April 19, 2019 12:00
ตอบโดย
สุพิชชา แสงทองพราว (พญ.)
สวัสดีค่ะ การถ่ายเป็นเลือดสีแดงสดๆ เกิดได้จากสาเหตุต่างๆ เช่น
- แผลที่ขอบทวาร พบว่าทำให้เกิดเลือดออกเป็นสีแดงสดหลังจากถ่ายได้ เกิดจากการปริแยกของขอบรูทวารจากสาเหตุเช่น ถ่ายแข็ง ท้องผูก แต่โรคนี้ มักจะทำให้มีอาการเจ็บร่วมด้วย
- ริดสีดวงทวารภายนอก จะทำให้มีอาการเจ็บและมีเลือดออกได้ แต่จะคลำพบว่ามีก้อนอยู่ที่รูทวารเลย
- ส่วนโรคริดสีดวงทวารภายใน ระยะที่ 1 เกิดจากการที่เส้นเลือดดำที่ทวารหนักมีการโป่งพองขึ้นจากแรงดันที่สูงขึ้น เช่นมีการเบ่งถ่ายประจำ ท้องผูก อุจจาระแข็ง หรือมีท้องเสียรุนแรงนำมาก่อน การนั่งส้วมนาน ก็ทำให้เกิดริดสีดวงได้ ซึ่งในระยะที่ 1 จะไม่มีติ่งยื่นออกมาจากรูทวาร และไม่มีอาการปวดใดๆ แต่จะพบได้ที่มีถ่ายเป็นเลือดสดๆสีแดง หลังจากถ่ายอุจจาระค่ะ การวินิจฉัย ทำได้จากการตรวจทวารหนักค่ะ สามารถรักษาได้โดยการใช้ยารับประทาน และการเหน็บทวาร เพื่อให้ริดสีดวงยุบ
แนะนำว่าให้ไปพบแพทย์ เพื่อตรวจหาสาเหตุนะคะ
นอกจากนี้ การป้องกันไม่ให้ถ่ายเป็นเลือด ทำได้ดังนี้
- รับประทานผักผลไม้ที่มีกากใยสูง เพื่อช่วยเพิ่มกากใยให้กับอุจจาระ ป้องกันอุจจาระแข็ง
- ดื่มน้ำให้เพียงพอ อย่างน้อยวันละ 10 แก้ว หรือ 1.5 ลิตร
- ออกกำลังกายสม่ำเสมอ จะช่วยเรื่องการไหลเวียนเลือด และการทำงานของระบบย่อยอาหาร
- หลีกเลี่ยงการนั่งแช่ในส้วมเป็นเวลานานๆ
- หลีกเลี่ยงอาหารหมักดอง เครื่องดื่มแอลกอฮอล์
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
วันแรกพอขับถ่ายเสร็จผมจึงเอานิ้วไปเกาหรือถูตรงปากทวารหนักก็ไม่มีอะไร พอวันต่อมาก็มีอาการคันมากแล้วเวลาขับถ่ายจะมีอาการเจ็บที่บริเวณปากทวารหนักเหมือนมีอะไรบาด เป็นแบบนี้มา 2-3วัน อาการคันก็ลดลงไปแต่ขับถ่ายยังเจ็บเหมือนเดิม พอมาวันนี้ก็ยังขับถ่ายเจ็บเหมือนเดิมแต่ครั้งนี้มีเลือดออกมาด้วย ผมเลยสงสัยว่าจะเป็นโรคริสีดวงหรือเปล่าครับ เพราะเท่าที่อ่านมาอาการคล้ายแบบนั้นเลยอะครับ รบกวนด้วยนะครับ ขอบคุณครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)