคุณมาไม่สม่ำเสมอ หรือไม่ได้บันทึกไว้ อย่าเพิ่งทดสอบจนกว่าคุณจะพ้นช่วงระยะเวลาที่นานที่สุดที่รอบเดือนของคุณเคยมีไปแล้ว 

ตัวอย่างเช่น หากรอบเดือนของคุณอยู่ในช่วงระหว่าง 30-36 วัน ช่วงเวลาที่ดีที่สุดที่จะตรวจคือวันที่ 37 เป็นต้นไป

แต่อย่างไรก็ตาม เว็บไซต์ของ FDA ระบุว่าผู้หญิง 10-20 คนจาก 100 คน ไม่มีผลการตั้งครรภ์เป็นบวกในวันที่ถัดจากช่วงที่ประจำเดือนขาดไป ถึงแม้ว่าจะตั้งครรภ์จริงๆ ก็ตาม

แม้ชุดทดสอบที่ทำไว้สำหรับการตรวจหาการตั้งครรภ์ในระยะต้นจริง ๆ ก็ไม่สามารถตรวจหาการตั้งครรภ์ได้อย่างแม่นยำก่อนที่ประจำเดือนของคุณจะขาดไป

ทำความเข้าใจหลักการทำงานของชุดทดสอบการตั้งครรภ์

การรู้ว่า ชุดทดสอบเหล่านี้ทำงานอย่างไร จะทำให้คุณเข้าใจว่า เมื่อไหร่ที่ควรจะทดสอบ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ฝากครรภ์ คลอดบุตรวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 79 บาท ลดสูงสุด 65%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ชุดทดสอบจะตรวจหาฮอร์โมนการตั้งครรภ์ hCG (Human Chorionic Gonadotropin) ในปัสสาวะ ชุดทดสอบบางชุดจะตรวจหาฮอร์โมนนี้ที่มีการเปลี่ยนแปลงไป คือ Hyperglycosylated hCG (H-hCG)

ปกติแล้ว hCG จะถูกสร้างขึ้นหลังจากที่ตัวอ่อนฝังตัวในผนังมดลูกแล้ว ส่วน H-hCG จะถูกหลั่งออกมาเร็วกว่า บางครั้งก็หลังจากการปฏิสนธิ

ปริมาณฮอร์โมนการตั้งครรภ์ และการตรวจการตั้งครรภ์

การตรวจการตั้งครรภ์จะบอกว่า ตรวจพบปริมาณฮอร์โมนเท่าไหร่ ซึ่งชุดการตรวจมักจะบอกคุณว่าต้องใช้ปริมาณ hCG แค่ไหน 

โดยปกติแล้วระดับ H-hCG ในร่างกายผู้หญิงจะสูงกว่า hCG ถ้าชุดทดสอบการตั้งครรภ์ตรวจหา H-hCG คุณก็มีแนวโน้มที่จะตรวจได้ผลบวกเร็วกว่า แต่ถ้าชุดการทดสอบไม่ไวต่อ H-hCG และตรวจได้แต่ hCG การจะได้ผลการตั้งครรภ์เป็นบวกได้เร็วก็เป็นไปได้น้อยกว่า

โชคไม่ดีที่ส่วนใหญ่แล้ว ชุดทดสอบการตั้งครรภ์ที่ขายในท้องตลาดมักไม่สามารถตรวจหา H-hCG ได้

ทำความเข้าใจว่า ชุดตรวจการตั้งครรภ์แบบตรวจพบได้เร็วทำงานอย่างไร

ชุดทดสอบที่ให้ผลตรวจได้เร็วจะใช้ได้ในระยะ 3-4 วันก่อนที่ประจำเดือนจะขาดไป ชุดการทดสอบนี้ใช้ระยะเวลา 14 วัน ของ Luteal phase (ช่วงระยะหลังไข่ตก) ปัญหาคือคุณอาจมีระยะเวลานี้สั้นหรือยาวกว่านี้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ฝากครรภ์ คลอดบุตรวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 79 บาท ลดสูงสุด 65%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

หากระยะหลังไข่ตกของคุณเป็นเวลา 12 วัน สี่วันก่อนที่ประจำเดือนของคุณจะขาดหายไปจะเป็นเวลาเก้าวันหลังไข่ตก ซึ่งนั่นจะเร็วเกินไปที่จะทำการทดสอบ สำหรับคุณแล้ว การตรวจที่สี่วันก่อนประจำเดือนขาดไปจะไม่ได้ประโยชน์อะไร

