ปลาหมึก เป็นหนึ่งในอาหารทะเลยอดนิยมที่มีการนำมาประกอบอาหารหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นรับประทานสดในรูปแบบซาซิมิ นำมาย่าง ชุบแป้งทอด ไปจนถึงผสมกับเครื่องปรุงอื่นๆ เป็นเมนูต้ม ผัด แกง
อย่างไรก็ตาม หลายคนโดยเฉพาะผู้สูงอายุมักหลีกเลี่ยงปลาหมึก โดยให้เหตุผลว่าต้องหลีกเลี่ยงอาหารคอเลสเตอรอลสูง ปลาหมึกมีคอเลสเตอรอลสูงจริงหรือไม่ ควรจำกัดการรับประทานอย่างไรจึงจะดี ปลาหมึกให้ประโยชน์อะไรต่อสุขภาพบ้างหรือไม่ HD มีคำตอบ
ตรวจภูมิแพ้และภาวะแพ้วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 1,376 บาท ลดสูงสุด 69%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
ทำความรู้จักปลาหมึก
ปลาหมึก แม้จะชื่อมีคำว่า “ปลา” แต่ไม่ถูกจัดว่าเป็นปลาแต่อย่างใด ความจริงแล้วปลาหมึกเป็นสัตว์น้ำไม่มีกระดูกสันหลัง ลำตัวนิ่ม มีเลือดเป็นสีเขียวหรือฟ้า มีหนวดหรือเรียกอีกอย่างว่ารยางค์ ประมาณ 8-10 เส้นต่อตัว
ปลาหมึกว่ายน้ำได้อย่างว่องไว สามารถพรางตัวเปลี่ยนสีผิวให้เข้ากับพื้นผิวรอบๆ เพื่อจับเหยื่อ ที่ปากของมันมีปุ่มดูดใช้สำหรับยึดเกาะ และจับเหยื่อมาเป็นอาหาร
ปลาหมึกเคลื่อนไหวโดยพ่นน้ำออกจากปาก เพื่อให้แรงดันน้ำที่ออกมาเป็นตัวผลักดันให้ลำตัวพุ่งไปข้างหน้า
ปลาหมึกทั่วโลกมีหลายสายพันธุ์ หลายรูปร่าง หลายขนาด ในสำหรับประเทศไทย ประเภทของปลาหมึกที่มักเห็นได้ทั่วไปมีอยู่ 3 ประเภท ได้แก่
1. ปลาหมึกกล้วย (Squid)
เป็นปลาหมึกลักษณะลำตัวกลม ยาว มีครีบเป็นรูปสามเหลี่ยมอยู่ด้านท้ายลำตัว หนวดอยู่ล้อมรอบปาก ประกอบไปด้วยหนวดสั้น 4 คู่ และหนวดยาวอีก 1 คู่ ที่หนวดจะมีปุ่มดูดสำหรับจับอาหาร 2 แถวหรืออาจมากกว่านั้น
ปลาหมึกกล้อยมักแอบซ่อนตัวอยู่ตามหน้าดิน หรือทรายใต้ทะเลในช่วงกลางวัน ออกหากินในเวลากลางคืน อาศัยอยู่ในทุกระดับน้ำ
ตรวจภูมิแพ้และภาวะแพ้วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 1,376 บาท ลดสูงสุด 69%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
2. ปลาหมึกสาย (Octopus)
เรียกได้อีกชื่อว่า ปลาหมึกยักษ์ มีลักษณะลำตัวรีกลมกว่าปลาหมึกพันธุ์อื่น ดูคล้ายถุงหรือลูกโป่งลอยน้ำ ไม่มีครีบ มีหนวดรอบปาก 4 คู่ แต่ไม่มีปุ่มดูด สามารถพบได้ตามหาดชายฝั่ง
3. ปลาหมึกกระดอง (Cuttlefish)
เรียกได้อีกชื่อว่า ปลาหมึกหอม ลักษณะลำตัวแบนและกว้างกว่าหมึกสองประเภทด้านบน แต่ไม่ยาวเท่าหมึกกล้วย มีครีบขนาดใหญ่อยู่ด้านข้าง หนวดอยู่ล้อมรอบปาก โดยมีหนวดสั้น 4 คู่ หนวดยาว 1 คู่ ปลายหนวดมีปุ่มดูดสำหรับจับอาหาร
