January 24, 2017 19:29
ตอบโดย
ชมชนัท ทับเจริญ (พญ.)
"อาหารสำหรับผู้ป่วยเบาหวานแบ่งง่ายๆ ออกเป็น 3 ประเภท คือ
ประเภทที่ 1
- อาหารที่ห้ามรับประทาน
ได้แก่ น้ำตาลและขนมหวาน เช่น ทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง สังขยา ลอดช่อง อาหารเชื่อม เค้ก ช็อกโกแลต ไอศครีม และขนมหวานอื่นๆ
- เครื่องดื่มที่ห้ามรับประทาน
เครื่องดื่มประเภทน้ำอัดลม น้ำเขียว น้ำแดง โอเลี้ยง เครื่องดื่มชูกำลัง นมข้นหวาน น้ำเกลือแร่ น้ำผลไม้ ซึ่งมีน้ำตาลประมาณ 8-15% เป็นส่วนใหญ่ ยกเว้นน้ำมะเขือเทศ มีน้ำตาลประมาณ 1% ควรดื่มน้ำเปล่า หรือน้ำชาไม่ใส่น้ำตาล ถ้าดื่มกาแฟ ควรดื่มกาแฟดำไม่ใส่น้ำตาล นมข้นหวาน หรือครีมเทียม (ซึ่งประกอบด้วยน้ำตาลกลูโคส 58% น้ำมันปาล์ม 33%) ควรใส่นมจืดพร่องมันเนย สำหรับนมเปรี้ยวส่วนใหญ่ไม่ใช่นมพร่องไขมัน และมีน้ำตาลอยู่ประมาณ 15% เป็นส่วนใหญ่ ส่วนนมถั่วเหลืองมีน้ำตาลน้อยกว่าประมาณ 5-6% ถ้าน้ำอัดลม ควรดื่มน้ำอัดลมที่ใส่น้ำตาลเทียม เช่น เป๊ปซี่แม็กซ์ โค้กซีโร่ โค้กไลท์ เป็นต้น
น้ำตาลเทียม น้ำตาลเทียมที่มีอยู่ในปัจจุบันมี 3 ประเภท คือ
1. แอสปาแทม จำหน่ายแบบเม็ดและแบบซอง แอสปาแทมเป็นสารอาหาร คือ กรดอะมิโนเอซิด (amino acid) มีสารอาหารต่ำ ใน 1 เม็ดมี 2 กิโลแคลอรี่ ใน 1 ซอง มี 4 กิโลแคลอรี่ จึงรับประทานได้ แต่ไม่มากจนเกินไป ซึ่งเป็นส่วนผสมของน้ำอัดลมที่ไม่มีน้ำตาล สำหรับคำเตือนข้างกล่องน้ำตาลเทียมและกระป๋องน้ำอัดลม ว่าห้ามใช้ในผู้ป่วยที่เป็นฟีนิลคีโตนยูเรีย (phenylketonuria) โรคนี้พบน้อยในเมืองไทย และถ้าเป็นโรคนี้จะได้รับการวินิจฉัยโรคตั้งแต่เด็ก
2.แซคคารีน (saccharin) หรือขัณฑสกร ชื่อทางการค้าว่า สวีทแอนด์โลว์ (sweet and low) ไม่มีสารอาหาร มีการศึกษาว่าทำให้เกิดโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะในหนู แต่ต้องใช้ปริมาณสูงมาก ในคนยังไม่มีหลักฐานว่าจะทำให้เกิดโรคมะเร็ง
3.น้ำตาลฟรุคโตส หรือซอร์บิทอล เป็นน้ำตาลที่ผสมอยู่ในช็อกโกแลตเบาหวาน แยมเบาหวาน เป็นต้น หรือจำหน่ายเป็นผงในกระป๋อง น้ำตาลชนิดนี้เป็นน้ำตาลจากผลไม้มีสารอาหารเท่ากับน้ำตาล ไม่ควรรับประทานน้ำตาลเทียมชนิดนี้ เพราะอาจเข้าใจผิดว่าไม่มีสารอาหาร และส่วนใหญ่ผู้ป่วยเบาหวานรับประทานผลไม้อยู่แล้ว
4.อะซิซัลเฟม เค เป็นส่วนประกอบในน้ำอัดลมที่ไม่มีน้ำตาล
ประเภทที่ 2 อาหารที่รับประทานได้ไม่จำกัดจำนวน
ได้แก่ ผักใบเขียวทุกชนิด เช่น ผักกาด ผักคะน้า ถั่วฝักยาว ผักบุ้ง ถั่วงอก ทำเป็นอาหาร ตัวอย่างเช่น ต้มจืด ยำ สลัด ผัดผัก เป็นต้น อาหารเหล่านี้มีสารอาหารต่ำ นอกจากนั้นยังมีกากใยอาหารที่เรียกว่า ไฟเบอร์ ซึ่งทำให้การดูดซึมน้ำตาลช้าลง
ประเภทที่ 3 อาหารที่รับประทานได้แต่ต้องเลือกชนิด หรือจำกัดจำนวน
ได้แก่ อาหารพวกแป้ง (คาร์โบไฮเดรต) ปัจจุบันอาหารพวกแป้งนั้นไม่จำกัดจำนวน ถ้าผู้ป่วยไม่อ้วนมาก เนื่องจากลดอาหารจำพวกแป้ง ทำให้ต้องเพิ่มอาหารจำพวกไขมัน ซึ่งอาจเป็นผลทำให้ระดับไขมันสูง และเพิ่มเนื้อสัตว์ทำให้หน้าที่ของไตเสียเร็วขึ้นในผู้ป่วยที่มีโรคไตร่วมด้วย ผลไม้นั้นต้องจำกัดจำนวน ควรรับประทานพร้อมกับอาหารครั้งละ 1 ส่วน
เนื่องจากอาหารกลุ่มพวกแป้งหลีกเลี่ยงได้ยาก โดยเฉพาะอาหารไทย ดังนั้น จึงควรเลือกรับประทานอาหารคาร์โบไฮเดรตที่มีคุณภาพ โดยคำนึงถึงปัจจัย 2 อย่าง คือปริมาณไฟเบอร์ (เส้นใยอาหาร) และไกลซีมิค อินเด็กซ์ (glycemic index)"
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
โรคเบาหวานต้องควบคุมอาหารอย่างไร
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)