หากระยะหลังไข่ตกของคุณเป็นเวลา 15 วัน สี่วันก่อนที่ประจำเดือนของคุณจะขาดหายไปจะเป็นเวลาสิบสองวันหลังไข่ตก ถึงตอนนั้นปริมาณฮอร์โมนของคุณอาจจะยังไม่มากพอ แต่ก็ยังมีโอกาสมากกว่าคนที่มีช่วงระยะเวลาหลังตกไข่สั้น

หากคุณเคยได้รับการฉีดกระตุ้น hCG เช่น Ovidrel คุณก็ไม่ควรใช้ชุดทดสอบนี้ เพราะการตรวจนี้อาจตรวจพบยาที่หลงเหลืออยู่แทน

แล้วที่ว่า มีความแม่นยำ 99% ล่ะ?

หากคุณอ่านคู่มืออย่างระมัดระวัง ความแม่นยำ 99% จะเป็นไปตามนั้น ในวันที่ประจำเดือนขาดไปแล้ว และไม่ใช่สำหรับการตรวจเร็ว หากคุณคิดว่าประจำเดือนของคุณจะมาใสวันพุธ วันที่คุณขาดประจำเดือน คือ วันพฤหัสบดี

เป็นเรื่องน่าประหลาดใจว่า ตัวเลขความแม่นยำ 99% นั้นอาจไม่จริง เพราะในการศึกษาที่เปรียบเทียบปริมาณ hCG ที่ชุดการทดสอบอ้างว่าตรวจพบและปริมาณที่ตรวจพบจริง พบว่ามีความแม่นยำแค่ 46-89% เท่านั้น 

สำหรับในอีกการศึกษาหนึ่ง การทดสอบการตั้งครรภ์ที่ได้ผลเป็นบวกจะพบได้แค่ 80% ของวันในวันที่ 28 ของรอบเดือน

ข้อดี และข้อเสียของการตรวจการตั้งครรภ์เร็ว

หากคุณยังอยากตรวจการตั้งครรภ์เร็วอยู่ ก็ให้ดูข้อดีข้อเสียต่อไปนี้

ข้อดี: มีโอกาสได้ผลบวกน้อยมาก ช่วยลดอาการเครียดจากการที่ต้องรอ 2 สัปดาห์

ข้อเสีย: มีโอกาสได้ผลลบลวงมาก

  • รู้สึกผิดหวังหากได้ผลลบลวง
  • เปลืองเงิน (การตรวจใช้เงินประมาณ 1-18 ดอลล่าร์ต่อครั้ง)
  • หากได้ผลบวก มีความเป็นไปได้ที่จะพลาดการตรวจพบการแท้งในระยะเริ่มแรกหากไม่ได้เริ่มตรวจเร็ว
  • ไม่แม่นยำหากได้รับยาฉีดกระตุ้น hCG เช่น Ovidrel

ชุดการทดสอบการตั้งครรภ์แบบเร็วที่ดีที่สุด: จะซื้อยี่ห้อไหนดี?

หากคุณเข้าใจเหตุผลว่า ทำไมการตรวจแบบเร็วจึงไม่เป็นที่แนะนำ แต่คุณก็ยังอยากตรวจอยู่ดี แล้วคุณควรจะเลือกซื้ออันไหน

จากการศึกษาพบว่า ชุดการทดสอบแบบเร็วที่ดีที่สุดในท้องตลาดขณะนี้คือ The First Response Early Result หรือที่บางครั้งเรียกย่อกันในพวกชุมชนออนไลน์ว่า FRER การตรวจนี้เป็นการตรวจด้วยมือ ไม่ใช่แบบดิจิตอล 

ดังนั้นความแม่นยำอาจลดลงบ้าง ซึ่งชุดทดสอบนี้เป็นเพียงชุดเดียวที่ได้รับการยอมรับจาก FDA ว่า สามารถตรวจพบฮอร์โมนการตั้งครรภ์ได้ที่หกวันก่อนจะขาดประจำเดือน