หมึกกระดองมักลอยอยู่กับที่ เคลื่อนไหวช้า แต่เมื่อไรที่มันเริ่มว่าย ก็จะเคลื่อนพุ่งตัวไปข้างหน้าได้อย่างรวดเร็วมาก
สารอาหารในปลาหมึก
ในปลาหมึก 85 กรัม ให้พลังงานประมาณ 139 แคลอรี และยังมีสารอาหารที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมาย เช่น โปรตีน 25.35 กรัม ไขมัน 1.8 กรัม ธาตุเหล็ก 8.1 มิลลิกรัม วิตามินบี 6 0.6 มิลลิกรัม
ประโยชน์ของปลาหมึก
ปลาหมึกให้คุณประโยชน์ต่อสุขภาพของคุณมากมายหลายด้าน เช่น
1. ช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อและเส้นผม
ผู้ที่ต้องการสร้างกล้ามเนื้อ ออกกำลังกายหนักๆ เป็นประจำหรือต้องใช้พลังงานมากในระหว่างวัน ปลาหมึกถือเป็นอาหารตัวเลือกที่ไม่เลวในการสร้างพลังงานที่เพียงพอให้กับร่างกาย เนื่องจากปลาหมึกมีโปรตีนสูง
ตรวจภูมิแพ้และภาวะแพ้วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 1,376 บาท ลดสูงสุด 69%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
นอกจากนี้ โปรตีนในปลาหมึกยังมีส่วนช่วยบำรุงความแข็งแรงของเส้นผมอีกด้วย
2. ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็ง
ปลาหมึกเป็นแหล่งรวมของกรดอะมิโน (Amino acids) ซึ่งในกรดชนิดนี้ประกอบไปด้วยสายสารฮิสทิดีน (Histidine) สารลิวซีน (Leucine) และสารไลซีน (Lysine) ซึ่งมีส่วนช่วยต่อต้านการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง
นอกจากนี้ ปลาหมึกยังมีแร่ธาตุเซเลเนียม (Selenium) กับวิตามินอี ซึ่งเปรียบได้กับสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยลดโอกาสการเกิดโรคมะเร็ง
3. บำรุงระบบหัวใจและหลอดเลือด
ในปลาหมึกมีวิตามินบี 12 ซึ่งมีส่วนช่วยบำรุงระบบการทำงานของหลอดเลือดให้มีประสิทธิภาพ และวิตามินบี 6 ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง (Strokes)
4. ลดโอกาสเกิดโรคไมเกรน
เพราะในปลาหมึกอุดมไปด้วยวิตามินบี 2 ซึ่งขึ้นชื่อด้านการบำรุงซ่อมแซมระบบเนื้อเยื่อ เสริมสร้างเซลล์ในหลอดเลือด และลดอาการปวดหัวจากโรคไมเกรน
5. บำรุงระบบการทำงานของสมอง
วิตามินบี 12 ในปลาหมึกมีส่วนช่วยให้การทำงานของสมองมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยวันหนึ่งๆ คุณควรได้รับวิตามินชนิดนี้อย่างน้อย 1.2 ไมโครกรัมต่อวัน เพื่อสนับสนุนการทำงานของสมอง
6. ป้องกันโรคโลหิตจาง
