คนทั่วไปอาจจะมีอาการปวดหลัง หรือเมื่อยบ้างเมื่อใช้กล้ามเนื้อหลังมากเกินไปหรือใช้ไม่เหมาะสม เช่น การยกของหนัก การยืนหรือนั่งเป็นเวลานานๆ แต่เมื่อเริ่มตั้งครรภ์นั้นอาการปวดหลังจะเป็นมากขึ้นและหนักขึ้นตามอายุครรภ์ที่เพิ่มมากขึ้นนั้นเอง ยิ่งใกล้คลอดเท่าไรอาการปวดหลังก็จะเป็นได้บ่อยขึ้น เราจะเตรียมรับมือป้องกันและลดอาการปวดหลังในช่วงที่กำลังตั้งครรภ์ได้อย่างไร วันนี้เรามีเคล็ดลับมาฝากค่ะ
ทำไมตั้งครรภ์แล้วถึงปวดหลังมากกว่าปกติ
เนื่องจากเมื่ออายุครรภ์มากขึ้น น้ำหนักของครรภ์จะเพิ่มมากขึ้นไปด้วย และด้วยน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นนี้เองจะทำให้กล้ามเนื้อหมอนรองกระดูกและเส้นเอ็นต่างๆ ต้องทำงานหนักกว่าปกติ ยิ่งหากคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์อยู่นั้นมีพฤติกรรมการใช้กล้ามเนื้อส่วนหลังที่ผิดก็ยิ่งทำให้ต้องปวดหลังมากขึ้นไปอีก และยังมีการเปลี่ยนแปลงลักษณะของรูปทรงร่างกาย เกิดการเปลี่ยนแปลงศูนย์ถ่วงทำให้เวลาขยับมีอาการปวดได้ ในส่วนของฮอร์โมนที่มีการเปลี่ยนแปลงในขณะตั้งครรภ์จะมีการหลั่งฮอร์โมน relaxin ทำให้เส้นเอ็นและข้อต่อบริเวณอุ้งเชิงกรานหลวมมากขึ้น
ฝากครรภ์ คลอดบุตรวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 79 บาท ลดสูงสุด 65%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
พฤติกรรมอะไรที่ทำให้ใช้กล้ามเนื้อส่วนหลังผิด
- การยกของหนักในช่วงที่ตั้งครรภ์ เพราะการยกของจะเป็นการเกร็งกล้ามเนื้อช่วงตัวและส่วนหลัง ทำให้กล้ามเนื้อบริเวณนี้ทำงานหนัก ซึ่งปกติก็ทำงานหนักอยู่แล้วเพราะมีน้ำหนักครรภ์ที่มาก การยกของหนักในช่วงตั้งครรภ์จึงเป็นเรื่องที่ไม่ควรทำเป็นอย่างยิ่ง
- การเดินหรือนั่งหรือยืนนานๆ ในสภาพที่หลังงอ ซึ่งหากมีการฝึกบุคลิกภาพให้เป็นคนนั่งหลังตรง เดินไม่หลังงอ ก็จะช่วยลดการปวดหลังไปได้มาก
ทำไมจึงมักปวดหลังในตอนเช้าหลังตื่นนอน
หากมีอาการปวดหลังมากหลังตื่นนอน อาจเป็นไปได้ว่าท่านอนและที่นอนที่ใช้นั้นไม่ถูกต้อง ลองสำรวจดูซิว่า ที่นอนนั้นมีการบุ๋มลงไปเป็นแอ่งหรือไม่ ถ้ามีก็แสดงว่าที่นอนนั้นหมดสภาพการใช้งานแล้วควรจะเปลี่ยนใหม่ หรือจะเลือกใช้ที่นอนประเภท ที่นอนเพื่อสุขภาพ ที่ทำมาจากใยมะพร้าวก็ได้ หรือการนอนราบลงไปกับพื้นกระดานเรียบๆ ก็ช่วยลดอาการปวดหลังได้เช่นกัน
แล้วเราจะลดและป้องกันอาการปวดหลังในช่วงตั้งครรภ์ได้อย่างไร
-
เมื่อเกิดอาการปวดจะลดอาการปวดหลังได้อย่างไร
- ใช้การนวดหลังโดยทายานวดแล้วนวดเบาๆ เพื่อให้กล้ามเนื้อผ่อนคลาย แต่การนวดควรระมัดระวังอย่านวดแรงเกินไปเพราะจะยิ่งทำให้เจ็บมากกว่าเดิม
- ใช้กระเป๋าน้ำร้อนประคบ
- การใช้ยาเพื่อลดอาการปวด สามารถทำได้แต่ไม่แนะนำให้ซื้อยามากินเอง ควรปรึกษาคุณหมอที่ฝากครรภ์และให้คุณหมอจ่ายยาให้จะดีกว่า เพราะยาบางประเภทอาจมีผลต่อทารกในครรภ์ได้
-
มีวิธีป้องกันไม่ให้เกิดอาการปวดหลังได้อย่างไร
- การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น ไม่ยกของหนัก เดินตัวตรงหลังตรง ไม่ยืนหรือนั่งนานเกินไป (ควรเปลี่ยนอิริยาบทบ้างอย่างน้อยทุกๆ 1 ชั่วโมง)
- การปรับเปลี่ยนอิริยาบทจากนั่งเป็นยืน หรือจากนอนเป็นนั่ง ต้องใช้ความระมัดระวัง เพื่อไม่ให้กล้ามเนื้อส่วนหลังทำงานมาก
- ออกกำลังกายเพิ่มความแข็งแรงและความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อ โดยออกกำลังกายเบาๆอย่างสม่ำเสมอ เช่นการเดิน ว่ายน้ำ ปั่นจักรยานในยืน โดยอาจจะต้องขอคำแนะนำจากแพทย์ที่ทำการดูแลในแต่ละกรณีไป
- การเลือกที่นอนที่เหมาะสม ไม่บุ๋มเป็นแอ่ง
- ใช้วิธีการฝังเข็ม
-
หากปวดหลังมากจนนอนไม่หลับ จะแก้ไขได้อย่างไร
- ให้ใช้ท่านอนตะแคงแทนการนอนหงาย
- ใช้กอดหมอนข้างที่แข็งๆ และหนาๆ หน่อย ให้ทิ้งน้ำหนักตัวลงบนหมอนข้าง จะทำให้น้ำหนักตัวและน้ำหนักครรภ์ไม่กดทับที่แขนอีกข้าง (ลดอาการชา) รวมถึงการนอนกอดหมอนข้างโดยงอเข่าและวางขาลงบนหมอนข้าง จะทำให้น้ำหนักตัวเกือบครึ่งหนึ่งถูกถ่ายลงไปยังหมอนข้าง ทำให้ลดภาระการทำงานของกล้ามเนื้อส่วนหลังไปได้มาก