กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

6 ประโยชน์ที่น่าทึ่งของการงีบหลับตอนกลางวัน

เผยแพร่ครั้งแรก 20 ก.พ. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
6 ประโยชน์ที่น่าทึ่งของการงีบหลับตอนกลางวัน

โดยปกติแล้ว เรามักจะนอนตอนกลางคืน และทำกิจกรรมต่างๆ ในช่วงกลางวัน แต่คุณรู้ไหมว่า การได้งีบหลับสักครู่ในระหว่างวัน ไม่เพียงแต่ทำให้คุณรู้สึกสดชื่น และพร้อมที่จะรับมือกับปัญหาที่ถาโถมเข้ามาเท่านั้น แต่มันยังแฝงไปด้วยประโยชน์อื่นๆ ที่หลายคนอาจนึกไม่ถึงเลยค่ะ ซึ่งวันนี้เราจะพาคุณไปดูหลากประโยชน์ของการงีบหลับตอนกลางวัน แต่จะมีอะไรบ้างนั้น เราลองมาดูพร้อมกันเลยค่ะ

งีบหลับ ดีอย่างไร?

1. เสริมสร้างความจำ

มีงานวิจัยพบว่า ผู้เข้าร่วมทดลองที่งีบหลับเป็นประจำ โดยใช้เวลา 10 20 และ 30 นาที มีผลคะแนนสอบด้านความจำ และความระมัดระวังตัวเองดีขึ้นหลังจากผ่านไป 2.30 ชั่วโมง ซึ่งคนที่นอนมากกว่า 20 นาทีจะมีอาการมึนงง ในขณะที่คนที่งีบหลับแค่ 10 นาที จะมีประสิทธิภาพการทำงานดีขึ้นในทันตา ดังนั้นคุณไม่ควรนอนนานเกินไปค่ะ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

2. ลดความดันโลหิต

ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อว่า การงีบหลับก็สามารถช่วยลดความดันโลหิตได้เช่นกัน ซึ่งมีงานวิจัยที่ถูกเผยแพร่ใน The Journal of Applied Physiology พบว่า การงีบหลับจนเป็นนิสัย มีความสัมพันธ์กับการลดลงของอัตราการตายจากโรคหัวใจมากถึง 37% โดยเชื่อกันว่าเป็นเพราะการนอนที่ทำให้ความดันโลหิตลดลง

3. ทำให้รู้สึกสงบ

สำหรับใครที่ตอนนี้รู้สึกว่าชีวิตว้าวุ่นเหลือเกิน ให้คุณลองงีบหลับสักครู่ค่ะ เพราะมีงานวิจัยจาก University of Berkeley พบว่า การงีบหลับ 90 นาที สามารถช่วยทำให้คุณสงบได้อย่างไม่น่าเชื่อ ซึ่งงานวิจัยชิ้นนี้ได้ให้ผู้เข้าร่วมทดลองแสดงสีหน้าโกรธ กลัว และมีความสุขตอนเที่ยง และทำอีกครั้งตอน 18.00 น. ผลปรากฏว่า คนเหล่านี้จะมีใบหน้าที่เต็มไปด้วยความโกรธ หรือหวาดกลัวในภายหลัง แต่คนที่ได้นอนงีบ 90 นาที ในช่วงพักกลางวันจะไม่มีอาการดังกล่าว

4. เพิ่มความตื่นตัว

ใครที่รู้สึกว่าตัวเองมีอาการเฉื่อยชา การได้งีบหลับสักครู่อาจช่วยให้คุณรู้สึกสดชื่น และกระปรี้กระเปร่ามากขึ้น เพราะมีงานวิจัยจาก NASA พบว่า นักบินทหาร และนักบินอวกาศที่ได้นอน 40 นาที จะมีประสิทธิภาพการทำงานเพิ่มขึ้น 34% และทำให้ตื่นตัวมากถึง 100% ดังนั้นการงีบหลับสักครู่ก่อนขับรถจึงช่วยลดโอกาสที่คุณจะหลับในจนนำไปสู่การเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนได้

5. ทำให้มีความคิดสร้างสรรค์มากขึ้น

สำหรับใครที่ทำงานในสายที่จำเป็นต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์ การได้งีบหลับในช่วงกลางวันสามารถช่วยเติมพลังให้สมองได้ค่ะ เพราะ James Maas  และ Rebecca Robbins ผู้ร่วมก่อตั้ง Sleep for Success ได้เคยเขียนลงในนิวยอร์กไทม์ว่า การงีบหลับสามารถช่วยให้เรามีความคิดสร้างสรรค์มากขึ้น เสริมกระบวนการเรียนรู้  ทำให้ความจำดี และช่วยให้สมองปลอดโปร่ง

6. เพิ่มพลัง

อะไรๆ ก็จะดูเป็นเรื่องยากถ้าคุณรู้สึกเหนื่อย เมื่อคุณนอนไม่เพียงพอ สมองก็จะอ่อนล้า ทั้งนี้การได้งีบหลับในช่วงกลางวันสามารถช่วยลดความรู้สึกดังกล่าวได้ แถมยังช่วยลดความเครียด ทำให้อารมณ์ดีขึ้น และช่วยให้คุณมีสมาธิมากขึ้นค่ะ

สำหรับใครที่อยากเติมพลังให้ร่างกายแบบเร่งด่วน และมีสมองที่ปลอดโปร่งพร้อมทำงานและรับมือกับเรื่องวุ่นๆ ให้คุณลองหาเวลานอนสักประมาณ 10-20 นาทีค่ะ รับรองว่าคุณจะรู้สึกดีขึ้นอย่างแน่นอน

ที่มา : https://www.treehugger.com/hea...7-surprising-benefits-afternoon-nap.html


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
The long-term memory benefits of a daytime nap compared with cramming. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC6335868/)
The benefits of napping. Harvard Health. (https://www.health.harvard.edu/healthbeat/the-benefits-of-napping)
The Overwhelming Benefits of Power Napping. Verywell Mind. (https://www.verywellmind.com/power-napping-health-benefits-and-tips-stress-3144702)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)