แร่ธาตุทองแดงในปลาหมึกช่วยป้องกันโอกาสการเกิดโรคโลหิตจางได้ ทั้งยังช่วยเสริมความแข็งแรงของระบบภูมิคุ้มกันและกระดูก ทำให้อาการอักเสบบริเวณข้อต่อหรือกระดูกของคุณหายได้ไวขึ้น
7. ลดความเครียด
วิตามินบี 5 ในปลาหมึกเป็นอีกตัวช่วยบรรเทาอาการวิตกกังวล ความเครียด และซึมเศร้าได้ ผ่านการเข้าไปปรับระดับสารฮอร์โมนเกี่ยวกับภาวะอารมณ์ให้สมดุลขึ้น
อีกทั้งวิตามินบี 6 ในปลาหมึกยังช่วยเปลี่ยนสารทริปโตเฟน (Tryptophan) ซึ่งเป็นกรดอะมิโนอีกชนิดให้กลายเป็นสารไนอะซิน (Niacin) และสารเซโรโทนิน (Serotonin) ซึ่งเป็นสารสื่อประสาทควบคุมการทำงานด้านจิตใจและภาวะอารมณ์ให้หลั่งมากพอ จนไม่ทำให้เกิดภ
8. เสริมสร้างฮีโมโกลบิน
ปลาหมึกถือเป็นอีกแหล่งของแร่ธาตุเหล็ก ซึ่งมีคุณสมบัติเสริมสร้างฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดให้เพียงพอได้
ประโยชน์ของน้ำหมึกจากปลาหมึก (Squid ink)
คุณคงทราบกันดีว่า ปลาหมึกสามารถพ่นน้ำหมึกออกมาได้ โดยปลาหมึกจะพ่นน้ำหมึกสีดำออกมาจากรูทวาร ซึ่งเป็นสารชีวโมเลกุลชนิดหนึ่งที่มีฤทธิ์ทำให้เหยื่อ หรือศัตรูขาดประสาทรับกลิ่น และการมองเห็นไปชั่วขณะหนึ่ง
น้ำหมึกจึงมีประโยชน์ต่อปลาหมึกในการหลบหนีจากศัตรู อำพรางตัวขณะจับเหยื่อ แต่นอกจากประโยชน์ต่อตัวตนมันเอง เราก็สามารถใช้น้ำหมึกมาทำประโยชน์ได้เช่นกัน
ในอดีต น้ำหมึกจากปลาหมึกมักนำไปใช้เป็นสีย้อมผ้า สำหรับวาดภาพ หรือระบายสี แต่ในปัจจุบัน น้ำหมักมักถูกนำมาใช้เพื่อปรุงอาหารเป็นวัตถุประสงค์หลัก
น้ำหมึกจากปลาหมึกจัดเป็นอาหารที่ปลอดภัย สามารถรับประทานได้ ทั้งยังมีประโยชน์ต่อสุขภาพหลายอย่าง เช่น
- ลดระดับความดันโลหิต
- เสริมระบบภูมิคุ้มกันร่างกาย
- ป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร
- อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ ลดโอกาสการเกิดโรคมะเร็ง โรคเบาหวาน โรคหัวใจ
เมนูแนะนำจากปลาหมึก
ปลาหมึกสามารถนำมาปรุงเป็นอาหารหลากหลายรสชาติได้มากมาย เช่น
- ปลาหมึกย่าง
- ปลาหมึกยัดไส้ย่าง
- ไข่ปลาหมึกทอด
- ปลาหมึกชุบแป้งทอด
- ปลาหมึกนึ่งมะนาว
- ยำปลาหมึกใส่วุ้นเส้น
- ปลาหมึกผัดไข่เค็ม
- ปลาหมึกยัดไส้ทอดกระเทียม
- ปลาหมึกผัดฉ่าทะเล
- ปลาหมึกผัดกระเทียมพริกไทย
- ต้มยำทะเลรวมมิตร
ระดับคอเลสเตอรอลในปลาหมึก
คุณคงได้ยินผ่านหูมาบ้างว่า ปลาหมึกเป็นอาหารที่มีคอเลสเตอรอลสูง ไม่ควรรับประทานบ่อยๆ ซึ่งก็ถือเป็นเรื่องถูกต้อง
