กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
ทีมแพทย์ HD
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
ทีมแพทย์ HD

ท่านอนตะแคงดีที่สุดสำหรับคุณแม่ที่ตั้งครรภ์จริงเหรอ

แนะนำท่านอนสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ เพื่อความปลอดภัยต่อสุขภาพของแม่และลูก
เผยแพร่ครั้งแรก 5 ก.พ. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 11 มี.ค. 2019 เวลาอ่านประมาณ 1 นาที
ท่านอนตะแคงดีที่สุดสำหรับคุณแม่ที่ตั้งครรภ์จริงเหรอ

ปกติคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์นั้นอาจจะกังวลเรื่องท่านอน เพราะการนอนเป็นอีกสิ่งที่ต้องใช้ความระมัดระวังสูง และมักจะสร้างความลำบากให้กับคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์อยู่ไม่น้อย หากเป็นคุณแม่มือใหม่ก็อาจจะต้องใช้เวลาในการปรับเปลี่ยนท่านอน หาท่าที่เหมาะสมและทำความคุ้นเคยกับร่างกายและความเปลี่ยนแปลง โดยหาท่านอนที่สบายที่สุดโดยเร็วก่อนที่ท้องจะขยายใหญ่ขึ้นจนเกิดปัญหากับท่านอน

โดยปกติท่านอนจะมีอยู่ 3 ท่า คือ ท่านอนหงาย นอนคว่ำ และนอนตะแคง แต่เมื่ออยู่ในช่วงตั้งครรภ์ การนอนคว่ำจะทำให้เกิดการกดทับมดลูก และกระจายน้ำหนักไม่ดี ทำให้รู้สึกเหมือนกำลังนอนอยู่บนลูกแตงโม ถ้านอนหงายจะรู้สึกสบายกว่า แต่น้ำหนักตัวของลูกจะไปเบียดกระเพาะอาหารและลำไส้ ทำให้ปวดหลัง อาหารไม่ย่อย และอาจจะรบกวนระบบหายใจและการไหลเวียนของเลือดได้ อีกทั้งยังทำให้เกิดภาวะความดันเลือดต่ำ จนกระทั่งมีอาการหน้ามืด วิงเวียน หรือหมดสติ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ดังนั้นท่านอนที่ดีที่สุดของหญิงตั้งครรภ์คือ นอนตะแคงข้างขวา โดยมีหมอนหลายๆ ใบรองรับในส่วนที่จำเป็นคือ รองรับส่วนคอและไหล่ และมีหมอนข้างรองรับขาซ้าย ท่านี้จะช่วยให้การไหลเวียนของเลือดสะดวกทั้งร่างกาย ทำให้มีปริมาณเลือดไปเลี้ยงมดลูกและไตเพิ่มขึ้น รกจะได้อาหารเพิ่มขึ้น การทำงานของไตจะดีขึ้นซึ่งส่งผลต่อระบบการขับของเสีย ลดอาการบวมของมือและเท้าได้

นอกจากนี้ควรใช้ที่นอนที่ค่อนข้างแข็ง เวลาที่ต้องการลุกจากเตียงให้ใช้การหมุนตัวจากท่าตะแคงแล้วใช้เท้าเหวี่ยงลงจากเตียงพร้อมๆ กับใช้มือยันตัวขึ้นนั่ง ไม่ควรลุกจากที่นอนจากท่านอนหงายแล้วยกลำตัวเพราะจะทำให้กล้ามเนื้อหลังทำงานมากเกินไป


2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Colleen de Bellefonds, Sleeping Positions During Pregnancy (https://www.whattoexpect.com/p...), 28 June 2018.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ทารกมีอัตราการเต้นของหัวใจช้า อันตรายหรือไม่
ทารกมีอัตราการเต้นของหัวใจช้า อันตรายหรือไม่

เรื่องง่ายๆ ที่คุณแม่ทุกคนต้องใส่ใจเพราะอัตราการเต้นของหัวใจสัมพันธ์กับความปลอดภัยของลูกน้อย

อ่านเพิ่ม
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?

เรียนรู้สัญญาณการตั้งครรภ์นอกมดลูกก่อนที่มันจะฉีกขาด

อ่านเพิ่ม
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?

การตั้งครรภ์ที่เร็วเกินไปที่จะยืนยันด้วยวิธีการทางชีวเคมี

อ่านเพิ่ม