ตรวจเร็วขนาดนั้นแล้วจะมีความแม่นยำแค่ไหน? มีผลจากการศึกษา ดังนี้

  • ในหนึ่งวันจากวันที่คาดว่าจะมีประจำเดือน: ตรวจพบการตั้งครรภ์ได้ 100%
  • ในวันที่คาดว่าจะมีประจำเดือน: ตรวจพบการตั้งครรภ์ได้ 96%
  • หนึ่งวันก่อนวันที่คาดว่าจะมีประจำเดือน: ตรวจพบการตั้งครรภ์ 93%
  • สองวันก่อนวันที่คาดว่าจะมีประจำเดือน: ตรวจพบการตั้งครรภ์ 81%
  • สามวันก่อนวันที่คาดว่าจะมีประจำเดือน: ตรวจพบการตั้งครรภ์ 68%
  • สี่วันก่อนวันที่คาดว่าจะมีประจำเดือน: ตรวจพบการตั้งครรภ์ 42%
  • ห้าวันก่อนวันที่คาดว่าจะมีประจำเดือน: ตรวจพบการตั้งครรภ์ 33%
  • หกวันก่อนวันที่คาดว่าจะมีประจำเดือน: ตรวจพบการตั้งครรภ์ 25%

สถิตินี้ดูเป็นอย่างไรบ้างเมื่อเทียบกับยี่ห้ออื่น?

จากการศึกษาเดียวกัน E.P.T manual test (ไม่ใช่อันที่เป็น digital) ตรวจพบการตั้งครรภ์ได้เพียง 53% ในวันที่ผู้หญิงคาดว่าจะมีประจำเดือน

ผลการตรวจของ The First Response Early Result ที่สามวันก่อนวันที่คาดว่าจะมีประจำเดือนยังแม่นยำกว่าผลการตรวจของ E.P.T ในวันที่คาดว่าจะมีประจำเดือนเสียอีก

ประโยชน์ที่ได้จากการตรวจการตั้งครรภ์แบบเร็ว

หากคุณรู้สึกว่าไม่สามารถอดทนได้ ให้พิจารณาอย่างรอบคอบว่าคุณจะรู้สึกอย่างไร ถ้าผลตรวจเป็นลบ ซึ่งถ้าหากผลตรวจเป็นลบไม่รบกวนคุณ และคุณมีเงินพอที่จะใช้จ่ายไปกับชุดการตรวจ ก็ตามสบาย แต่ถ้าผลตรวจเป็นลบจะทำให้คุณเจ็บปวด หรือไม่อยากเสียเงินไปกับการตรวจเพิ่ม ก็ควรรอ

การตั้งครรภ์เป็นความฝันของผู้หญิงหลายๆ คน และหลายคนก็อดทนรอที่จะได้เป็นคุณแม่มือใหม่กัน แต่ทางที่ดี เพื่อความมั่นใจในผลตรวจ คุณควรศึกษาช่วงเวลาที่ควรตรวจครรภ์ และคุณภาพของที่ตรวจครรภ์ให้ดีเสียก่อน 

หรือหากไม่แน่ใจว่า ตนเองควรตรวจครรภ์แบบไหน คุณสามารถเข้าปรึกษากับแพทย์ เพื่อจะได้เข้าใจถึงกระบวนการตรวจครรภ์ที่ถูกต้องต่อไป

ดูแพ็กเกจฝากครรภ์และคลอดบุตร เปรียบเทียบราคา โปรโมชั่นล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจเหล่านี้ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
webmd.com, The right time to test for pregnancy (https://www.webmd.com/baby/guide/pregnancy-tests#1)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ทารกมีอัตราการเต้นของหัวใจช้า อันตรายหรือไม่
ทารกมีอัตราการเต้นของหัวใจช้า อันตรายหรือไม่

เรื่องง่ายๆ ที่คุณแม่ทุกคนต้องใส่ใจเพราะอัตราการเต้นของหัวใจสัมพันธ์กับความปลอดภัยของลูกน้อย

อ่านเพิ่ม
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?

เรียนรู้สัญญาณการตั้งครรภ์นอกมดลูกก่อนที่มันจะฉีกขาด

อ่านเพิ่ม
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?

การตั้งครรภ์ที่เร็วเกินไปที่จะยืนยันด้วยวิธีการทางชีวเคมี

อ่านเพิ่ม