เพียงแต่คอเลสเตอรอลในปลาหมึกนั้นให้ปริมาณไขมันอิ่มตัวต่ำ จึงไม่ส่งผลให้เกิดไขมัน หรือคอเลสเตอรอลสะสมในเลือดอย่างที่หลายๆ คนกลัว
ข้อควรระวังในการรับประทานปลาหมึก
มีข้อควรระวังบางอย่างที่คุณควรรู้ก่อนรับประทานปลาหมึก มิฉะนั้นอาจส่งผลเสียต่อร่างกายได้ เช่น
1. อาการแพ้อาหาร
อาหารทะเลจัดเป็นอาหารอันดับต้นๆ ที่มีคนเกิดอาการแพ้มากที่สุด และในผู้ที่แพ้อาหารทะเลชนิดอื่นๆ ที่ไม่ใช่ปลาหมึก ก็ไม่ได้หมายความว่าคุณจะไม่มีโอกาสแพ้ปลาหมึกได้เลย
ทางที่ดี หากคุณมีอาการแพ้อาหาร ก็ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารทะเล หรือปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นก่อนรับประทานจะปลอดภัยที่สุด
2. สารโลหะหนัก
อาหารทะเลมักถูกปนเปื้อนไปด้วยสารโลหะหนัก โดยปลาหมึกมักจะปนเปื้อนสารโลหะหนักชื่อ แคดเมียม (Cadmium) ซึ่งเป็นสารที่ใช้ในอุตสาหกรรมหมึกพิมพ์ ย้อมผ้า ผลิตกระดาษ มีที่มามาจากการตกตะกอนของดินใต้น้ำ
สารแคดเมียมมีโทษต่อร่างกาย โดยอาจทำให้เกิดอาการท้องเสีย คลื่นไส้อาเจียน ปวดท้อง หรืออาจมีผลระยะยาวกลายเป็นโรคกระดูกพรุนได้ อีกทั้งสารชนิดนี้จะดูดซึมได้ดีในเด็กมากกว่าผู้ใหญ่
ทางที่ดี ก่อนรับประทานปลาหมึก คุณควรล้างทำความสะอาดปลาหมึกเสียก่อน และควรควักไส้หมึกออกมาทิ้งก่อนรับประทาน
3. สารฟอร์มาลีน
บางครั้งมีการแช่อาหารทะเลลงในฟอร์มาลีนเพื่อคงความสด แต่ฟอร์มาลีนเป็นสารที่มีพิษอย่างรุนแรงต่อร่างกาย ทำให้ระคายเคืองกระเพาะอาหารจนปวดท้องอย่างรุนแรง คลื่นไส้อาเจียน อ่อนเพลีย การทำงานของสมอง ตับ ไตถูกรบกวน
ความรุนแรงของพิษสารฟอร์มาลีนนั้นอาจถึงขั้นทำให้หมดสติหรือเสียชีวิตได้ ดังนั้นก่อนซื้อปลาหมึกมารับประทาน ให้คุณลองดมกลิ่นก่อน หากปลาหมึกมีกลิ่นฉุน แสบจมูก ให้สงสัยไว้ก่อนว่าอาจมีสารฟอร์มาลีนปนเปื้อนอยู่
วิธีสังเกตอีกอย่างคือ เนื้อปลาหมึกที่แช่ฟอร์มาลีนจะไม่นิ่มหรือยืดหยุ่นตามธรรมชาติ แต่จะดูแข็ง ไม่นุ่ม หรืออาจเปื่อยยุ่ยเกินไป
แม้ปลาหมึกจะมีประโยชน์หลายอย่างต่อร่างกาย ไขมันไม่สูง แต่อย่างไรก็ตาม คุณไม่ควรรับประทานเฉพาะปลาหมึกมากเกินไป ทางที่ดีควรรับประทานอาหารทุกชนิดให้ครบ 5 หมู่ในปริมาณเหมาะสม เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์แต่พอดี ไม่มากและไม่น้อยเกินไป
เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจภูมิแพ้ และภาวะแพ้ จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชันเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android