ปวดหลังแค่ไหน...ก็หลับสนิทได้ด้วยเทคนิคท่านอนที่เหมาะสม

เผยแพร่ครั้งแรก 28 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 11 ก.พ. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที

หากคุณเป็นหนึ่งในผู้ที่กำลังเผชิญหน้ากับอาการปวดหลังเรื้อรัง ทำให้ต้องอดหลับอดนอน เพราะมักสะดุ้งตื่นกลางดึกหลายครั้งหลายคราด้วยกันไม่ว่าจะนอนท่าไหนก็ตาม ปัญหานี้คืออีกหนึ่งสาเหตุของการพักผ่อนไม่เพียงพอที่นอกจากจะทำให้ร่างกายอ่อนล้าในระยะสั้นแล้ว ยังสามารถทำลายสุขภาพโดยรวมในระยะยาวได้ไม่น้อยเลยทีเดียว

แต่ไม่ว่าคุณจะชอบนอนคว่ำ นอนหงาย หรือนอนตะแคง คุณก็สามารถป้องกันไม่ให้อาการปวดหลังมารบกวนเวลานอนได้ หากรู้จักเทคนิคที่เหมาะสมสำหรับท่านอนแต่ละท่า ดังนี้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

นอนคว่ำ

ความจริงแล้ว การนอนคว่ำเป็นท่าที่ทำให้อาการปวดหลังทรุดหนักกว่าเดิมได้มากที่สุด เพราะเมื่อเรานอนคว่ำและวางศีรษะบนหมอนที่สูงกว่าระดับตัว เราก็จะต้องแอ่นหลังมากเป็นพิเศษ ทำให้กระดูกสันหลังมีการโค้งเว้าที่ผิดรูปและทำให้รู้สึกเจ็บได้

เทคนิคสำหรับท่านอนคว่ำ: การบรรเทาอาการปวดหลังในขณะที่นอนคว่ำนั้นทำได้โดยการใช้หมอนอีกใบหนุนไว้ที่บริเวณใต้ท้องน้อยไปจนถึงบริเวณสะโพก เพื่อทำให้ช่วงศีรษะและลำตัวของเราอยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกันให้มากที่สุด

นอนหงาย

แม้ว่าท่านอนหงายนั้นจะไม่ทำให้กระดูกสันหลังต้องอยู่ในรูปทรงที่ผิดเพี้ยนเหมือนท่านอนคว่ำ แต่ก็สามารถทำให้กระดูกสันหลังเกิดการเกร็งตัวได้ ซึ่งสังเกตได้จากการที่แผ่นหลังช่วงล่างของเราไม่สัมผัสกับที่นอนในขณะที่นอนหงายนั่นเอง

เทคนิคสำหรับท่านอนหงาย: ใช้หมอนอีกใบหนุนไว้ที่บริเวณใต้หัวเข่า เทคนิคนี้จะทำให้สะโพกของเรายกตัวขึ้นเล็กน้อยและทำให้หลังของเราได้แนบลงบนที่นอนได้อย่างที่ควรจะเป็น ซึ่งสามารถบรรเทาอาการเกร็งของกล้ามเนื้อและกระดูกสันหลังได้ดีเลยทีเดียว

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

นอนตะแคง

การนอนตะแคงเป็นท่าที่ลดการบาดเจ็บที่บริเวณหลังของเราได้ดีที่สุด แต่ท่านอนตะแคงธรรมดาก็อาจไม่ได้ช่วยอะไรได้มากนักสำหรับผู้ที่มีอาการปวดหลังเรื้อรัง หากแต่ต้องมีเทคนิคพิเศษ

เทคนิคสำหรับท่านอนตะแคง: ในการบรรเทาอาการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อและกระดูกสันหลังให้ได้มากที่สุด เราต้องใช้ขาในการช่วยทรงตัวและผ่อนน้ำหนักในขณะที่นอนตะแคง ซึ่งทำได้โดยการยกเข่าข้างที่ไม่ติดกับที่นอนให้สูงขึ้นกว่าอีกข้างเล็กน้อย จากนั้นสอดหมอนอีกใบไว้ระหว่างเข่าทั้งสองข้าง

เทคนิคเหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นเทคนิคที่ง่ายมาก และสามารถนำไปใช้ได้อย่างเหมาะสมสำหรับท่านอนที่แต่ละคนถนัด ส่วนการพลิกตัวหรือเปลี่ยนท่าในขณะที่นอนนั้นถือว่าเป็นเรื่องธรรมดาและไม่ใช่เรื่องที่ต้องเป็นกังวล หากรู้สึกตัวกลางดึกก็แค่พยายามจัดท่านอนให้ใกล้เคียงกับเทคนิคที่นำมาฝากไว้ก็พอ


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
The association of sleep and pain: An update and a path forward. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4046588/)
How to Beat Insomnia When You Have Chronic Pain. Health Essentials from Cleveland Clinic. (https://health.clevelandclinic.org/managing-insomnia-for-those-with-chronic-pain/)
How to sleep well despite chronic pain. Harvard Health. (https://www.health.harvard.edu/pain/how-to-sleep-well-despite-chronic-pain)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป