February 09, 2017 17:29
ตอบโดย
รัตน์พล อ่ำอำไพ (แพทย์เฉพาะทางสูตินรีเวช)
การที่จะบอกว่าเป็นคู่ที่มีบุตรยากนั้น คือ การที่คู่สมรสไม่สามารถมีการตั้งครรภ์ได้ โดยที่มีความสัมพันธ์ทางเพศกันอย่างสม่ำเสมอและไม่ได้คุมกำเนิดมาเป็นระยะเวลา 1 ปีแล้ว หรือระยะเวลา 6 เดือนในกรณีที่คู่สมรสฝ่ายหญิงที่มีอายุเกิน 35 ปีขึ้นไปครับ โดยสาเหตุของภาวะมีบุตรยากนี้พบได้แตกต่างกันไปในแต่ละคู่สมรสครับ ซึ่งสาเหตุอาจเกิดจากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือทั้งสองฝ่ายได้เช่นกันครับ โดยแบ่งเป็นปัจจัยทางฝ่ายหญิงและฝ่ายชายครับ ซึ่งปัจจัยของการมีบุตรยากในคู่สมรสฝ่ายหญิง ได้แก่ สุขภาพกาย - ผู้ที่มีโรคประจำตัวเรื้อรังอยู่ มีผลทำให้ความถี่ของการมีเพศสัมพันธ์น้อยลง ทำให้โอกาสของการตั้งครรภ์น้อยลงด้วย, สุขภาพจิต - ความเครียด ความวิตกกังวล โรคจิต โรคประสาท มีผลทำให้การทำงานของรังไข่ผิดปกติ มีการตกไข่นานๆครั้ง หรือไม่มีการตกไข่เลย, ความผิดปกติของอวัยวะสืบพันธุ์ ซึ่งจะมีผลต่อการมีเพศสัมพันธ์และการตั้งครรภ์โดยตรง, ความผิดปกติในช่องเชิงกราน เช่น มีเยื่อพังผืด เนื้องอก ซึ่งยึดเบียดทำให้ท่อนำไข่ทำงานได้ไม่ปกติ และความผิดปกติของการทำงานของต่อมไร้ท่ออื่นๆ เช่น ไฮโปธาลามัส ต่อมใต้สมอง ต่อมธัยรอยด์ ต่อมหมวกไตครับ ส่วนปัจจัยของการมีบุตรยากในคู่สมรสฝ่ายชาย ได้แก่ ปัญหาทั่วๆไป เช่น มีโรคประจำตัว ทำงานหนัก มีคู่เพศสัมพันธ์หลายคน ติดสุรา บุหรี่ ยาเสพติด ทำให้การมีเพศสัมพันธ์ห่างและการสร้างตัวอสุจิน้อยลง, ภาวะจิตใจ ความเครียด กังวล ตื่นเต้น มีผลทำให้อวัยวะไม่แข็งตัว หรือภาวะมีการหลั่งอสุจิเร็วเกินไป, ความผิดปกติแต่กำเนิดของอวัยวะสืบพันธุ์ เช่น ลูกอัณฑะไม่ลงในถุง หรือเซลสร้างตัวอสุจิไม่เจริญ, การสร้างอสุจิ หรือการผ่านออกของน้ำอสุจิผิดปกติ ซึ่งอาจเป็นมาแต่กำเนิดหรือจากการอักเสบของอัณฑะ เช่น คางทูม กามโรค, ความผิดปกติของการทำงานของต่อมไร้ท่ออื่นๆ เช่น ไฮโปธาลามัส ต่อมใต้สมอง ต่อมธัยรอยด์ และต่อมหมวกไต เป็นต้น
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
อยากมีลูกควรทำอย่างไร ปล่อยมาหลายปีแล้ว
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)